ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จันทิเซวู
คำสำคัญ : จันทิ, จันทิกะลาสัน, จันทิเซวู, จันทิปรัมบะนัน
ชื่อหลัก | จันทิเซวู |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ที่อยู่ | - |
จังหวัด/เมือง | กลาเตน |
รัฐ/แขวง | ชวา ภาคกลาง |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : -7.7439272 Long : 110.4928503 |
ประวัติการสร้าง | ในสมัยชวาภาคกลางตอนปลาย ราชวงศ์ไศเลนทร์ยังคงอุปถัมภ์ในการสร้างจันทิทางพุทธศาสนาอีกจำนวนมาก โดยส่วนมากจันทิในระยะนี้กระจุกตัวกันอยู่ที่เมือง Klaten ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมือง Yogyakarta กับเมือง Solo ในปัจจุบัน |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | จันทิหลังประธานของจันทิเซวูมีแผนผังกากบาทเช่นเดียวกับจันทิกะลาสันและจันทิปรัมบะนัน กล่าวคือ มีห้องครรภคฤหะตรงกลางและล้อมรอบไปด้วยมุขสี่ทิศ รวมกันเป็นห้าห้อง ซึ่งคงเป็นอิทธิพลจากผังกากบาทของปหรรปุระในศิลปะปาละตอนต้น แผนผังแบบนี้เข้ามาและได้รับความนิยมเฉพาะศิลปะชวาภาคกลางตอนปลายจันทิในผังห้าห้องนี้คงสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระธยานิพุทธเจ้าตามทิศ อนึ่ง มีรายงานว่าได้ค้นพบขมวดพระเกศาขนาดใหญ่ซึ่งอาจเคยเป็นของพระพุทธรูปที่ประดิษฐานในจันทิเซวูก็ได้ ด้านบนยอดปรากฏสถูปขนาดใหญ่ล้อมรอบด้วยสถูปขนาดเล็ก ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของอาคารในศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ชวาภาคกลางตอนปลาย |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 15 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | มหายาน |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-02-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |