ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมม้าพลาหะ
ม้าพลาหะ เป็นประติมากรรมรูปม้าขนาดใหญ่ หันหน้าเข้าสู่ตัวปราสาทประธาน ที่ประติมากรรมม้าพลาหะ ปรากฏการสลักประติมากรรมบุคคลโดยรอบ
ประติมากรรมพระอวโลกิเตศวร
ประติมากรรมพระอวโลกิเตศวร พระเศียรหักหายไป เปลือยกายท่อนบน พระวรกายหนา สวมเครื่องทรง ได้แก่ กรองศอเป็นลักษณะเป็นสร้อยคอแผงมีอุบะพู่ห้อยโดยรอบ นุ่งผ้านุ่งสั้นเหมือนผ้านุ่งชั้นในอัตพลีต มีชายผ้าหางปลาตกลงมาตรงกลางชายเดียว เป็นรูปแบบของศิลปะบายน รายล้อมไปด้วยเหล่าเทวดาและพระโพธิสัตว์
ประติมากรรมท่อน้ำ สลักรูปเศียรมนุษย์
ประติมากรรมรูปเศียรมนุษย์นั้น ปรากฏอยู่ซุ้มทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทนาคพัน เป็นรูปเศียรบุคคล สวมกระบังหน้ายอดมงกุฏทรงกรวย อยู่ในท่าอ้าพระโอษฐ์ซึ่งเป็นส่วนของท่อน้ำ
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพพุทธประวัติตอนทรมานช้างนาราคีรี
หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนทรมานช้างนาราคีรี
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่อง พระศิวะลองใจพระอุมา
หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่อง พระศิวะลองใจพระอุมา
ประติมากรรมอวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี
พระอวโลกิเตศวรทำผมทรงชฏามกุฏ สัญลักษณ์ของนักบวช ทรงมีพระอมิตาภะอยู่ที่ชฎามกุฏ พระพักตร์แบบบายน โดยหลับพระเนตรและยิ้มที่มุมพระโอษฐ์เล็กน้อย พระวรกายมีการสลักพระพุทธเจ้าทั่วทั้งวรกาย นุ่งผ้านุ่งสั้นเหมือนผ้านุ่งชั้นใน สันนิษฐานว่าอาจเคยมีการถวายผ้าทรงและเครื่องประดับจริง
สถาปัตยกรรมปราสาทนครวัด
ปราสาทล้อมรอบไปด้วยคูน้ำซึงกว้างด้านละ 1 กิโลเมตร ด้านหน้าปรากฏทางเดินยาวนำเข้าสู่ปราสาทซึ่งตั้งอยู่บนฐานสามชั้น แต่ละชั้นมีระเบียงคดล้อมรอบ มีโคปุระที่ด้านทุกด้านและมีปราสาทที่มุมทุกมุม ด้านบนสุดประดิษฐานปราสาทประธานจำนวนห้าหลัง ปราสาทนครวัดถือเป็นปราสาทที่นำความสำเร็จของปราสาทตาแก้วมาผสมกับความสำเร็จของปราสาทบาปวน ด้วนเหตุนี้ ปราสาทแห่งนี้จึงมีปราสาทประธานห้าหลังอยู่บนยอดเช่นเดียวกับปราสาทตาแก้ว และสามารถนำระเบียงคดขึ้นไปไว้ด้านบนฐานเป็นชั้นแต่ละชั้นได้
ประติมากรรมปราสาทประธาน: ปราสาทนครวัด
ปราสาทประธานของปราสาทนครวัด มีลักษณะตามแบบพุทธศตวรรษที่ 17 กล่าวคือ สร้างด้วยหินทั้งหลังมีประตูทางออกสี่ทิศและมีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ทิศ ซึ่งในที่นี่ต่อเชื่อกับระเบียงรูปกากบาท เรือนธาตุอยู่ในผังเพิ่มมุม ด้านบนเป็นยอดวิมานที่ประดับไปด้วยกลีบขนุนทำให้ปราสาทมียอดเป็นทรงพุ่ม อนึ่ง ปราสาทซึ่งใช้กลีบขนุนประดับยอดนี้ปรากฏในปราสาทอื่นๆในระยะร่วมสมัยด้วย เช่น ปราสาทบันทายสำเหร่และปราสาทพิมาย