ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปรางค์กู่
คำสำคัญ : ปรางค์, พระโพธิสัตว์, อโรคยาศาล, พระเจ้าชัยวรมันที่ 7, ปรางค์กู่, ปราสาทหนองบัวราย, ปราสาทตาเมือนโต๊ด, ไภษัชยคุรุ
ชื่อเรียกอื่น | บ้านเมืองเก่า |
---|---|
ชื่อหลัก | ปรางค์กู่ |
ชื่ออื่น | บ้านเมืองเก่า |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ที่อยู่ | บ้านหนองบัว |
ตำบล | ในเมือง |
อำเภอ | เมือง |
จังหวัด | ชัยภูมิ |
ภาค | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 15.806508 Long : 102.045176 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 48 P Hemisphere : N E : 183368.98 N : 1749780.68 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ตั้งอยู่กึ่งกลางแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก |
ประวัติการสร้าง | สันนิษฐานว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างปรางค์กู่ขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1728-1763 เพื่ออุทิศแก่พระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุ พระพุทธเจ้าแห่งการแพทย์ พร้อมด้วยพระโพธิสัตว์ 2 พระองค์ เพื่อประทานความไม่มีโรคภัยแก่ประชาชนของพระองค์ |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ศิลาแลง |
ลักษณะทางศิลปกรรม | ปรางค์กู่เป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งที่มีแผนผังและลักษณะเหมือนกับโบราณสถานที่ได้พบหลักฐานว่าเป็นอโรคยาศาล ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ก็คือ มีองค์ประธานอยู่ตรงกลาง 1 องค์ บรรณาลัยด้านหน้า 1 หลัง ล้อมด้วยกำแพงซึ่งมีโคปุระเฉพาะด้านหน้าทั้งหมด ก่อด้วยอิฐศิลาแลงยกเว้นกรอบประตูหน้าต่าง ทับหลัง เสาประดับล้วนเป็นหินทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปรางค์มีสระน้ำ 1 สระ ยังคงสภาพสมบูรณ์ โดยเฉพาะองค์ประธานซึ่งมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5 เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีประตูทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์อีก 3 ด้านเป็นประตูหลอก จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ ซึ่งจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ด้านข้างทางซ้ายและขวาจำหลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร กับรูปนางปรัชญาปารมิตา ด้านหน้ามีทับหลังเช่นกัน สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน แต่ปัจจุบันลบเลือนมาก ที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวาราวดี ขนาดสูง 1.75 เมตร หน้าตักกว้าง 7.5 เมตร ประดิษฐานอยู่ 1 องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | เป็นหนึ่งในศาสนสถานประจำอโรคยศาลที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | บายน |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 18 |
ลัทธิ/นิกาย | มหายาน |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธมหายาน |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-05-27 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | สิวิกา ประกอบสันติสุข. การศึกษาศิลปะเขมรแบบบายนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2531. สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว. บรรณาธิการ. ปราสาทหินและทับหลัง. กรุงเทพฯ : โครงสืบสานมรดกและวัฒนธรรมไทย, 2542. |