ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 8 รายการ, 1 หน้า
พระพิมพ์ดินเผา
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระพิมพ์ดินเผา

พระพิมพ์ทรงคล้ายสามเหลี่ยม ตรงกลางเป็นพระพุทธรูปนาคปรก เบื้องขวาของพระองค์เป็นบุรุษเชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เบื้องขวาของพระองค์เป็นสตรีเชื่อว่าเป็นพระนางปรัชญาปารมิตา มีกรอบคดโค้งทำนองเรือนแก้วล้อมรอบประติมากรรมทั้งสาม เบื้องล่างรองรับด้วยเป็นฐานบัว

ภาชนะดินเผาบ้านเชียง
อุดรธานี
ประติมากรรมภาชนะดินเผาบ้านเชียง

เป็นภาชนะดินเผาในหลุมฝังศพที่พบได้จากการขุดค้นในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง สามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้1.สมัยต้น มีอายุระหว่าง 4,300-3,000 ปีมาแล้วเป็นอย่างน้อยระยะที่ 1 มีภาชนะดินเผาประเภทเด่นคือ ภาขนะดินเผาสีดำ-เทาเข้ม มีเชิงหรือฐานเตี้ยๆ ลำตัวภาชนะครึ่งบนมักตกแต่งด้วยลายขีดเป็นเส้นคดโค้ง แล้วตกแต่งเพิ่มเติมด้วยการกดจุดหรือเป็นเส้นสั้นๆ เติมในพื้นที่ระหว่างลายเส้นคดโค้ง ส่วนครึ่งล่างของตัวภาชนะมักตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ ซึ่งหมายถึงลวดลายที่เกิดจากการกดประทับผิวภาชนะดินเผาด้วยเชือกนั่นเองระยะที่ 2 เริ่มปรากฏภาชนะดินเผาแบบใหม่เพิ่มขึ้นมา คือ ภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ที่ใช้บรรจุศพเด็กก่อนที่จะนำไปฝัง นอกจากนี้ยังมีภาชนะดินเผาขนาดสามัญซึ่งมีการตกแต่งพื้นที่ส่วนใหญ่บนผิวภาชนะด้านนอกด้วยเส้นขีดเป็นลายคดโค้ง จึงดูเสมือนเป็นภาชนะที่มีปริมาณลวดลายขีดตกแต่งหนาแน่นกว่าบนภาชนะของสมัยต้นช่วงแรกระยะที่ 3 เริ่มปรากฏภาชนะแบบที่มีผนังด้านข้างตรงถึงเกือบตรง ทำให้มีรูปร่างภาชนะเป็นทรงกระบอก (beaker) และยังมีภาชนะประเภอหม้อก้นกลม คอภาชนะสั้นๆ ปากตั้งตรง ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบตลอดทั้งใบระยะที่ 4 ปรากฏภาชนะดินเผาประเภทหม้อก้นกลม มีกลุ่มหนึ่งตกแต่งบริเวณไหล่ภาชนะด้วยลายขีดเป็นเส้นคดโค้งผสมกับการระบายด้วยสีแดง ในขณะที่ส่วนบริเวณลำตัวภาชนะช่วงใต้ไหล่ลงมาตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ ภาชนะดินเผาแบบนี้มีการตั้งชื่อว่า “ภาชนะแบบบ้านอ้อมแก้ว” เพราะพบว่าเป็นภาชนะดินเผาประเภทหลักที่พบในชั้นอยู่อาศัยของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ช่วงแรกที่บ้านอ้อมแก้ว ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านเชียง2.สมัยกลาง อายุระหว่าง 3,000-2,000 ปีมาแล้วเป็นอย่างน้อยภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ ผิวนอกสีขาว ทำส่วนไหล่ภาชนะหักมุมหรือโค้งมากจนเกือบเป็นมุมค่อนข้างชัด มีทั้งแบบก้นกลมและก้นแหลม บางใบมีการตกแต่งด้วยลายขีดผสมกับลายเขียนสีที่บริเวณใกล้ปากภาชนะ ในช่วงปลายสุดของสมัยกลาง เริ่มมีการตกแต่งปากภาชนะดินเผารูปแบบเช่นนี้ด้วยการทาสีแดง3.สมัยปลาย อายุระหว่าง 2,300-1,800 ปีมาแล้ว ช่วงต้นของสมัยปลาย พบภาชนะดินเผาเขียนสีแดงบนพื้นสีนวลช่วงกลางของสมัยปลาย เริ่มมีการใช้ภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นสีแดงช่วงท้ายของสมัยปลาย เริ่มมีการใช้ภาชนะดินเผาทาด้วยน้ำดินสีแดงแล้วขัดมันลวดลายที่ปรากฏบนภาชนะดินเผา สามารถจำแนกได้ดังนี้1.กลุ่มลวดลายรูปร่างเรขาคณิต 2.กลุ่มลวดลายอิสระแบบดุลยภาพสมมาตร 3.กลุ่มลวดลายอิสระแบบดุลยภาพอสมมาตร ส่วนรูปแบบลวดลายที่นิยมในสมัยปลาย คือ การเขียนสีบนเคลือบน้ำดินสีนวล ลวดลายวงกลมหรือวงรี ลวดลายเส้นโค้งแบบก้นหอยวนเข้าหาจุดศูนย์กลาง ลายเส้นโค้งแบบก้นหอยวนเข้าหาจุดศูนย์กลางแล้ววนออกและลวดลายตัว S และ Z ลวดลายภาชนะแสดงถึงความพิถีพิถัน ผู้ผลิตสร้างขึ้นให้กับผู้ตายตามประเพณีความเชื่อเกี่ยวกับความตาย พื้นฐานทางความคิดของผู้สร้างสรรค์ลวดลายของชุมชนมีความร่วมกันทางวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็ปรากฏถึงความหลากหลายในการออกแบบ ซึ่งมีพัฒนาการในระยะแรกเริ่มจากรูปแบบเรียบง่าย ต่อมาในระยะหลังเมื่อผลิตจำนวนมากขึ้น มีความรู้ความชำนาญมากขึ้นก็พัฒนาไปสู่การสร้างลวดลายที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ตุ๊กตารูปคนจูงลิง
สุพรรณบุรี
ประติมากรรมตุ๊กตารูปคนจูงลิง

ตุ๊กตาดินเผาขนาดเล็ก ศีรษะและเท้าชำรุดหักหาย ลักษณะเป็นประติมากรรมเพศชาย เปลือยเปล่า ประดับสร้อยคอ สายคาดเอว และกำไลข้อมือ มือขวาถือโซ่ล่างลิงซึ่งนั่งอยู่ระหว่างขาสองข้าง มือซ้ายถือพวงผลไม้

พระสงฆ์อุ้มบาตร
สุพรรณบุรี
ประติมากรรมพระสงฆ์อุ้มบาตร

ประติมากรรมนูนต่ำนี้เป็นดินเผา เดิมทีใช้สำหรับประดับเจดีย์ชำรุดเสียหายมาก สังเกตเห็นได้ว่าทำเป็นรูปพระสงฆ์ 3 รูป ยืนเรียงกัน แต่ละรูปครองจีวรห่มคลุม ถือบาตรไว้ในระดับหน้าท้อง

ภาพชาดกดินเผา เรื่องพระมหาชนก
พุกาม
ประติมากรรมภาพชาดกดินเผา เรื่องพระมหาชนก

เจดีย์เป็นเล็กเป็นเจดีย์ทรงระฆังสมัยพุกามตอนต้น ได้รับอิทธิพลปาละ ที่ส่วนฐานปรากฏระเบียงซึ่งบรรจุภาพดินเผาเล่าเรื่องชาดกจำนวน 550 พระชาติ ภาพชาดกดังกล่าวทำจากดินเผาที่ยังไม่ได้เคลือบเขียวซึ่งแตกต่างไปจากเจดีย์ชเวซิกอง แสดงให้เห็นวาภาพชาดกนี้อาจอยู่ในสมัยก่อนพุกามหรือพุกามตอนต้นระยะแรก

ภาพชาดกดินเผา เรื่องสุวรรณสาม
พุกาม
ประติมากรรมภาพชาดกดินเผา เรื่องสุวรรณสาม

เจดีย์เป็นเล็กเป็นเจดีย์ทรงระฆังสมัยพุกามตอนต้น ได้รับอิทธิพลปาละ ที่ส่วนฐานปรากฏระเบียงซึ่งบรรจุภาพดินเผาเล่าเรื่องชาดกจำนวน 550 พระชาติ ภาพชาดกดังกล่าวทำจากดินเผาที่ยังไม่ได้เคลือบเขียวซึ่งแตกต่างไปจากเจดีย์ชเวซิกอง แสดงให้เห็นวาภาพชาดกนี้อาจอยู่ในสมัยก่อนพุกามหรือพุกามตอนต้นระยะแรก

ภาพดินเผาเคลือบรอบอานันทเจดีย์
พุกาม
ประติมากรรมภาพดินเผาเคลือบรอบอานันทเจดีย์

ที่ฐานภายนอกอานันทเจดีย์ปรากฏแผ่นดินเผาเคลือบสีเขียวซึ่งเป็นลักษณะที่นิยมในศิลปะพม่า ปรากฏตั้งแต่ศิลปะพุกามลงมา ภาพเล่าเรื่องเหล่านี้ประดับกลางท้องไม้ซองฐานบัวซึ่งเป้นระเบียบที่นิยมในศิลปะพุกามเช่นกัน

ภาพดินเผาเคลือบรอบอานันทเจดีย์
พุกาม
ประติมากรรมภาพดินเผาเคลือบรอบอานันทเจดีย์

ที่ฐานภายนอกอานันทเจดีย์ปรากฏแผ่นดินเผาเคลือบสีเขียวซึ่งเป็นลักษณะที่นิยมในศิลปะพม่า ปรากฏตั้งแต่ศิลปะพุกามลงมา ภาพเล่าเรื่องเหล่านี้ประดับกลางท้องไม้ซองฐานบัวซึ่งเป้นระเบียบที่นิยมในศิลปะพุกามเช่นกัน