ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 9 ถึง 16 จาก 90 รายการ, 12 หน้า
จันทิกะลาสัน
กลาเตน
สถาปัตยกรรมจันทิกะลาสัน

จันทิกะลาสัน เป็นตัวอย่างจันทิในแผนผังห้าห้องแห่งแรกๆในศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย ซึ่งจะปรากฏอีกกับจันทิเซวูและจันทิปรัมบะนัน ผังห้าห้องนี้ทำให้เกิดอาคารในผังกากบาทขึ้นซึ่งคงเกี่ยวข้องกับศิลปะปาละมาก่อน เรือนธาตุหลักยังคงแบ่งออกเป็นสามเก็จ โดยเก็จประธานได้กลายเป็น “อาคารประกบ” ตามระบบ “ปราสาทซ้อนปราสาท” ส่วนเก็จมุมมีเสาติดผนังขนาบซุ้มทรงปราสาทที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในศิชปะชวาภาคกลาง ด้านบนยอดเป็นการซ้อนชั้นตามแบบวิมานอินเดียใต้ อย่างไรก็ตามเรือนธาตุจำลองกลับอยู่ในผังแปดเหลี่ยมซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในระยะก่อนหน้า โดยรอบมี “อาคารจำองยอดสถูปิกะ” ประดับ ซึ่งถือเป็นลักษณะที่โดดเด่นในศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย

ซุ้มจระนำที่จันทิกะลาสัน
กลาเตน
สถาปัตยกรรมซุ้มจระนำที่จันทิกะลาสัน

จันทิกะลาสัน เป็นตัวอย่างจันทิในแผนผังห้าห้องแห่งแรกๆในศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย ซึ่งจะปรากฏอีกกับจันทิเซวูและจันทิปรัมบะนัน ผัวห้าห้องนี้ทำให้เกิดอาคารในผังกากบาทขึ้นซึ่งคงเกี่ยวข้องกับศิลปะปาละมาก่อน เรือนธาตุหลักยังคงแบ่งออกเป็นสามเก็จ โดยเก็จประธานได้กลายเป็น “อาคารประกบ” ตามระบบ “ปราสาทซ้อนปราสาท” ส่วนเก็จมุมมีเสาติดผนังขนาบซุ้มทรงปราสาทที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในศิชปะชวาภาคกลาง ด้านบนยอดเป็นการซ้อนชั้นตามแบบวิมานอินเดียใต้ อย่างไรก็ตามเรือนธาตุจำลองกลับอยู่ในผังแปดเหลี่ยมซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในระยะก่อนหน้า โดยรอบมี “อาคารจำองยอดสถูปิกะ” ประดับ ซึ่งถือเป็นลักษณะที่โดดเด่นในศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย

จันทิส่าหรี
กลาเตน
สถาปัตยกรรมจันทิส่าหรี

จันทิส่าหรี เป็นจันทิในแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งไม่ปรากฏมาก่อนในศิลปะชวาระยะก่อนหน้า ภายในปรากฏห้องจำนวน 3 ห้องและซ้อนกัน 2 ชั้นโดยเคยมีพื้นชั้นสองเป็นแผ่นไม้มาก่อน อาคารแบบนี้คงจำลองมาจากอาคารแบบพื้นเมืองชวาเอง และอาจเคยใช้ในการประดิษฐานพระพุทธเจ้าในห้องกลางและพระโพธิสัตว์ในห้องข้าง อนึ่ง นอกจากที่นี่แล้ว จันทิในแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้ายังปรากฏอีกที่จันทิเพลาสัน

ภายในจันทิส่าหรี
กลาเตน
สถาปัตยกรรมภายในจันทิส่าหรี

จันทิส่าหรี เป็นจันทิในแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งไม่ปรากฏมาก่อนในศิลปะชวาระยะก่อนหน้า ภายในปรากฏห้องจำนวน 3 ห้องและซ้อนกัน 2 ชั้นโดยเคยมีพื้นชั้นสองเป็นแผ่นไม้มาก่อน อาคารแบบนี้คงจำลองมาจากอาคารแบบพื้นเมืองชวาเอง และอาจเคยใช้ในการประดิษฐานพระพุทธเจ้าในห้องกลางและพระโพธิสัตว์ในห้องข้าง จากภาพ จะเห็นว่าภายในอาคารปรากฏคิ้วหินสำหรับการรองรับพื้นชั้นสองซึ่งสูญหายไปแล้ว ลักษณะเช่นนี้ย่อมแสดงว่าจันทิดังกล่าวเคยมีสองชั้น

จันทิเพลาสัน
กลาเตน
สถาปัตยกรรมจันทิเพลาสัน

จันทิเพลาสัน เป็นจันทิในแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าเช่นเดียวกับจันทิส่าหรี ภายในปรากฏห้องจำนวน 3 ห้องและซ้อนกัน 2 ชั้นโดยเคยมีพื้นชั้นสองเป็นแผ่นไม้มาก่อนเช่นเดียวกับจันทิส่าหรี อาคารแบบนี้คงจำลองมาจากอาคารแบบพื้นเมืองชวาเอง และอาจเคยใช้ในการประดิษฐานพระพุทธเจ้าในห้องกลางและพระโพธิสัตว์ในห้องข้างอนึ่ง ประเด็นที่แตกต่างไปจากจันทิส่าหรีก็คือ ที่นี่มีการสร้างจันทิประธานในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าถึงสองหลัง นอกจากนี้ยังปรากฏจันทิบริวารขนาดเล็กล้อมรอบ ซึ่งทำให้แผนผังของจันทิกลายเป็นมณฑลคล้ายจันทิเซวู

จันทิเซวู
กลาเตน
สถาปัตยกรรมจันทิเซวู

จันทิหลังประธานของจันทิเซวูมีแผนผังกากบาทเช่นเดียวกับจันทิกะลาสันและจันทิปรัมบะนัน กล่าวคือ มีห้องครรภคฤหะตรงกลางและล้อมรอบไปด้วยมุขสี่ทิศ รวมกันเป็นห้าห้อง ซึ่งคงเป็นอิทธิพลจากผังกากบาทของปหรรปุระในศิลปะปาละตอนต้น แผนผังแบบนี้เข้ามาและได้รับความนิยมเฉพาะศิลปะชวาภาคกลางตอนปลายจันทิในผังห้าห้องนี้คงสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระธยานิพุทธเจ้าตามทิศ อนึ่ง มีรายงานว่าได้ค้นพบขมวดพระเกศาขนาดใหญ่ซึ่งอาจเคยเป็นของพระพุทธรูปที่ประดิษฐานในจันทิเซวูก็ได้ ด้านบนยอดปรากฏสถูปขนาดใหญ่ล้อมรอบด้วยสถูปขนาดเล็ก ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของอาคารในศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย

เรือนธาตุของอาคารประธาน: จันทิเซวู
กลาเตน
สถาปัตยกรรมเรือนธาตุของอาคารประธาน: จันทิเซวู

จันทิหลังประธานของจันทิเซวูมีแผนผังกากบาทเช่นเดียวกับจันทิกะลาสันและจันทิปรัมบะนัน กล่าวคือ มีห้องครรภคฤหะตรงกลางและล้อมรอบไปด้วยมุขสี่ทิศ รวมกันเป็นห้าห้อง ซึ่งคงเป็นอิทธิพลจากผังกากบาทของปหรรปุระในศิลปะปาละตอนต้น เรือนธาตุของจันทิประธาน ประกอบด้วยเก็จจำนวนสามเก็จ คือเก็จประธานและเก็จมุม เก็จประธานเป็นซุ้มกาล-มกรขนาดใหญ่ โดยมีหน้ากาลอยู่ด้านบนและมีมกรหันออกอยู่ด้านล่าง ทั้งหมดเป็นกรอบครอบซุ้มประตูรูปกูฑุ ส่วนเก็จมุมขนาบปรากฏ “ซุ้มจระนำและเสา” ซึ่งเป็นระเบียบเดียวกับซุ้มพระโพธิสัตว์ที่เก็จมุมของจันทิเมนดุต จันทิปะวนและจันทิกะลาสัน อย่างไรก็ตาม ซุ้มจระนำที่นี่กลับบรรจุแถบลวดลายพวงอุบะจนเต็ม

จันทิหลังบริวาร: จันทิเซวู
กลาเตน
สถาปัตยกรรมจันทิหลังบริวาร: จันทิเซวู

แผนผังรวมของจันทิเซวูประกอบด้วยจันทิประธานตรงกลางซึ่งล้อมรอบด้วยจันทิบริวารจำนวนมาก แผนผังจันทิเซวูอยู่จึงในระบบ “มณฑล” หรือการจำลองจักรวาลที่เต็มไปด้วยที่ประทับของพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์และเทพเจ้าในตำแหน่งต่างๆ อนึ่ง ชื่อจันทิเซวู ซึ่งแปลว่าจันทิพันหลัง ซึ่งคงได้มาจากจันทิบริวารจำนวนมากนั่นเอง แม้ว่าแท้จริงแล้วจะมีเพียง 240 หลังก็ตามจันทิบริวารเหล่านี้ คงมีต้นเค้ามาจากห้องกุฏิจำนวนมากที่วงเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่ล้อมรอบอาคารประธานที่ปหรรปุระในศิลปะปาละ แต่จันทิเซวูกลับออกแบบให้จันทิแต่ละหลังตั้งอยู่แยกออกจากกันเป็นอิสระ ยอดของจันทิบริวารเหล่านี้ประกอบด้วยอาคารจำลองยอดสถูปิกะ ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวยกเก็จเพื่อรองรับสถูปยอดที่มีสถูปิกะบริวารประดับอยู่สี่หรือแปดทิศ อนึ่ง ความซับซ้อนเช่นนี้ถือว่าเป็นลักษณะเฉพาะในศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย