ประวัติการสร้าง | ในบาหลีภาคเหนือเคยเป็นที่ตั้งของแคว้นสิงคราชา (Singaraja) ซึ่งปรากฏสกุลช่างทางสถาปัตยกรรมที่แตกต่างไปจากศิลปะบาหลีโดยปกติอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างปุระในสกุลช่างสิงคราชา คือ ปุระมุดุเวการาง (Pura Muduwe Karang) |
ลักษณะทางศิลปกรรม | ศิลปะบาหลีสกุลช่างสิงคราชา นิยมสร้างด้วยหินสีเทาทั้งหมด ซึ่งแตกต่างไปจากศิลปะบาหลีปกติที่มักสร้างผนังด้วยอิฐสีส้มแทรกแทรกด้วยหินทรายสีเทาเพื่อสลักลวดลาย ลวดลายในสกุลช่างนี้มักเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษาที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกแล้ว เช่น ลายใบอะแคนธัสและลายดอกทานตะวัน แสดงให้เห็นว่าอายุของปุระในสกุลช่างนี้คงไม่เก่านัก น่าจะสร้างขึ้นในช่วงที่ดัชต์เข้ายึดครองเกาะบาหลีแล้ว ลวดลายมักมีขนาดใหญ่เทอะทะแบบพื้นบ้านมากกว่าศิลปะบาหลีโดยปกติ |
สกุลช่าง | สิงคราชา |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | บาหลี |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 22-25 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | ปุระในสกุลช่างสิงคราชามักมีการสอดแทรกภาพในชีวิตประจำวันเข้าไป เช่น คนขี่จักรยานเข้าไปที่ปุระมุดุเวการาง หรือดัชต์ขับรถยนต์ที่ปุระดาเล็มที่ชาคาราคาภาพสลักนี้ทำให้ทราบว่าคงสลักขึ้นในช่วงที่ดัชต์ข้ามายึดครองเกาะบาหลีในระยะหลังๆซึ่งเกิดอุตสาหกรรมรถยนต์ จักรยานและเครื่องบินแล้ว |