ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประติมากรรมทวารบาลจากปราสาทดงเดือง
ที่โคปุระของปราสาทมีทวารบาลประดิษฐานอยู่ ทวารบาลดังกล่าวแสดงท่าทางข่มขู่ ยกมือเงื้ออาวุธจะทำร้ายและมีหน้าตาดุร้าย ขาทั้งสองข้างยืนเหยียบอสูรดุร้ายอยู่ ท่าทางที่แสดงความดุร้ายข่มขู่เช่นนี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของทวารบาลแบบจีน ในขณะเดียวกันการแต่งตัวของประติมากรรมกลับแสดงความเป็นพื้นเมืองดงเดือง อย่างมาก ทั้งในด้านมงกุฎซึ่งประดับด้วยตาบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดใหญ่ และการเปลือยท่อนบนและทรงผ้านุ่งก็ล้วนแต่แสดงความเป็นพื้นเมืองจาม

ประติมากรรมนางปรัชญาปารมิตาจากปราสาทดงเดือง
เป็นประติมากรรมที่แสดงความเป็นพื้นเมืองดงเดืองอย่างมาก กล่าวคือ มีพระเกศาหยิก พระขนงตอเป็นปีกกา พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนา พระนาสิกใหญ่ นุ่งผ้าสองชั้น คือผ้าหน้านางผืนในแล้วใช้ผ้าคลุมด้านนอกอีกชั้นหนึ่ง ผ้านุ่งหน้านางนี้ถือเป็นลักษณะที่นิยมอย่างมากในศิลปะดงเดือง

ประติมากรรมทวารบาลหน้าตาดุร้าย
ทวารบาลองค์นี้เป็นประติมากรรมที่แสดงความเป็นพื้นเมืองดงเดืองอย่างมาก กล่าวคือ มีพระขนงตอเป็นปีกกา พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนา พระนาสิกใหญ่ มีพระมัสสุ หน้าตาที่ดุร้ายของประติมากรมเชนนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าคงเคยเป็นทวารบาลมาก่อน มงกุฎซึ่งประดับด้วยตาบรูปพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดใหญ่จำนวนสามตาบนี้ถือเป็นลักษณะที่นิยมอย่างมากในศิลปะดงเดือง

ประติมากรรมภาพสลักนิทานปัญจตันตระเรื่อง “นกกระสากับปู”
จันทิเมนดุตสร้างขึ้นในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ในพุทธศตวรรษที่ 14 สร้างขึ้นในพุทธศาสนามหายาน โดยสร้างขึ้นในระยะเดียวกันกับบุโรพุทโธที่ตั้งของจันทิเมนดุตก็ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับจันทิปะวนและบุโรพุทโธ

ประติมากรรมนางหาริตี
จันทิเมนดุตสร้างขึ้นในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ในพุทธศตวรรษที่ 14 สร้างขึ้นในพุทธศาสนามหายาน โดยสร้างขึ้นในระยะเดียวกันกับบุโรพุทโธที่ตั้งของจันทิเมนดุตก็ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับจันทิปะวนและบุโรพุทโธ

ประติมากรรมพระพุทธรูปประธานของจันทิเมนดุต
พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท มีรูปแบบที่แสดงอิทธิพลจากศิลปะจาลุกยะที่ถ้ำเอลโลร่ากับศิลปะปาละจากอินเดียภาคตะวันออก พระพุทธรูปมีอุณาโลมตามแบบศิลปะปาละแต่กลับห่มเฉียงดังที่ปรากฏกับพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทที่ถ้ำอชันตาและเอลโลร่า พระพุทธองค์แสดงการจับชายจีวรขณะนั่งห้อยพระบาทรวมถึงปรากฏชายจีวรที่ตกลงมาระหว่างพระเพลาทั้งสองข้างซึ่งคล้ายคลึงกับศิลปะที่ถ้ำเอลโลร่า ส่วนบัลลังก์ที่ประดับด้วยมกร วยาลและช้างก็ปรากฏมาก่อนแล้วทั้งที่ถ้ำเอลโลร่าและในศิลปะปาละ

ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรภายในจันทิเมนดุต
ด้านข้างของพระพุทธรูปภายในจันทิเมนดุตปรากฏพระโพธิสัตว์ขนาบสองข้าง คือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์หนึ่ง และพระโพธิสัตว์วัชรปาณิอีกองค์หนึ่ง พระโพธิสัตว์ที่จันมิเมนดุตมีเครื่องแต่งกายที่คล้ายคลึงกับศิลปะปาละมาก ทั้งการทรงกระบังหน้าที่มีตาบสามเหลี่ยม 3 จุด รูปแบบชฎามกุฏทรงกระบอกและการสวมวาสตรยัชโญปวีต รวมถึงการนั่งลลิตาสนะบนฐานกลีบบัวและรูปแบบพนักบัลลังก์

ประติมากรรมต้นกัลปพฤกษ์ที่จันทิปะวน
จันทิปะวน ตั้งอยู่ใกล้บุโรพุทโธ สร้างขึ้นในพุทธศาสนามหายานโดยราชวงศ์ไศเลนทร์ผู้นับถือพุทธศาสนามหายาน