ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ปราสาทหนองบัวราย

คำสำคัญ : พระโพธิสัตว์, อโรคยาศาล, พระเจ้าชัยวรมันที่ 7, ปรางค์กู่, ปราสาทหนองบัวราย, ปราสาทตาเมือนโต๊ด, บ้านมีไฟ, กุฏิฤาษีหนองบัวราย

ชื่อเรียกอื่นกุฏิฤาษีหนองบัวราย
ชื่อหลักปราสาทหนองบัวราย
ชื่ออื่นกุฏิฤาษีหนองบัวราย
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ที่อยู่หมู่ 7
ตำบลจรเข้มาก
อำเภอประโคนชัย
จังหวัดบุรีรัมย์
ภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 14.531896
Long : 102.963329
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 48 P
Hemisphere : N
E : 280386.78
N : 1607490.44
ตำแหน่งงานศิลปะตั้งอยู่กึ่งกลางแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก

ประวัติการสร้าง

สันนิษฐานว่าเป็นอโรคยาศาลในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พุทธศตวรรษที่ 18

กระบวนการสร้าง/ผลิต

ก่อด้วยศิลาแลง

ลักษณะทางศิลปกรรม

ประกอบด้วยปราสาทประธานมีทางเข้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ทางเข้านั้นทำเป็นมุขยื่นออกมาและมีการเจาะช่องหน้าต่างทั้ง 2 ด้านๆ ละ 1 ช่อง ยอดปราสาทมี 4 ชั้น มีการเจาะตกแต่งเป็นช่องสี่เหลี่ยม ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีบรรณาลัยตั้งหันหน้าเข้าปราสาทประธาน ด้านหน้าของปราสาทประธานมีทางเดินรูปกากบาททอดยาวมาจนถึงโคปุระ ทั้งหมดนี้ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว

ในบริเวณใกล้เคียงพบชิ้นส่วนหน้าบันรูปพระวรกายพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ประทับยืนตรง ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือนอกแนวกำแพงแก้วมีสระน้ำในผังรูปสี่เหลี่ยม

จากลักษณะของแผนผังและรูปแบบการก่อสร้าง เช่น ตัวปราสาทที่มีมุขยื่นและมีช่องหน้าต่างทั้ง 2 ด้าน จะพบโบราณสถานในรูปแบบเดียวกันได้อีกที่กู่สันตรัตน์ จังหวัดมหาสารคาม หรือปราสาทตาเมือนโต๊ด จังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

เป็นหนึ่งในศาสนสถานประจำอโรคยศาลที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะลพบุรี, บายน
อายุพุทธศตวรรษที่ 18
ลัทธิ/นิกายมหายาน
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธมหายาน
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

ปราสาทปรางค์กู่ ชัยภูมิ

ปราสาทตาเมือนโต๊ด สุรินทร์

กู่สันตรัตน์ มหาสารคาม

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-05-27
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

สิวิกา ประกอบสันติสุข. การศึกษาศิลปะเขมรแบบบายนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2531.

สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว. บรรณาธิการ. ปราสาทหินและทับหลัง. กรุงเทพฯ : โครงสืบสานมรดกและวัฒนธรรมไทย, 2542.