ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 17 ถึง 23 จาก 23 รายการ, 3 หน้า
ที่ตั้งของปราสาทโพนคร
ญาจาง
สถาปัตยกรรมที่ตั้งของปราสาทโพนคร

ปราสาทโพนคร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำที่กำลังออกสู่ทะเล ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญทางภูมิศาสตร์ (Landmark) นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับคติที่เชื่อว่าพระเทวีทรงเกี่ยวข้องกับแม่น้ำและทะเล ซึ่งมีความแบนเหมือนโยนีอีกด้วย

พระศิวะ
ประติมากรรมพระศิวะ

ประติมากรรมบุคลสมัยบิญดิ่น เริ่มมีการจัดระเบียบมากขึ้นกว่าสมัยก่อนหน้า คือ ตาบทุกตาบของพระเศียรขึ้นไปอยู่เหนือกระบังหน้าทั้งหมด ลักษณะสำคัญของประติมากรรมสมัยบิญดิ่นและสมัยหลัง คือประทับนั่งพิงแผ่นหลัง โดยพระหัตถ์จำนวนมากติดไปกับแผ่นหลัง ส่วนผ้านั่งเองกักชักชายผ้าวงโค้งหรือชายผ้าสามเหลี่ยมตกลงมาด้านหน้า

รูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม
ดานัง
ประติมากรรมรูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม

รูปสิงห์จากปราสาทถาปมาม แสดการยกแข้งยกขาตามแบบศิลปะจีน หน้าตาของสิงห์มีการปะปนระหว่าง "สิงห์" และ "มังกรจีน" เป็นอย่างมาก ทั้งการมีเครา การอ้าปากแลบลิ้น การมีเขี้ยวมุมปาก เป็นต้น ทั้งหมดนี้แสดงอิทธิพลของเวียดนามที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองขึ้นเรื่อยๆในพื้นที่แถบนี้

รูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม
ดานัง
ประติมากรรมรูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม

รูปสิงห์แบบจากปราสาทถาปมาม แสดงให้เห็นอิทธิพลศิลปะขอมแบบบายนที่เข้ามามีบทบาทในศิลปะบิญดิ่นอย่างมาก เนื่องด้วยท่าทางของสิงห์ดังกล่าวคล้ายคลึงกับสัตว์แบกฐานพระราชวังหลวงของเมืองพระนครอย่างมาก อนึ่ง เนื่องด้วยการโจมตีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทำให้ประติมากรรมในระยะนี้มีอิทธิพลขอมเข้ามาปะปน การชักชายผ้ารูปสามเหลี่ยมด้านหน้าก็ถือเป็นอิทธิพลจากศิลปะขอมเช่นกัน

รูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม
ดานัง
ประติมากรรมรูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม

รูปสิงห์จากปราสาทถาปมาม แสดการยกแข้งยกขาตามแบบศิลปะจีน รวมทั้งการมีเคราก็แสดงอิทธิพลจีนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หน้าตาของสิงห์ตัวนี้ยังแสดงให้เห็นอิทธิพลศิลปะขอมแบบบายนที่เข้ามามีบทบาทในศิลปะบิญดิ่นด้วย อนึ่ง เนื่องด้วยการโจมตีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทำให้ประติมากรรมในระยะนี้มีอิทธิพลขอมเข้ามาปะปน

ศิวนาฏราชบนหน้าบันของปราสาทโพกลวงการาย
ฟานรัง
ประติมากรรมศิวนาฏราชบนหน้าบันของปราสาทโพกลวงการาย

แม้ว่าปราสาทโพกลวงการายจะมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 19 แต่หน้าบันรูปพระศิวนาฏราชชิ้นนี้กลับมีอายุเก่ากว่าเล็กน้อย คืออยู่ในศิลปะบิ่ญดิ่น แสดงให้เห็นถึงการนำเอาศิลปกรรมเก่ากลับมาใช้ใหม่ รูปแบบของมงกุฎพระศิวะนั้นสามารถเทียบได้กับมงกุฎในศิลปะบิญดิ่นโดยทั่วไป คือประกอบด้วยตาบเล็กๆ ซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆ ในรูปสามเหลี่ยม ส่วนผ้านุ่งมีการชักชายผ้ารูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นลักษณะประจำของศิลปะบิญดิ่นเช่นกัน

ปราสาทถูเทียน
บิ่ญดิน
สถาปัตยกรรมปราสาทถูเทียน

เป็นปราสาทหลังโดด มีความสูงเป็นอย่างมาก ตั้งอยู่บนพื้นราบ ปราสาทประดับด้วยเสาติดผนังจำนวน 5 ต้นที่ไม่มีร่องและไม่มีลวดลาย กึ่งกลางเรือนธาตุประดับปราสาทจำลองขนาดใหญ่ ซึ่งตกแต่งด้วยซุ้มใบหอกอีกทีหนึ่ง การที่ปราสาทมีความสูงเป็นอย่างมาก มีเสาติดจำนวน 5 ต้นที่ไม่มีร่องและไม่มีลวดลาย แสดงให้เห็นลักษณะของปราสาทแบบบิญดิ่นตอนปลาย ปราสาทจำลองที่เรือนธาตุซึ่งมีซุ้มใบหอกประดับก็ถือเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยนี้เช่นเดียวกัน