ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 97 ถึง 104 จาก 120 รายการ, 15 หน้า
พระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมพระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง

พระพุทธรูปองค์นี้แสดงให้เห็นศิลปะพื้นเมืองดงเดืองปะปนกับอิทธิพลจากศิลปะจีนและอินเดีย ประการแรกคือท่านั่งห้อยพระบาทที่ใช้พระหัตถ์ทั้งสองวางอู่บนพระชานุนั้นแสดงถึงอิทธิพลจีน แต่จีวรที่ห่มเฉียงและมีชายจีวรสั้นๆอยู่ที่พระอังสาซ้ายนั้นกลับเป็นลักษณะประจำในศิลปะปาละของอินเดีย อย่างไรก็ตาม พระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นี้กลับแสดงความเป็นพื้นเมืองอย่างมากมาย เช่น พระโอษฐ์ที่หนา พระขนงต่อเป็นปีกกาและพระเนตรโปน เป็นต้น

พระเศียรของพระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมพระเศียรของพระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง

พระเศียรของพระพุทธรูปองค์นี้แสดงให้เห็นศิลปะพื้นเมืองดงเดืองอย่างชัดเจน โดยเฉพาะพระพักตร์ของประติมากรรมองค์นี้ที่มีพระโอษฐ์หนา พระนาสิกใหญ่พระเนตรโปน พระขนงต่อกันเป็นปีกกาและพระเกศาขมวดเป็นปอยตามแบบพื้นเมือง น่าสังเกตว่าด้านบนสุดปรากฏอุษณีษะซึ่งได้กลายเป็นรูปดอกบัวอันแสดงให้เห็นความเป็นพื้นเมืองอย่างมาก

พระพุทธรูปประธานของจันทิเมนดุต
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมพระพุทธรูปประธานของจันทิเมนดุต

พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท มีรูปแบบที่แสดงอิทธิพลจากศิลปะจาลุกยะที่ถ้ำเอลโลร่ากับศิลปะปาละจากอินเดียภาคตะวันออก พระพุทธรูปมีอุณาโลมตามแบบศิลปะปาละแต่กลับห่มเฉียงดังที่ปรากฏกับพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทที่ถ้ำอชันตาและเอลโลร่า พระพุทธองค์แสดงการจับชายจีวรขณะนั่งห้อยพระบาทรวมถึงปรากฏชายจีวรที่ตกลงมาระหว่างพระเพลาทั้งสองข้างซึ่งคล้ายคลึงกับศิลปะที่ถ้ำเอลโลร่า ส่วนบัลลังก์ที่ประดับด้วยมกร วยาลและช้างก็ปรากฏมาก่อนแล้วทั้งที่ถ้ำเอลโลร่าและในศิลปะปาละ

พระพุทธรูป
จาการ์ตา
พระพุทธรูป

ในศิลปะชวาภาคกลางพระพุทธรูปมีรูปแบบที่ค่อนข้างหลากหลาย โยพระพุทธรูปองค์นี้แสดงให้เห็นการครองจีวรห่มคลุมและจีวรเรียบไม่มีริ้วตามแบบศิลปะคุปตะสกุลช่างสารนาถ อย่างไรก็ตาม พระพุทธรูปกลับยกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นขนานกัน แม้ว่าพระหัตถ์ทั้งสองจะหักไปหมดแล้วแต่กลับทำให้นึกถึงการแสดงวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์ซึ่งปรากฏเช่นกันในศิลปะทวารวดีและศิลปะขอมก่อนเมืองพระนคร

พระพุทธรูปนั่่งห้อยพระบาทสำริด
ประติมากรรมพระพุทธรูปนั่่งห้อยพระบาทสำริด

ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลัง ประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะการมีแผ่นหลังกลมและประดับไปด้วยเปลวไฟเป็นระยะๆส่วนรูปแบบจีวรของพระพุทธรูปกลับมีการปะปนกันระหว่างศิลปะหลังคุปตะที่ถ้ำอชันตาและศิลปะปาละ เช่นการห่มเฉียงและมีชายจีวรสั้นเหนือพระถันตามแบบปาละ แต่มีจีวรแหวกระหว่างพระเพลาซึ่งทำให้นึกถึงที่ถ้ำอชันตา

พระพุทธรูปประทับยืนสำริด
จาการ์ตา
ประติมากรรมพระพุทธรูปประทับยืนสำริด

พระพุทธรูปองค์นี้มีความคล้ายคลึงกับศิลปะอมราวดี-ลังกาอย่างมาก ด้วยเหตุทีมีอุษณีษะต่ำ ประทับยืนแต่ห่มจีวรเฉียงมีขอบจีวรขึ้นมาพาดพระกรซ้าย พระหัตถ์ทั้งสองข้างยกข้นขนานกันในปางวิตรรกะ-กฎกมุทรา อันเป็นปางที่ได้รับความนิยมมากกับพระพุทธรูปลังกา พระพุทธรูปองค์นี้จึงสรุปได้ว่าได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียใต้-ลังกาอย่างมาก อย่างไรก็ดี จีวรของพระพุทธรูปองค์นี้กลายเป็นจีวรเรียบไม่มีริ้วแบบคุปตะและวกาฏกะแล้ว

พระพุทธรูปที่ถ้ำช้าง
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมพระพุทธรูปที่ถ้ำช้าง

พระพุทธรูปในศิลปะทวารวดีภาคอีสาน มีลักษณะเด่นหลายประการ เช่น การที่พระพักตร์มีลักษณะแบบพื้นบ้าน เม็ดพระศกเล็กและวมขึ้นอันแสดงอิทธิพลขอมที่เข้ามาปะปน พระหัตถ์แสดงปางวิตรรกมุทราซึ่งเป็นมุทราที่โดดเด่นในศิลปะทวารวดี พระเพลาขัดสมาธิราบแบบหลวมๆและเห็นฝ่าพระบาทจากด้านบนซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะในสมัยนี้เช่นกัน

ฐานของพระพุทธรูปสำริด
เวียงจันทน์
ประติมากรรมฐานของพระพุทธรูปสำริด

ในพุทธศตวรรษที่ 22-24 พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างมักมีฐานที่สูงและมีลวดบัวที่ซับซ้อน โดยฐานมักหล่อเป็นสำริดเช่นเดียวกับ ฐานมักประกอบด้วยฐานสิงห์ซึ่งมีกาบเท้าสิงห์ประกอบไปด้วยวงโค้งต่อเนื่องกันคล้ายศิลปะอยุธยาตอนกลาง ถัดขึ้นมาได้แก่บังคว่ำและท้องไม้ซึ่งคาดลูกแก้วอกไก่ ถัดขึ้นไปคือบัวหงายประกบบัวคว่ำอันเป็นการลดความแข้งกระด้างของหน้ากระดานบนและทำให้ฐานสามารถแสดงการ “งอน” ได้ตามต้องการ การงอนนี้ถือเป็นสุนทรียภาพสำคัญของลวดบัวในศิลปะล้านช้าง