ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่องตอนกามเทพแผลงศร
หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องเป็นรูปกามเทพแผลงศรใส่พระศิวะ
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่องมหาภารตะ
หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องมหาภารตะ
ประติมากรรมทับหลัง
ทับหลัง เป็นชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมที่พบในศิลปะเขมร โดยจะติดตั้งอยู่บนกรอบประตูทางเข้าเสมอทับหลังในพระโคเริ่มปรากฏหน้ากาลตามอทธิพลชวา อย่างไรก็ตาม ลักษณะเด่นของทับหลังชิ้นนี้ก็คือการประดับบริเวณเสี้ยว (เศษ 1 ส่วน 4) ของท่อนพวงมาลัยด้วยรูป “ใบหน้าสัตว์ขบท่อนพวงมาลัย” ซึ่งต่อไปจะเป็นต้นแบบของเสี้ยวพวงอุบะในศิลปะบันทายสรีและบาปวน
ประติมากรรมทับหลังสลักภาพอุมามเหศวร
ทับหลังในศิลปะบาปวน มีการทำท่อนพวงมาลัยที่สืบต่อมาจากสมัยก่อนหน้า ส่วนกลางท่อนพวงมาลัยกดลงไปอยู่ด้านล่าง ปรากฏหน้ากาลที่มีมือจับท่อนพวงมาลัยที่ ปลายทั้งสองข้างของท่อนพวงมาลัยม้วนออก เหนือท่อนพวงมาลัยเป็นลายใบไม้ตั้งขึ้น ด้านล่างท่อนพวงมาลัยเป็นใบไม้ตกลง ระหว่างช่องใบไม้ตกลงเป็นรูปใบไม้สามเหลี่ยม เหนือหน้ากาลปรากฏการทำประติมากรรมอุมามเหศวร
ประติมากรรมหน้าบันสลักภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ตอน โมกขศักดิ์
หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ตอน โมกขศักดิ์
ประติมากรรมทับหลังสลักภาพเล่าเรื่องนารายณ์บรรทมสินธุ์
ทับหลังในศิลปะนครวัด สืบรูปแบบมาจากศิลปะแบบบาปวน คือ ท่อนพวงมาลัยบริเวณกลางทับหลังจะอ่อนโค้งมาด้านล่าง รวมถึงมีการแบ่งเสี้ยวที่ท่อนพวงมาลัย แต่ที่แตกต่างออกไปคือการแทรกภาพเล่าเรื่องลงไปในทับหลัง
ประติมากรรมภาพสลักเล่าเรื่องมหาภารตะ ฉาก ภีษมะถูกศรอรชุน
ภาพสลักที่ผนังระเบียงคดชั้นที่ 2 ที่ปราสาทนครวัด จะมีการสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องต่างๆ ไล่เรียงกันไป ที่ผนังทุกด้าน โดยทางทิศตะวันตกสลักเป็นภาพเล่าเรื่องมหาภารตะลักษณะของเครื่องแต่งกายบุคคลที่ปรากฏในภาพสลัก ดูจากบุคคลขนาดใหญ่ที่อยู่กลางภาพ นอนอยู่บนเตียงลูกศร ทรงกระบังหน้ายอดทรงกรวย ทรงกรองศอประดับพู่ห้อย พาหุรัด สังวาลไขว้กันเป็นรูปกากบาท ทรงผ้านุ่งสั้น มีชายผ้าสามเหลี่ยมชักออกมาด้านข้าง ซึ่งจากลักษณะดังกล่าวเป็นรูปแบบที่นิยมในศิลปะนครวัด
ประติมากรรมนางอัปสร
ศิลปกรรม นางอัปสรที่สลักอยู่บนผนัง มีพระพักตร์สี่เหลี่ยม ทรงกระบังหน้า ด้านบนมีศิราภรณ์ประดับด้วยช่อดอกไม้ 3 แถว กุณฑลเป็นพู่ห้อยขนาดใหญ่ พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นถือดอกไม้ ทรงผ้านุ่งยาว มีชายผ้าผาดข้อพระกรขวาเป็นชายผ้ารูปสามเหลี่ยมทับซ้อนกัน ส่วนทางด้านซ้ายมีชายผ้ารูปสามเหลี่ยมชักออกมายาวจรดพื้น ทรงเข็มขัดเป็นแผงขนาดใหญ่ประดับพู่ห้อยโดยรอบ