ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 297 ถึง 304 จาก 519 รายการ, 65 หน้า
เจดีย์โบโบจี
แปร
สถาปัตยกรรมเจดีย์โบโบจี

เจดีย์ในศิลปะศรีเกษตร (ปยู) มักเป็นเจดีย์ที่มีอัณฑะขนาดใหญ่ อันเป็นพื้นฐานมาจากศิลปะอมราวดี อย่างไรก็ตาม อัณฑะในศิลปะปยูไม่ได้อยู่ในทรงโอคว่ำอีกต่อไป แต่กลับยืดสูง บางองค์มีอัณฑะยืดสูงคล้ายทรงลอมฟาง บางองค์ก็คือสูงคล้ายทรงกระบอก สำหรับเจดีย์องค์นี้มีอัณฑะยืดสูงคล้ายทรงลองฟาง

เจดีย์เลมเยทนา
แปร
สถาปัตยกรรมเจดีย์เลมเยทนา

เจดีย์เลมเยทนา ถือเป็นเจตียวิหารที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะพม่า เจดีย์มีแกนกลางรับน้ำหนักยอดศิขระ (ซึ่งหักหายไปแล้ว) โดยรอบมีพระพุทธรูปสี่ทิศและทางประทักษิณภายใน ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นต้นเค้าให้กับแผนผังของเจดีย์ในศิลปะพุกามหลายองค์ เช่น อานันทเจดีย์ เป็นต้น แผนผังแกนกลางและพระพุทธรูปสี่ทิศที่ยังไม่ซับซ้อนเมื่อเทียบกันอานันทเจดีย์นั้น แสดงให้เห็นว่าเจดีย์องค์นี้อยู่ในสมัยศรีเกษตร

ภายในเจดีย์เลมเยทนา
แปร
สถาปัตยกรรมภายในเจดีย์เลมเยทนา

เจดีย์เลมเยทนา ถือเป็นเจตียวิหารที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะพม่า เจดีย์มีแกนกลางรับน้ำหนักยอดศิขระ (ซึ่งหักหายไปแล้ว) โดยรอบมีพระพุทธรูปสี่ทิศและทางประทักษิณภายใน ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นต้นเค้าให้กับแผนผังของเจดีย์ในศิลปะพุกามหลายองค์ เช่น อานันทเจดีย์ เป็นต้น แผนผังแกนกลางและพระพุทธรูปสี่ทิศที่ยังไม่ซับซ้อนเมื่อเทียบกันอานันทเจดีย์นั้น แสดงให้เห็นว่าเจดีย์องค์นี้อยู่ในสมัยศรีเกษตร

จันทิเมนดุต
ไม่ปรากฏ
สถาปัตยกรรมจันทิเมนดุต

จันทิตั้งอยู่บนฐานประทักษิณขนาดใหญ่ เรือนธาตุแบ่งออกเป็นสามเก็จ โดยเก็จประธานประดับภาพพระโพธิสัตว์ประทับนั่งอยู่บนดอกบัว ส่วนเก็จมุมประดับพระโพธิสัตว์อันยิ่งใหญ่แปดองค์ในพุทธศาสนามหายาน หรืออัษฏมหาโพธิสัตว์ ซึ่งทำให้จันทิเมนดุตกลายเป็น “มณฑล” หรือแผนภูมิจักรวาลในพุทธศาสนามหายาน ชั้นหลังคาประดับด้วยเรือนธาตุจำลองซ้อนชั้นตามแบบวิมานอินเดียใต้ แต่ประดับไปด้วยสถูปิกะตามแบบชวาภาคกลางแล้ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้คงได้อิทธิพลมาจากพุทธศาสนาเป็นสำคัญ

จันทิปะวน
โวโนโซโบ
สถาปัตยกรรมจันทิปะวน

จันทิหลังนี้ ถือเป็นจันทิขนาดเล็กที่งดงามที่สุดในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง จันทิตั้งอยู่บนฐานประทักษิณเช่นเดียวกับจันทิเมนดุต แบ่งออกเป็นสามเก็จ เก็จประธานมีภาพต้นกัลปพฤกษ์สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ ส่งเก็จมุมเป็นภาพพระโพธิสัตว์ยืน ชั้นหลังคาประดับด้วยสถูปิกะตามแบบชาภาคกลางตอนกลางที่ได้เปลี่ยนมานิยมสถูปิกะแทนตามความคิดทางพุทธศาสนา ราวบันไดของจันทิปะวนยังประดับด้วยลวดลายต้นกัลปพฤกษ์ซึ่งสื่อถึงการอวยพรให้ผู้ศรัทธาได้รับความอุดมสมบูร์ณเช่นเดียวกัน

ธาตุดำ
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมธาตุดำ

เจดีย์ขนาดใหญ่นี้คงเคยเป็นประธานของวัดใดวัดหนึ่งซึ่งไม่หลงเหลือในปัจจุบัน เจดีย์ประกอบไปด้วยบัวถลาแปดเปลี่ยมซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากล้านนา ถัดขึ้นไปได้แก่บัวเหลี่ยมในผังแปดเหลี่ยมซึ่งแสดงความเป็นล้านช้างอย่างแท้จริง

วิหารวัดองค์ตื้อ
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมวิหารวัดองค์ตื้อ

เป็นอาคารในสกุลช่างเวียงจันทน์ที่หลังคาด้านข้างไม่ได้เตี้ยติดพื้นมาก และมีการแบ่งกรอบหน้าบันออกเป็นปีกนก หน้าบันแสดงเป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณท่ามกลางลายพันธุ์พฤกษา ด้านล่างหน้าบันมีการแบ่งช่องในแผงแรคอสองอันเป็นลักษณะโดดเด่นของหน้าบันในสกุลช่างเวียงจันทน์ และด้านล่างสุดมีโก่งคิ้วซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมที่ปรากฏร่วมกันทั้งในล้านนาและลาว ด้านหน้ามีโถงทางเข้าก่อนที่จะเข้าไปภายในห้องประธาน ปรากฏหัวเม็ดทรงมัณฑ์ในทรงยืดสูงอันเป็นลักษณะที่โดดเด่นในศิลปะลาว

หอพระแก้ว
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมหอพระแก้ว

หอพระแก้ว มีเค้าโครงว่าสร้างขึ้นตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าอนุวงศ์หรือก่อนหน้านั้นแล้ว เนื่องจากรูปแบบมีความคล้ายคลึงกับพระอุโบสถของวัดพระศรีรัตนศาสนารามที่ประกอบไปด้วยลานประทักษิณภายในพาไลโดยรอบ อย่างไรก็ตาม หอพระแก้วคงถูกทิ้งร้างตั้งแต่คราวพระเจ้าอนุวงศ์เสียเมืองเวียงจันทน์ และต่อมาได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ หน้าบันซึ่งมีแผงแรคอสองแบ่งช่องอยู่ด้านล่างนั้น สามารถเปรียบเทียบได้กับหน้าบันของวิหารวัดองค์ตื้อ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นสกุลช่างเวียงจันทน์ที่ถูกสลักขึ้นในระยะหลังมากๆ (รัชกาลพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ?) อนึ่ง ตรงช้างสามเศียรเป็นตราประจำพระราชอาณาจักรลาวก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง