ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมพระอวโลกิเตศวร
ประติมากรรมพระอวโลกิเตศวร พระเศียรหักหายไป เปลือยกายท่อนบน พระวรกายหนา สวมเครื่องทรง ได้แก่ กรองศอเป็นลักษณะเป็นสร้อยคอแผงมีอุบะพู่ห้อยโดยรอบ นุ่งผ้านุ่งสั้นเหมือนผ้านุ่งชั้นในอัตพลีต มีชายผ้าหางปลาตกลงมาตรงกลางชายเดียว เป็นรูปแบบของศิลปะบายน รายล้อมไปด้วยเหล่าเทวดาและพระโพธิสัตว์
ประติมากรรมท่อน้ำ สลักรูปเศียรมนุษย์
ประติมากรรมรูปเศียรมนุษย์นั้น ปรากฏอยู่ซุ้มทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทนาคพัน เป็นรูปเศียรบุคคล สวมกระบังหน้ายอดมงกุฏทรงกรวย อยู่ในท่าอ้าพระโอษฐ์ซึ่งเป็นส่วนของท่อน้ำ
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพพุทธประวัติตอนทรมานช้างนาราคีรี
หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนทรมานช้างนาราคีรี
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่อง พระศิวะลองใจพระอุมา
หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่อง พระศิวะลองใจพระอุมา
ประติมากรรมอวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี
พระอวโลกิเตศวรทำผมทรงชฏามกุฏ สัญลักษณ์ของนักบวช ทรงมีพระอมิตาภะอยู่ที่ชฎามกุฏ พระพักตร์แบบบายน โดยหลับพระเนตรและยิ้มที่มุมพระโอษฐ์เล็กน้อย พระวรกายมีการสลักพระพุทธเจ้าทั่วทั้งวรกาย นุ่งผ้านุ่งสั้นเหมือนผ้านุ่งชั้นใน สันนิษฐานว่าอาจเคยมีการถวายผ้าทรงและเครื่องประดับจริง
ประติมากรรมบานประตูของสิมวัดองค์ตื้อ
ในรัชกาลสมเด็จเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ได้เกิดสกุลช่างไม้สลักขึ้นในหลวงพระบาง โดยสกุลช่างดังกล่าวนิยมสลักภาพเทวดาทับลงไปบนลายพันธุ์พฤกษาที่เป็นก้านขดอกดอกโบตั๋น ตัวอย่างของภาพสลักในสกุลช่างนี้ยังสามารถเห็นได้อีกที่ประตูของสิมวัดวิชุลเมืองหลวงพระบาง
ประติมากรรมพระบาง
พระบางมีลักษณะเป็นพระพุทธรูปในศิลปะขอมสมัยหลังบายน คือมีเม็ดพระศกเล็กเป็นหนามขนุน ห่มคลุม แสดงปางประทานอภัยสองพระหัตถ์ ด้านหน้าของสบงมีจีบหน้านางอันแสดงให้เห็นความเกี่ยวข้องกับศิลปะเขมร
ประติมากรรมพระเจ้าองค์ตื้อ
พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาโดยทั่วไป คือ มีพระพักตร์รูปไข่และรัศมีเป็นเปลวตามอิทธิพลของสุโขทัยและล้านนา ห่มเฉียงตามแบบที่นิยมในพระนั่ง แสดงปางมารวิชัยซึ่งนิยมกับพระพุทธรูปนั่งเช่นกัน ด้านล่างปรากฏ “กลีบบัวรวน” ซึ่งเป็นความนิยมในศิลปะล้านช้าง ต้องไม่ลืมพระรัชกาลพระเจ้าไชยเชษฐาเป็นรัชกาลที่มีการติดต่อสัมพันธ์กับล้านนาและอยุธยาอย่างมาก ด้วยเหตุนี้พระพุทธรูปองค์นี้จึงสะท้อนอิทธิพลทางศิลปกรรมจากดินแดนดังกล่าวด้วย