ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 681 ถึง 688 จาก 884 รายการ, 111 หน้า
จิตรกรรมเรื่องออกมหาภิเนษกรมณ์และมารวิชัย
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมเรื่องออกมหาภิเนษกรมณ์และมารวิชัย

อิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่น การวาดภาพปราสาทราชวังและตัวละคร รวมถึง การวาดท้องฟ้าสีฟ้าและทัศนียวิทยาตามแบบความเป็นจริงซึ่งแสดงให้เห็นการเข้ามาของอิทธิพลตะวันตก จิตรกรรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัย รัชกาลที่ 4-5

ภาพเขียนเพดาน โบสถ์ซานออกุสติน
มะนิลา
จิตรกรรมภาพเขียนเพดาน โบสถ์ซานออกุสติน

จิตรกรรมบนเพดานภายในโบสถ์ซานออกุสติน มะนิลา ซึ่งจากภาพนี้จะเห็นจิตรกรรมภาพลวงตา (Trompe l’oeil)ได้อย่างชัดเจน จิตรกรรมนี้วาดขึ้นโดยจิตรกรชาวอิตาเลี่ยนจำนวนสองคนใน ค.ศ.1875 อนึ่ง จิตรกรมแบบลวงตานี้ปรากฏมาก่อนแล้วในยุโรปตั้งแต่สมัยเรอเนสซองส์หรือบาโรค โดยมีทั้งแบบที่วาดเป็นท้องฟ้าให้เกิดความเวิ้งว้างสุดลูกตา หรือเป็นการลวงตาโดยใช้สถาปัตยกรรมเป็นเส้นนำสายตาให้ดูสูงขึ้นลึกเข้าไปในเพดานที่ไม่ได้สูงจริง

หน้าต่างประดับกระจกสี  โบสถ์ซานเซบาสเตียน
มะนิลา
จิตรกรรมหน้าต่างประดับกระจกสี โบสถ์ซานเซบาสเตียน

ภายในโบสถ์ซานเซบาสเตียน มะนิลาถือเป็นโบสถ์เพียงไม่กี่แห่งในกรุงมะนิลาที่สร้างขึ้นตามแบบโกธิค หน้าต่างของโบสถ์แห่งนี้ประดับด้วยกระจกสี ทำให้ภายในโบสถ์ค่อนข้างมืดอันเป็นเทคนิคการจำกัดแสตามแบบโกธิค

พระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมพระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง

พระพุทธรูปองค์นี้แสดงให้เห็นศิลปะพื้นเมืองดงเดืองปะปนกับอิทธิพลจากศิลปะจีนและอินเดีย ประการแรกคือท่านั่งห้อยพระบาทที่ใช้พระหัตถ์ทั้งสองวางอู่บนพระชานุนั้นแสดงถึงอิทธิพลจีน แต่จีวรที่ห่มเฉียงและมีชายจีวรสั้นๆอยู่ที่พระอังสาซ้ายนั้นกลับเป็นลักษณะประจำในศิลปะปาละของอินเดีย อย่างไรก็ตาม พระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นี้กลับแสดงความเป็นพื้นเมืองอย่างมากมาย เช่น พระโอษฐ์ที่หนา พระขนงต่อเป็นปีกกาและพระเนตรโปน เป็นต้น

หน้าบันรูปวิษณุอนันตศายินจากปราสาทมิเซิน E
ดานัง
ประติมากรรมหน้าบันรูปวิษณุอนันตศายินจากปราสาทมิเซิน E

ซุ้มของปราสาทมิเซินกลุ่ม E นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกูฑุหรือจันทรศาลาในศิลปะอินเดียอย่างมาก กล่าคือเป็นซุ้มเรียบ วงโค้งเตี้ย ที่ปลาประดับมกรหันออก อย่างไรก็ตาม ศิลปะจามได้เพิ่มลายม้วนเข้าด้วย ทำให้ซุ้มมีทั้งม้วนเข้าและม้วนออกไปพร้อมกัน กึ่งกลางปรากฏภาพเล่าเรื่องตอนวิษณุอนันตศายินปัทมนาภะ หรือพระวิษณุบรรทมกลางเกษียรสมุทรและมีพระพรหมผุดขึ้นมาจากพระนาภี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู

เศียรของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
ประติมากรรมเศียรของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระเศียรของพระโพธิสัตว์องค์นี้ ทรงชฎามงกุฎตามแบบนักบวช มีกระบังหน้าประดับตาบสามเหลี่ยมสามจุดตามแบบศิลปะปาละ-ชวา พระพักตร์มีความเป็นอินเดีย-ชวาสูง คือพระเนตรเรียวเล็กเหลือบต่ำ พระโอษฐ์บาง ไม่มีพระมัสสุ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะชวาที่เข้ามาอย่างมากในระยะนี้

พระวิษณุทรงครุฑ
ประติมากรรมพระวิษณุทรงครุฑ

พระวิษณุทรงครุฑองค์นี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะชวาที่เข้ามาปะปนกับศิลปะพื้นเมืองหัวล่าย โดยกระบังหน้าประดับตาบสามเหลี่ยมสามจุดตามแบบศิลปะปาละ-ชวา แต่พระพักตร์ของประติมากรรมองค์นี้เริ่มมีพระโอษฐ์หนา พระเนตรโปนและมีพระมัสสุตามแบบพื้นเมือง ครุฑที่มีจะงอยปากนกและมีปีกเป็นกนกเองก็เป็นลักษณะพื้นเมืองเช่นกัน

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสี่กร
โฮจิมินห์
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสี่กร

พระโพธิสัตว์องค์นี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะชวาที่เข้ามาอย่างมากในระยะนี้ กล่าวคือทรงกระบังหน้าประดับตาบสามเหลี่ยมสามจุดตามแบบศิลปะปาละ-ชวา นุ่งผ้าโธตียาวที่มีผ้าคาดวงโค้งกว้างตามแบบศิลปะอินเดียใต้-ชวาภาคกลาง อยย่างไรก็ตาม พระพักตร์ของประติมากรรมองค์นี้เริ่มมีพระโอษฐ์หนาและพระเนตรโปนตามแบบพื้นเมืองแล้วยัชโญปวีตในระยะนี้ก็หายไปซึ่งแตกต่างไปจากศิลปะชวา