ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เจดีย์นันปยะ
คำสำคัญ : พุกาม, มนูหะ, เจดีย์นันปยะ
ชื่อหลัก | เจดีย์นันปยะ |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
จังหวัด/เมือง | พุกาม |
รัฐ/แขวง | มัณฑเลย์ |
ประเทศ | เมียนมา |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 21.152222 Long : 94.858611 |
ประวัติการสร้าง | - |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | เจตียวิหารในระยะแรกสุดของศิลปะพุกาม เป็นอาคารทรงศิขระที่ยังคงมีการประดับกูฑุคล้ายคลึงกับศิลปะอินเดียเหนือ มีหน้าต่างบิดทึบจำนวนสามบานต่อด้านซึ่งตรงกับแนวความคิดของศิลปะพุกามตอนต้นที่ต้องการให้ภายในมืดทึบ ภายในอาคารปรากฏเสาสี่ต้นรองรับยอดศิขระ โดยรอบปรากฏภาพสลักพระพรหมซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่ปรากฏเฉพาะที่นี่เท่านั้นจากรูปแบบของศิขระและลวดลายประดับที่ยังคล้ายคลึงศิลปะอินเดียอยู่มาก จากกำหนดอายุโบราณสถานแห่งนี้อยู่ในสมัยพุกามตอนต้น |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | พุกาม |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 16-18 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | ตำนานมักเชื่อมโยงเจดีย์นันปยะว่าเกี่ยวข้องกับพระเจ้ามนูหะ ผู้สร้างปฏิมาฆระมนูหะซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลกัน แม้ว่าไม่อาจยืนยันว่าตำนานนี้มีความเป็นจริงมาน้อยเพียงใด แต่เจดีย์นันปยะก็สร้างขึ้นในสมัยพุกามตอนต้นซึ่งสอดรับกับตำนานนี้ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-02-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |