ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 9 ถึง 16 จาก 17 รายการ, 3 หน้า
ธรรมจักร
สุพรรณบุรี
ประติมากรรมธรรมจักร

ธรรมจักรชุดนี้พบว่ามีส่วนประกอบครบทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ เสาแปดเหลี่ยม ฐานสี่เหลี่ยม และธรรมจักร โดยฐานสี่เหลี่ยมทำหน้าที่ยึดตรึงให้ธรรมจักรวางอยู่บนยอดเสาได้โดยไม่ร่วงหล่นธรรมจักรวงกลมประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ดุมอยู่ตรงกลาง ซี่หรือกำ ระหว่างซี่แต่ละซี่เจาะทะลุทำให้ธรรมจักรแลดูโปร่ง นอกสุดเป็นกงซึ่งตกแต่งด้วยลายดอกไม้กลมสลับกับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขอบกงมีลวดลายกนกคล้ายเปลวไฟ เบื้องล่างมีแผงสามเหลี่ยมรับน้ำหนัก ทั้งยังมีกลีบบัวรองรับ และมีเดือยยาวเสียบลงไปในแท่นสี่เหลี่ยมฐานสี่เหลี่ยมประดับตกแต่งด้วยลายดอกไม้กลมสลับกับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มุมทั้งสี่ออกแบบลวดลายเลียนแบบมกร มีช่องเจาะทะลุตรงกลางเพื่อรับเดือยของธรรมจักรและของเสา ทำหน้าที่ยึดตรึงเสากับธรรมจักรให้ติดกัน เสาธรรมจักรมีลำตัวอยู่ในผังแปดเหลี่ยม ด้านล่างสุดสลักรูปหงส์และดอกบัวรองรับลำตัวเสา ยอดสาสลักลายพวงมาลัยและอุบะดอกไม้ ถัดขึ้นไปเป็นเดือยที่สอดเข้าไปในฐานสี่เหลี่ยม

พระพุทธมหาจักรพรรดิ
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระพุทธมหาจักรพรรดิ

พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบ แสดงปางมารวิชัย พระวรกายเพรียว พระพักตร์ค่อนข้างกลมกึ่งรูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเรียวเล็ก พระโอษฐ์อ่อนโค้งเล็กน้อยจนเกือบเป็นเส้นตรง พระพักตร์คล้ายหุ่น อันเป็นรูปแบบเฉพาะของพระพุทธรูปในรัชกาลที่ 3 ทรงเครื่องประดับต่างๆ ได้แก่ พระมหามงกุฎ กรองศอ สังวาล พาหุรัด ทองพระกร ทองพระบาท

ธรรมจักร
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมธรรมจักร

ธรรมจักรวงกลมประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ดุมอยู่ตรงกลาง มีรูเจาะทะลุที่เหนือดุม ซี่หรือกำ ระหว่างซี่แต่ละซี่ไม่เจาะทะลุทำให้ธรรมจักรองค์นี้แลดูทึบ นอกสุดเป็นกงตกแต่งด้วยลายก้านขด ขอบกงเป็นลายเปลวเพลิง เบื้องล่างสลักรูปบุคคลนั่งขัดสมาธิและถือดอกบัว สันนิษฐานว่าเป็นรูปพระสุริยเทพ ด้านข้างมีรูปคนแคระแบกธรรมจักร ถัดลงไปเบื้องล่างเป็นฐานหน้ากระดานประดับลายกนก

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
กรุงเทพมหานคร
สถาปัตยกรรมพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรป สูง 3 ชั้น แบ่งเป็น 3 มุข โดยมีบริเวณที่เรียกว่า มุขกระสันเชื่อมต่อถึงกันจากด้านตะวันออกถึงตะวันตก มุขทั้ง 3 รองรับเครื่องหลังคาทรงปราสาทยอดส่วนหลังคาและยอดพระที่นั่งเป็นทรงปราสาทยอดแบบไทยประเพณี แต่ด้วยการประกอบเข้ากับสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก จึงทำให้มีสัดส่วนที่ต่างไปจากพระมหาปราสาทองค์อื่น เช่น ความเอียงลาดของหลังคาที่น้อยลง เครื่องลำยองที่มีขนาดอ้วนและสั้นกว่าปกติ เป็นต้นมุขกลางมีมุขเด็จสำหรับเสด็จออก ที่พระเฉลียงของมุขเด็จประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแบบเหมือนจริงทำด้วยโมเสกตัวอาคารตกแต่งด้วยศิลปะตะวันตกยุคเรเนสซองส์ ประดับช่องหน้าต่างวงโค้งที่ชั้นบน ส่วนชั้นที่สองเป็นช่องหน้าต่างในกรอบสี่เหลี่ยม คั่นจังหวะด้วยเสาโครินเธียนติดผนัง รายละเอียดทางสถาปัตยกรรมมีความเปลี่ยนแปลงไปจากพระมหาปราสาทแบบไทยประเพณี กล่าวคือ มีการประดับสัญลักษณ์ต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยไม่ใช้รูปนารายณ์ทรงครุฑอีกต่อไป แต่ได้ใช้รูปสัญลักษณ์อื่นๆ เช่น พระจุลมงกุฎหรือพระเกี้ยวประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า รองรับด้วยช้างสามเศียรซึ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รูปจักรและตรีล้อมด้วยสายสังวาลนพรัตน์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายถึงพระราชวงศ์จักรี รวมทั้งยังประดับตราประจำแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5

พระที่นั่งพิมานจักรี
กรุงเทพมหานคร
สถาปัตยกรรมพระที่นั่งพิมานจักรี

พระที่นั่งพิมานจักรีเป็นอาคาร 2 ชั้น ก่ออิฐฉาบปูน มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบยุโรปแบบโกธิค-โรมาเนสก์ จุดเด่นของพระที่นั่งอยู่ที่ยอดโดมสีแดงซึ่งจะมีการเชิญธรงมหาราชขึ้นสูงยอดเสาเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับ บริเวณฝาผนังและเพดานของพระที่นั่งมีภาพเขียนลายดอกไม้แบบปูนเปียก บานประตูเป็นไม้จำหลักปิดทอง มีจารึกพระปรมาภิไธยย่อเหนือบานประตูว่า "ร.ร.๖" หมายถึง สมเด็จพระรามราชาธิบดี รัชกาลที่ 6ภายในชั้น1ของพระที่นั่งพิมานจักรีประกอบด้วย ห้องเสวย ห้องธารกำนัล ห้องพระโอสถมวน ห้องนอนซึ่งเป็นห้องสำหรับให้ข้าราชบริพารเข้าเฝ้า ต่อมาเมื่อเปลี่ยนเป็นโฮเต็ลวังพญาไทห้องนี้จึงกลายเป็นห้องอาหาร ชั้นที่ 2 ประกอบด้วยห้องพิพิธภัณฑ์ ห้องบรรณาคม ห้องพระบรรทม ห้องทรงพระอักษร ภายในตกแต่งแบบยุโรปภายในมีเตาผิงซึ่งด้านบนประดิษฐานพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวภายใต้พระมหามงกุฏซึ่งล้อมรอบด้วยรัศมี นอกจากนี้ยังมีภาพพญามังกรหมายถึงสัญลักษณ์แห่งความเป็นพระราชาและปีพระราชสมภพ

พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์
พระนครศรีอยุธยา
สถาปัตยกรรมพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์

พระที่นั่งองค์นี้เหลือหลักฐานเฉพาะส่วนฐานก่ออิฐถือปูน แผนผังแบบจัตุรมุข ประดับตกแต่งฐานด้วยปูนปั้นรูปครุฑยุดนาค

พระราชวังเมืองหลวงพระบาง
หลวงพระบาง
สถาปัตยกรรมพระราชวังเมืองหลวงพระบาง

พระราชวังเมืองหลวงพระบาง เป็นอาคารแบบตะวันตกในผังแบบพัลลาเดียม มีหน้าบันและลายปูนปั้นแบบตะวันตก สร้างขึ้นภายใต้สมัยอาณานิคมฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม มีความพยายามในการสร้างยอดมหาปราสาทตามอิทธิพลรัตนโกสินทร์ซึ่งทำให้อาคารหลังนี้ดูคล้ายกับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในกรุงเทพพอสมควร หน้าบันที่เป็นรูปช้างเอราวัณนั้น เป็นตราแผ่นดินในสมัยพระราชอาณาจักรลาว โดยรอบช้างปรากฏนาคด้านละ 7 ตัวซึ่งอาจเชื่อมโยงได้กับชื่อเดิมของอาณาจักรล้านช้างซึ่งเรียกว่า “ศรีสัตนาคนหุต” อันแปลว่านครแห่งนาค 7 ตัว

ชาวบาหลีขี่จักรยาน
บาหลี
ประติมากรรมชาวบาหลีขี่จักรยาน

ศิลปะบาหลีสกุลช่างสิงคราชา นิยมสร้างด้วยหินสีเทาทั้งหมด ซึ่งแตกต่างไปจากศิลปะบาหลีปกติที่มักสร้างผนังด้วยอิฐสีส้มแทรกแทรกด้วยหินทรายสีเทาเพื่อสลักลวดลาย ลวดลายในสกุลช่างนี้มักเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษาที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกแล้ว เช่น ลายใบอะแคนธัสและลายดอกทานตะวัน แสดงให้เห็นว่าอายุของปุระในสกุลช่างนี้คงไม่เก่านัก น่าจะสร้างขึ้นในช่วงที่ดัชต์เข้ายึดครองเกาะบาหลีแล้ว ลวดลายมักมีขนาดใหญ่เทอะทะแบบพื้นบ้านมากกว่าศิลปะบาหลีโดยปกติ