ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 145 ถึง 152 จาก 198 รายการ, 25 หน้า
พระบรมรูป 4 รัชกาล
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระบรมรูป 4 รัชกาล

พระบรมรูปรัชกาลที่ 1 - 3 มีขนาดเท่าพระองค์จริง หล่อด้วยสำริดเคลือบทองในพระราชอิริยาบถยืนตรง ทรงพระภูษาจีน มีสายรัดพระองค์และมีหัวพระปั้นเหน่งทับ ไม่ทรงฉลองพระองค์ ทรงพระแสงดาบคาบค่าย พระแสงดาบเวียต และพระแสงดาบญี่ปุ่นตามลำดับ จะเห็นได้ว่าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ทรงใช้วิธีการผสมผสานรูปลักษณ์ตามคติไทยลงไปในรูปเหมือนตามคติตะวันตก คือเน้นความเหมือนจริงของพระพักตร์ แต่พระวรกายในพระราชอิริยาบถยืนนั้นยังคงความเกลี้ยงเกลากลมกลืนดูสงบนิ่งแต่แฝงความศักดิ์สิทธิ์น่าเลื่อมใสศรัทธาตามแบบพระพุทธรูป ส่วนพระบรมรูปรัชกาลที่ 4 นั้นเดิมหลวงเทพรจนา (พลับ) เป็นผู้ปั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ แก้ไขและเพิ่มรายละเอียด เช่น รอยย่นบนพระพักตร์ รอยยับของพระภูษาโจง และลวดลายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทำให้ดูเหมือนจริงกว่าพระบรมรูปรัชกาลที่ 1 - 3

ขลุ่ยทิพย์
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมขลุ่ยทิพย์

ศิลปินได้รับความบันดาลใจทางด้านรูปแบบจากพระพุทธรูปลีลา ศิลปะสุโขทัย ก่อเกิดเป็นประติมากรรมที่ผสมผสานจังหวะลีลาและเส้นสายของศิลปะไทยกับความเรียบง่ายของรูปทรงแบบสากลอย่างงดงาม จนได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม ในงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2492

รำมะนา
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมรำมะนา

ศิลปินได้รับแรงบันดาลใจจากลักษณะของความเป็นไทยจากพระพุทธรูปไทยที่มีสัดส่วนงดงามผนวกกับความคิดส่วนตัวโดยนำการจัดวางโครงสร้างและองค์ประกอบแบบสมัยใหม่มาผสมผสาน และสนใจสร้างงานประติมากรรมโดยการแกะสลักด้วยวัสดุไม้และงาช้าง ดังที่ศิลปินได้แสดงทัศนะไว้ว่า “รำมะนา…เวลาตีเสียงมันก้องกลมกังวาน สนุก จึงสร้างเส้นรอบนอกให้ประสานกันเป็นวงโค้งมีหน้ากลองวงกลมเป็นตัวขัดอยู่ตรงกลาง”

น้ำเงินเขียว
กรุงเทพมหานคร
จิตรกรรมน้ำเงินเขียว

เป็นภาพผู้หญิงเปลือยที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะคิวบิสม์ (Cubism) อันมีลักษณะการวิเคราะห์โครงสร้างของรูปทรงที่คมคาย ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์เดินทางไปศึกษาต่อที่อิตาลี เมื่อ พ.ศ.2497 และเกิดความคิดริเริ่มในการเขียนภาพเปลือย (nude) อาจารย์เฟื้ออธิบายเพิ่มเติมว่า "ให้กรรมวิธีที่มันสะเทือนเลยเบี่ยงเข้าหาจุดที่แสงสว่างจัด เงาจัด รูปคนสักแต่ว่ารูป ไม่ดูว่าเป็นคน คนแค่อาศัยดูว่าเส้นสี อะไรแดงๆ เลย อะไรเหลืองๆ เลย อะไรโค้งได้โค้งเลย กำหนดแสงสว่างเงาอ่อนแก่ จัดรูปโดยแยกไปจากรูปอีกที"

พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบรมรูปเหมือนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชอิริยาบถประทับยืนตรง ทรงฉลองพระองค์เยียรบับ ทรงพระภูษาโจงขอบเชิง พระมาลาทรงหม้อตาล ทรงสายสะพายแบบเลจิอองดอนเนอร์ของฝรั่งเศส ทรงฉลองพระบาท พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบหัตถ์นารายณ์ ทอดปลายพระแสงดาบลงพื้น พระหัตถ์ซ้ายทรงถือหนังสือ

แบบร่างประติมากรรมพระบรมราชาอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมแบบร่างประติมากรรมพระบรมราชาอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระบรมรูปอยู่ในลักษณะทรงฉลองพระองค์และพระมาลา ประทับนั่งห้อยพระบาทบนพระราชบัลลังก์ ซึ่งเป็นแบบร่างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฝั่งพระนคร หรือพระปฐมบรมราชานุสรณ์

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

พระบรมรูปมีขนาดสองเท่าครึ่งของพระองค์จริง ทรงม้าพระที่นั่งออกศึก ทรงเครื่องกษัตริย์และสวมพระมาลา พระหัตถ์ขวาเงื้อพระแสงดาบในท่านำพล พระหัตถ์ซ้ายทรงกุมบังเหียน ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ทางจังหวัดจันทบุรี ประดิษฐานบนแท่น ทั้งสองด้านประดับด้วยประติมากรรมนูนสูงเล่าเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ด้านละ 2 กรอบ รวม 4 กรอบ เล่าเหตุการณ์ 4 เหตุการณ์ได้แก่ ภาพประชาชนหมดหวังเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่า ภาพพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเกลี้ยกล่อมประชาชนให้ร่วมกันกู้อิสรภาพ ภาพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีออกรบและได้รับชัยชนะทุกครั้ง และภาพความผาสุกของประชาชนหลังจากกู้เอกราชได้แล้ว ด้านหน้ามีแผ่นจารึกดวงฤกษ์และข้อความเทิดพระเกียรติ

เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์
กรุงเทพมหานคร
สถาปัตยกรรมเรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์

เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์นี้ เป็นอาคารทรงปราสาทโถง 9 ยอด มีรูปช้างเอราวัณรองรับส่วนยอดปราสาท เสา 48 ต้นเอียงเข้าสู่ศูนย์กลางยอดหน้าบันด้านกลางทิศเหนือประดิษฐานพระปรมาภิไธย “อปร.” หน้าบันด้านทิศตะวันออกเหนือประดิษฐานพระนามาภิไธย “กว.”หน้าบันด้านทิศตะวันตกเหนือประดิษฐานพระนามาภิไธย “สธ.” หน้าบันด้านทิศตะวันออกประดิษฐานพระนามาภิไธย “มวก.” หน้าบันกลางด้านทิศใต้ประดิษฐานพระปรมาภิไธย “ภปร.” หน้าบันด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ประดิษฐานพระนามาภิไธย “มอ.” หน้าบันด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ประดิษฐานพระนามาภิไธย “สว.” หน้าบันด้านทิศตะวันตกประดิษฐานพระนามาภิไธย “สก.” ใต้หน้าบันฉลุเพดานด้านในปรากฏพระนามาภิไธยที่ส่วนกลาง “จภ.” เพดานด้านซ้ายและด้านขวา “อร.” พื้นเป็นหินอ่อนมีลูกกรงโดยรอบ ฐานเรือนยอดชั้นบนประดับรูปเทพพนม มีโคมไฟรูปพุ่มข้าวบิณฑ์โดยรอบ บันไดทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน ทางขึ้นด้านทิศเหนือและทิศใต้มีสระน้ำครึ่งวงกลม มีรูปปั้นม้าอยู่กลางสระ มุมทั้ง 4 มีสระ 4 แห่งมีรูปช้าง ม้า วัว สิงห์ มีช้างสำริด จำนวน 10 ช้างอยู่โดยรอบอาคาร