ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่วัดแสน
พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างระยะหลัง อิทธิพลของศิลปะสุโขทัย ล้านนาได้คลี่คลายเป็นพื้นเมืองล้านช้างมากขึ้น
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่วัดศรีบุญเรือง
พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างระยะหลัง อิทธิพลของศิลปะสุโขทัย ล้านนาได้คลี่คลายเป็นพื้นเมืองล้านช้างมากขึ้น รัศมีเป็นเปลวไฟตามแบบสุโขทัยยังคงปรากฏอยู่ แต่เม็ดพระศกกลับเล็กลงและแหลมคม มีไรพระศก เครื่องประกอบพระพักตร์ เช่น พระเนตร มีความเป็นพื้นเมืองมากขึ้น เช่น ดูชี้ขึ้น พระนาสิกใหญ่ ไม่ได้อ่อนหวานเท่าพระพักตร์แบบสุโขทัย
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องตอนปรินิพพานที่อานันทเจดีย์
พระพุทธรูปองค์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ “ประติมากรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ” ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ทางประทักษิณภายในและมณฑปทั้งสี่ทิศ พระพุทธรูปเล่าเรื่องพุทธประวัติที่อานันทเจดีย์ ถือเป็นประติมากรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติที่สมบูรณ์ที่สุดในศิลปะพุกาม
ประติมากรรมพระพุทธรูปสมัยมัณฑเลที่อานันทเจดีย์
พระพุทธรูปประทับยืนสมัยมัณฑเล มีลักษณะสำคัญคือพระพักตร์มีกระบังหน้า ห่มคลุมเสมอตามแบบพุกาม แต่จีวรเป็นริ้วธรรมชาติทั้งหมดตามอิทธิพลจีน บางครั้งการประดับลวดลายและกระจกลงไปบนจีวรด้วย พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางประทานพรและจับชายจีวรลง และบางครั้งมีการถือผลสมอในพระหัตถ์ขวาด้วยซึ่งไม่ปรากฏมาก่อนในศิลปะพุกาม
ประติมากรรมพระมหามัยมุนี
พระพุทธรูปประทับนั่งในศิลปะยะไข่ มักเปลือยพระวรกายท่อนบน นั่งขัดสมาธิราบตามแบบอินเดียใต้แต่แสดงปางมารวิชัยตามแบบอินเดียเหนือ ต่อมาพระเจ้าปดุงและกษัตริย์รุ่นหลังได้ถวายเครื่องทรงแก่พระพุทธรูปองค์นี้ โดยถวายมงกุฎแหลมสูงและสังวาลตัดเป็นกากบาท มีตาบอก อันเป็นเครื่องทรงที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอยุธยา ต้องไม่ลืมว่าช่างชาวอยุธยาได้เข้าไปตั้งรกรากอยู่ที่เมือง
จิตรกรรมพระโพธิสัตว์ จิตรกรรมในเจดีย์อโลปเย
พระโพธิสัตว์เหล่านี้แต่งตัวคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น การทรงมงกุฎที่มีกระบังหน้าสามตาบ การทรงยัชโญปวีตตวัดเป็นรูปตัว S และการนุ่งผ้านุ่งเป็นริ้ว รวมถึงการปรากฏดอกไม้สองดอกขนาบทั้งสองข้างอย่างสมมาตรย่อมแสดงให้เห็นอิทธิพลปาละตอนปลายอย่างมาก จิตรกรรมเองก็ใช้สีโทนร้อนตามอย่างปาละ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าจิตรกรรมดังกล่าวคงมีอายุอยู่ในสมัยพุกามตอนต้น