ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 425 ถึง 432 จาก 884 รายการ, 111 หน้า
ภายในโบสถ์ซานออกุสติน
มะนิลา
สถาปัตยกรรมภายในโบสถ์ซานออกุสติน

ภายในโบสถ์ซานออกุสติน มะนิลา เพดานเป็นวงโค้ง (Tunnel Vault) วาดภาพสถาปัตยกรรมลวงตาบนเพดาน (Trompe l’oeil) จิตรกรรมนี้วาดขึ้นโดยจิตรกรชาวอิตาเลี่ยนจำนวนสองคนใน ค.ศ.1875 ที่ปลายสุดของโบสถ์เป็นแท่นบูชาประดิษฐานเซนต์เจมส์ถือดาบ ซึ่งเป็นนักบุญประจำประเทศสเปน

อาสนวิหารแห่งมะนิลา
มะนิลา
สถาปัตยกรรมอาสนวิหารแห่งมะนิลา

รูปแบบปัจจุบันของอาสนวิหารแห่งมะนิลา มีแผนผังเป็นรูปกากบาทแบบละติน (Latin Cross) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมในศิลปะตะวันตกโดยทั่วไป โดยด้านข้างปรากฏปีก (transept) ส่วนด้านหลังปรากฏผนังวงโค้ง (apse) สำหรับหอคอยซึ่งปัจจุบันตั้งติดกับตัวโบสถ์นั้น จากภาพถ่ายเก่าพบว่า ดั้งเดิมแล้ว หอคอยตั้งอยู่แยกจากตัวโบสถ์ โดมของอาสนวิหารแห่งเมืองมะนิลา เป็นโดมแบบคลาสิกโดยทั่วไป กล่าวคือ มีคอโดม (Drum) เป็นรูปแปดเหลี่ยม มีหน้าต่างคู่สลับกับเสาติดผนัง ส่วนตัวโดมเป็นโดมที่มุงหลังคาด้วยทองแดงและมี Lantern อยู่ด้านบน ซึ่งปรากฏเสมอสำหรับโดมทั้งในศิลปะเรอเนสซองส์และนีโอคลาสิก

โบสถ์ไคอาโป
มะนิลา
สถาปัตยกรรมโบสถ์ไคอาโป

โบสถ์แห่งนี้มีแผงด้านหน้า ตามแบบคลาสิก คือมีหน้าบันสามเหลี่ยม รองรับด้วยเสาโครินเธียน ด้านข้างขนาบด้วยหอคอยแปดเหลี่ยมซึ่งมีองค์ประกอบส่วนมากเป็นแบบคลาสิก อย่างไรก็ดี องค์ประกอบเล็กน้อยยังคงแสดงความเป็นบารอคบ้างเช่น การประดับถ้วยรางวัล กรอบหน้าต่างที่หยักโค้ง การใช้ volute ในการค้ำยันหอคอย เป็นต้น

โบสถ์บินอนโด
มะนิลา
สถาปัตยกรรมโบสถ์บินอนโด

โบสถ์แห่งนี้มีแผงด้านหน้า ตามแบบคลาสิก คือมีหน้าบันสามเหลี่ยม รองรับด้วยเสาไอโอนิกและโครินเธียน น่าสังเกตว่าโบสถ์ส่วนมากในเมืองมะนิลามักมีแผงด้านหน้าแบบคลาสิกเกือบทุกแห่ง หอระฆังของโบสถ์บินอนโด สร้างขึ้นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 และไม่ได้ถูกทำลายจากสงคราม มีลักษณะเป็นหอระฆังแปดเหลี่ยมที่ซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นลดหลั่น โดยแต่ละชั้นประดับด้วยเสาติดผนังและซุ้ม ด้านบนสุดปรากฏโดมและ Lantern รูปแบบของหอระฆังนี้ทำให้นึกถึงเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน

มัสยิดสุลต่าน
สิงคโปร์
สถาปัตยกรรมมัสยิดสุลต่าน

อิทธิพลแบบอินเดียและมัวร์ที่ปรากฏในมัสยิดแห่งนี้สามารถเปรียบเทียบได้กับมัสยิดหลายหลังในมาเลเซียซึ่งสร้างขึ้นโดยสถาปนิกชาวอังกฤษเช่นเดียวกัน ลักษณะแบบอินเดียนั้น ได้แก่ลักษณะของโดมซึ่งมีคอทรงกระบอก และการมีกลีบดอกไม้ประดับไปด้านบนโม รวมถึงระเบียบการประดับฉัตรีไว้ที่ด้านบนหอคอย อย่างไรก็ตาม อาร์ควงโค้งหลายวงต่อเนื่องกันที่ปรากฏในส่วนกลางของมัสยิด กลับแสดงให้เห็นอิทธิพลแบบสเปน

มัสยิดฮัญญะฮฺ ฟาติมะฮฺ
สิงคโปร์
สถาปัตยกรรมมัสยิดฮัญญะฮฺ ฟาติมะฮฺ

เป็นมัสยิดที่น่าสนใจมากเนื่องจากผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดียแบบโมกุลและศิลปะยุโรป โดยเฉพาะหอคอยของมัสยิดซึ่งสร้างเป็นแบบตะวันตก คือเป็นหอคอยแปดเหลี่ยมที่มียอดเป็นทรงกระโจมแหลมคล้ายคลึงกับหอคอยของโบสถ์ในศาสนาคริสต์เป็นอย่างมาก ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากการออกแบบของสถาปนิกชาวอังกฤษ

พระพรหมภายในเจดีย์นันปยะ
พุกาม
ประติมากรรมพระพรหมภายในเจดีย์นันปยะ

เจตียวิหารในระยะแรกสุดของศิลปะพุกาม ภายในอาคารปรากฏเสาสี่ต้นรองรับยอดศิขระ โดยรอบปรากฏภาพสลักพระพรหมซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่ปรากฏเฉพาะที่นี่เท่านั้น รูปแบบของพระพรหมและประติมานวิทยายังคล้ายคลึงกับพระพรหมในศิลปะปาละอยู่มาก จากกำหนดอายุโบราณสถานแห่งนี้อยู่ในสมัยพุกามตอนต้น

หน้าต่างของเจดีย์นันปยะ
พุกาม
ประติมากรรมหน้าต่างของเจดีย์นันปยะ

หน้าต่างของแจดีย์นันปยะถือเป็นหน้าต่างของเจตียวิหารในระยะแรกสุดของศิลปะพุกาม เป็นหนาต่างที่มีแผ่นหินมาปิดทำให้ภายในอาคารมืดทึบ ซึ่ถือเป็นสุนทรียภาพในสมัยพุกามตอนต้น ซุ้มเคล็กที่นี่เป็นเคล็กสั้นและเอียงเข้าหาจุดศูนย์กลางตามแบบพุกามตอนต้น ที่เสาติดผนังเองก็ปรากฏกาบบนแต่ไม่มีกาบล่างและประจำยามอก ซึ่งถือเป็นกาบในระยะแรกสุดของศิลปะพุกาม