ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 3 จาก 3 รายการ, 1 หน้า
พระมหามัยมุนี
มัณฑเลย์
ประติมากรรมพระมหามัยมุนี

พระพุทธรูปประทับนั่งในศิลปะยะไข่ มักเปลือยพระวรกายท่อนบน นั่งขัดสมาธิราบตามแบบอินเดียใต้แต่แสดงปางมารวิชัยตามแบบอินเดียเหนือ ต่อมาพระเจ้าปดุงและกษัตริย์รุ่นหลังได้ถวายเครื่องทรงแก่พระพุทธรูปองค์นี้ โดยถวายมงกุฎแหลมสูงและสังวาลตัดเป็นกากบาท มีตาบอก อันเป็นเครื่องทรงที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอยุธยา ต้องไม่ลืมว่าช่างชาวอยุธยาได้เข้าไปตั้งรกรากอยู่ที่เมือง

ช้างเอราวัณที่วัดพระมหามัยมุนี
มัณฑเลย์
ประติมากรรมช้างเอราวัณที่วัดพระมหามัยมุนี

ประติมากรรมกลุ่มนี้เป็นศิลปะบายนอย่างชัดเจน สามารถกำหนดอายุอยู่ได้ว่าน่าจะหล่อขึ้นในราวรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เครื่องแต่งกายของประติมากรรม เช่น มงกุฎที่ประกอบด้วยรัดเกล้ารูปสามเหลี่ยม และผ้านุ่งของประติมากรรมบุคคล รวมถึงขนคอแผงรูปสามเหลี่ยมของสิงห์และสร้อยคอที่ประดับด้วยแผงอุบะของประติมากรรมหลายตัวก็ล้วนแต่แสดงลักษณะประจำของศิลปะขอมทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยการเคลื่อนย้ายประติมากรรมชุดนี้หลายครั้ง จึงอาจทำให้ประติมากรรมชำรุดเสียหาย และเกิดการซ้อมโดยชาวพม่าขึ้น ประติมากรรมบางชิ้น เช่น ประติมากรรมรูปสิงห์จึงมีหัวเป็นศิลปะพม่าแต่ตัวเป็นศิลปะขอม เป็นต้น

สิงห์ที่วัดพระมหามัยมุนี
มัณฑเลย์
ประติมากรรมสิงห์ที่วัดพระมหามัยมุนี

ประติมากรรมกลุ่มนี้เป็นศิลปะบายนอย่างชัดเจน สามารถกำหนดอายุอยู่ได้ว่าน่าจะหล่อขึ้นในราวรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เครื่องแต่งกายของประติมากรรม เช่น มงกุฎที่ประกอบด้วยรัดเกล้ารูปสามเหลี่ยม และผ้านุ่งของประติมากรรมบุคคล รวมถึงขนคอแผงรูปสามเหลี่ยมของสิงห์และสร้อยคอที่ประดับด้วยแผงอุบะของประติมากรรมหลายตัวก็ล้วนแต่แสดงลักษณะประจำของศิลปะขอมทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยการเคลื่อนย้ายประติมากรรมชุดนี้หลายครั้ง จึงอาจทำให้ประติมากรรมชำรุดเสียหาย และเกิดการซ้อมโดยชาวพม่าขึ้น ประติมากรรมบางชิ้น เช่น ประติมากรรมรูปสิงห์จึงมีหัวเป็นศิลปะพม่าแต่ตัวเป็นศิลปะขอม เป็นต้น