ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 385 ถึง 392 จาก 471 รายการ, 59 หน้า
ปุระสะดา
กาปาล
สถาปัตยกรรมปุระสะดา

ปุระสะดา เป็นเทวาลัยประจำราชวงศ์เม็งวีหลังดั้งเดิมก่อนที่พ.ศ. 2283 จะมีการสร้างปุระตะมันอะยุงขึ้นเป็นเทวาลัยประจำราชวงศ์ที่ใหม่ ที่น่าสนใจก็คือปุระสะดาแห่งนี้ปรากฏแท่นบัลลังก์เปล่าจำนวนมากไม่ไกลนักจากปราสาทประธาน บัลลังก์เหล่านี้มีผู้ศึกษาแล้วว่าตรงกับจำนวนของบุคคลที่นั่งไปบนเรือในขณะที่นำพระอัฐิไปโปรยในทะเล อันแสดงให้เห็นว่าปุระแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่กษัตริย์ผู้วายชนม์อย่างชัดเจน

อาคารทรงเมรุที่ปุระเบซาคิห์
การางาเซ็ม
สถาปัตยกรรมอาคารทรงเมรุที่ปุระเบซาคิห์

อาคารทรงเมรุ คืออาคารทรงปราสาทในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซ้อนชั้นด้วยหลังคาลาดมุงฟางจำนวนหลายชั้น อันเป็นสัญลักษณ์ของอาคารที่มีฐานันดรสูง เป็นที่ประทับเทพเจ้าสำคัญซึ่งมักตั้งอยู่ ณ ลานด้านในสุดของปุระ หลังคาลาดมุงฟางนี้ย่อมทำให้อาคารทรงเมรุได้รับการซ่อมแซมอยู่อย่างสม่ำเสมอ แตกต่างไปโคปุระที่สร้างด้วยอิฐหรือหินซึ่งเป็นถาวรวัตถุ

อาคารทรงเมรุที่ปุระเกเห็น
บังลี
สถาปัตยกรรมอาคารทรงเมรุที่ปุระเกเห็น

อาคารทรงเมรุ คืออาคารทรงปราสาทในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซ้อนชั้นด้วยหลังคาลาดมุงฟางจำนวนหลายชั้น อันเป็นสัญลักษณ์ของอาคารที่มีฐานันดรสูง เป็นที่ประทับเทพเจ้าสำคัญซึ่งมักตั้งอยู่ ณ ลานด้านในสุดของปุระ หลังคาลาดมุงฟางนี้ย่อมทำให้อาคารทรงเมรุได้รับการซ่อมแซออยู่อย่างสม่ำเสมอ แตกต่างไปโคปุระที่สร้างด้วยอิฐหรือหินซึ่งเป็นถาวรวัตถุ ที่ปุระเกเห็น อาคารทรงเมรุมีลักษณะพิเศษ คือมีเต่าและนาครองรับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นศูนย์กลางจักรวาลตามจักรวาลวิทยาแบบฮินดู

ถ้ำที่กัวคชะ
เบดูลู
สถาปัตยกรรมถ้ำที่กัวคชะ

ที่กัวคชะปรากฏถ้ำที่ขุดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะอินโดนีเซีย ด้านหน้าถ้ำสลักเป็นรูปหน้ากาลหน้าตาดุร้ายที่มีตาถลนตามแบบศิลปะชวาภาคตะวันออก-บาหลี หน้ากาลนี้คงมีความหมายในการขับไล่สิ่งชั่วร้าย โดยรอบมีภาพสลักเป็นฉากโขดหินธรรมชาติที่มีสัตว์ป่าอยู่เต็ม ภายในถ้ำดังกล่าวเป็นทางแคบๆในผังรูปตัวที มีแท่นที่นั่งซึ่งคงเป็นที่อยู่ของนักบวชมากกว่า

น้ำพุที่กัวคชะ
เบดูลู
สถาปัตยกรรมน้ำพุที่กัวคชะ

น้ำพุปรากฏมาแล้วตั้งแต่ศิลปะชวาตะวันออก โดยเริ่มจากความคิดเรื่องน้ำจากภูเขาศักดิ์สิทธิ์ซึ่งย่อมประทานความอุดมสมบูรณ์และการล้างบาปให้แก่ผู้ศรัทธา สำหรับที่กัวคชะนี้เป็นน้ำพุที่ปรากฏคู่กันสองบ่อ ซึ่งอาจใช้ในการแยกผู้อาบน้ำชาย-หญิง (?) แต่ละบ่อปรากฏรูปเทพีถือหม้อน้ำและมีน้ำพุไหลออกมา ซึ่งทั้งหม้อน้ำและเทพีก็ล้วนแต่หมายถึงความอุดมสมบูรณ์

กุหนุงกาวี
เกียญาร์
สถาปัตยกรรมกุหนุงกาวี

จันทิกุหนุงกาวี มีลักษณะเป็นหน้าผาริมแม่น้ำ โดยมีการสลักจันทิติดผนังจำนวน 9 หลัง ถือเป็นตัวอย่างจันทิสลักหินติดกับเพิงผาธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในเกาะบาหลี นอกจากนี้ยังถือเป็นตัวอย่างจันทิในศิลปะชวาภาคตะวันออกที่ปรากฏในเกาะบาหลีอีกด้วย เนื่องจากชั้นหลังคาประดับไปด้วยสถูปิกะ/อาคารจำลองซึ่งไม่ปรากฏแล้วในศิลปะบาหลี อนึ่ง ที่ตั้งของกลุ่มจันทิดังกล่าว ย่อมทำให้แม่น้ำที่ไหลผ่านศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย

ธาตุ วัดสีเมือง
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมธาตุ วัดสีเมือง

ธาตุวัดสีเมือง เป็นธาตุที่สร้างด้วยศิลาแลงซึ่งแตกต่างไปจากธาตุที่สร้างด้วยอิฐในระยะร่วมสมัย เท่าที่เหลืออยู่ปรากฏเป็นฐานบัวที่มีบัวคว่ำและท้องไม้ขนาดใหญ่ที่คาดด้วยลูกแก้วอกไก่ ธาตุองค์นี้มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสถาปัตยกรรมขอม อย่างไรก็ตาม ขนาดของศิลาแลงที่เล็กกว่าขอมมากและการใช้ลูกแก้วอกไก่คาดกลางท้องไม้ย่อมแสดงว่าธาตุองค์นี้ไม่ใช่ศิลปะขอมอย่างแน่นอน

ธาตุหลวง
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมธาตุหลวง

เป็นอูบมูงหรือเนินขนาดใหญ่ในผังสี่เหลี่ยม ซึ่งเนินดังกล่าวนี้อาจมีมาก่อน ต่อมามีการสร้างธาตุขึ้นด้านบนอูบมูงดังกล่าว และยังมีการสร้างธาตุขนาดเล็กรายล้อมธาตุองค์องค์ในความหมายที่เกี่ยวข้องกับบารมีของพระพุทธเจ้ารวมถึงความเกี่ยวข้องกับสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อนึ่ง เจดีย์องค์นี้มีอีกชื่อหนึ่งว่าเจดีย์โลกจุฬามณี ซึ่งหมายถึงเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้าในคราวออกผนวช การตั้งชื่อเจดีย์เช่นนี้ย่อมสื่อว่าเวียงจันทน์อาจเปรียบได้ดั่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และกษัตริย์เองก็เทียบได้ว่าทรงเป็นพระอินทร์