ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จันทิกิดาล
คำสำคัญ : จันทิ, จันทิกิดาล, ราชวงศ์สิงหาส่าหรี
ชื่อหลัก | จันทิกิดาล |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ที่อยู่ | - |
จังหวัด/เมือง | กิดาล |
รัฐ/แขวง | ชวา ตะวันออก |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : -8.0257778 Long : 112.7090876 |
ประวัติการสร้าง | จันทิกิดาล เป็นสถานที่ฝังพระอัฐิของพระเจ้าอนุษบดีแห่งราชวงศ์สิงหาส่าหรี พระเจ้าอนุษบดีสวรรคตใน พ.ศ.1791 เนื่องจากการสวรรคตกับพิธีศราทธ์ที่อุทิศเทวาลัยน้ำต้องห่างกัน 12 ปีเสมอ เทวาลัยหลังนี้จึงควรสร้างเสร็จใน พ.ศ. 1803 |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | จันทิแห่งนี้ มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ต่อมาจะกลายเป็นรูปแบบโดยทั่วไปของศิลปะชวาภาคตะวันออก กล่าวคือ เป็นจันทิขนาดเล็กที่มีห้องครรภคฤหะเพียงห้องเดียว ตั้งอยู่บนฐาน 3 ชั้นที่ เหนือประตูกลางปรากฏหน้ากาลที่มีลักษณะดุร้ายตามแบบศิลปะชวาภาคตะวันออก คือ เป็นหน้ากาลที่มีปากล่าง มีเขี้ยวยื่นออกมา มีเขาและมีมือที่ชูนิ้วขึ้นในท่าขู่ เรือนธาตุคาด “เส้นรัดอก” ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะชวาภาคตะวันออก ยอดของจันทิมีลักษณะที่ต่อมาจะปรากฏเสมอๆในศิลปะชวาภาคตะวันออก กล่าวคือ ปรากฏ “ชั้นหน้ากระดาน” สลับอาคารจำลองขนาดเล็กเรียงกันจำนวน 5 หลัง |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ชวาภาคตะวันออก ราชวงศ์สิงหาส่าหรี |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 19 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ลัทธิ/นิกาย | ไศวนิกาย |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | จันทิแห่งนี้มีภาพเล่าเรื่องพญาครุฑขโมยน้ำอมฤตเพื่อมาช่วยพระมารดา น้ำอมฤตเป็นน้ำแห่งความเป็นอมตะ ด้วยเหตุนี้ จึงสัมพันธ์กับคติเทวาราชา คือช่วยให้ผู้ตายได้รับชีวิตอมตะ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-02-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |