ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

เรือนธาตุของอาคารประธาน: จันทิเซวู

คำสำคัญ : จันทิ, จันทิกะลาสัน, จันทิเซวู, จันทิปรัมบะนัน

ชื่อหลักจันทิเซวู
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ที่อยู่-
จังหวัด/เมืองกลาเตน
รัฐ/แขวงชวา ภาคกลาง
ประเทศอินโดนีเซีย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : -7.743889
Long : 110.492778

ประวัติการสร้างในสมัยชวาภาคกลางตอนปลาย ราชวงศ์ไศเลนทร์ยังคงอุปถัมภ์ในการสร้างจันทิทางพุทธศาสนาอีกจำนวนมาก โดยส่วนมากจันทิในระยะนี้กระจุกตัวกันอยู่ที่เมือง Klaten ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมือง Yogyakarta กับเมือง Solo ในปัจจุบัน
ลักษณะทางศิลปกรรมจันทิหลังประธานของจันทิเซวูมีแผนผังกากบาทเช่นเดียวกับจันทิกะลาสันและจันทิปรัมบะนัน กล่าวคือ มีห้องครรภคฤหะตรงกลางและล้อมรอบไปด้วยมุขสี่ทิศ รวมกันเป็นห้าห้อง ซึ่งคงเป็นอิทธิพลจากผังกากบาทของปหรรปุระในศิลปะปาละตอนต้น เรือนธาตุของจันทิประธาน ประกอบด้วยเก็จจำนวนสามเก็จ คือเก็จประธานและเก็จมุม เก็จประธานเป็นซุ้มกาล-มกรขนาดใหญ่ โดยมีหน้ากาลอยู่ด้านบนและมีมกรหันออกอยู่ด้านล่าง ทั้งหมดเป็นกรอบครอบซุ้มประตูรูปกูฑุ ส่วนเก็จมุมขนาบปรากฏ “ซุ้มจระนำและเสา” ซึ่งเป็นระเบียบเดียวกับซุ้มพระโพธิสัตว์ที่เก็จมุมของจันทิเมนดุต จันทิปะวนและจันทิกะลาสัน อย่างไรก็ตาม ซุ้มจระนำที่นี่กลับบรรจุแถบลวดลายพวงอุบะจนเต็ม
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย
อายุพุทธศตวรรษที่ 15
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายมหายาน

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-02-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี