ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมยักษ์วัดพระแก้ว
ประติมากรรมรูปยักษ์ทั้ง 12 ตน ทำด้วยปูนปั้น เครื่องแต่งกายประกอบขึ้นจากกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ ทำเป็นมงกุฎที่มียอดแตกต่างกันเช่นเดียวกับหัวโขน สวมเสื้อแขนยาว สนับเพลา ชายไหว รองเท้าปลายแหลม ลักษณะเดียวกับเครื่องแต่งกายโขน ระบายสีผิวพรรณแตกต่างกันโดยใช้สีเช่นเดียวกับหัวโขนของยักษ์แต่ละตน ยักษ์ทั้ง 6 คู่ ประกอบด้วยคู่ที่ 1. สุริยาภพ และอินทรชิต คู่ที่ 2. มังกรกัณฐ์ และวิรุฬหก คู่ที่ 3. ทศคีจันธร และทศคีรีวัน คู่ที่ 4. จักรวรรดิ์ และอัศกรรณมาราสูร คู่ที่ 5. ทศกัณฐ์ และสหัสสเดชะ คู่ที่ 6. ไมยราพ และวิรุฬจำบัง
ประติมากรรมรายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
บันไดทางขึ้นได้รับอิทธิพลอินเดียอย่างมาก เช่น ภาพของยักษะหรือเทพเจ้าแห่งพื้นดินกำลังแบกฐาน ราวบันไดที่มีสิงห์คายและตกแต่งไปด้วยลายประจำยามก้ามปู อัฒจันทร์ที่เป็นรูปปีกกา เป็นต้น การประดับสิงห์คายราวบันไดและลวดลายประจำยามก้ามปูนั้น ทำให้นึกไปถึงลวดลายเดียวกันที่ถ้ำอชันตาและในศิลปะลังกาสมัยอนุราธปุระ ซึ่งมีอายุอยู่ในระยะร่วมสมัยกันหรือก่อนหน้าเล็กน้อย แสดงความเกี่ยวข้องกันระหว่างอาณาจักรจามปากับอินเดียและลังกา
จิตรกรรมหน้ายักษ์ด้านบนเพดาน
จิตรกรรมของจอกตอจีมีประเด็นอิทธิพลไทยอย่างชัดเจนในหลายเครื่อง โดยเฉพาะการเขียนภาพเทวดาแบบไทยและหน้ายักษ์ตามแบบไทยซึ่งแสดงการเขียนพรายโอษฐ์ตามแบบหัวโขนไทยอย่างชัดเจน ทั้งนี้ เป็นไปได้ที่จิตรกรรมดังกล่าวอาจวาดขึ้นโดยช่างผู้เป็นลูกหลานของชาวสยามที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
ประติมากรรมทวารบาลหน้าตาดุร้าย
ทวารบาลองค์นี้เป็นประติมากรรมที่แสดงความเป็นพื้นเมืองดงเดืองอย่างมาก กล่าวคือ มีพระขนงตอเป็นปีกกา พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนา พระนาสิกใหญ่ มีพระมัสสุ หน้าตาที่ดุร้ายของประติมากรมเชนนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าคงเคยเป็นทวารบาลมาก่อน มงกุฎซึ่งประดับด้วยตาบรูปพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดใหญ่จำนวนสามตาบนี้ถือเป็นลักษณะที่นิยมอย่างมากในศิลปะดงเดือง