ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระเจ้าแข้งคม
คำสำคัญ : พระพุทธรูป, พระพุทธรูปปางมารวิชัย, พระเจ้าแข้งคม, วัดศรีเกิด, พระลวปุระ, พระป่าตาลน้อย, พระเจ้าติโลกราช, พระพุทธรูปแบบอู่ทอง, ชินกาลมาลีปกรณ์
ชื่อเรียกอื่น | พระป่าตาลน้อย, พระลวปุระ |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดศรีเกิด |
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | พระสิงห์ |
อำเภอ | เมือง |
จังหวัด | เชียงใหม่ |
ภาค | ภาคเหนือ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 18.788186 Long : 98.976715 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 Q Hemisphere : N E : 498324.85 N : 2077391.12 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | พระพุทธรูปประธานในพระวิหาร |
ประวัติการสร้าง | ชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวว่า พระเจ้าแข้งคมสร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราชในปีพ.ศ. 2027 โดยพระองค์โปรดเกล้าให้สีหโคตเสนาบดีและอาณากิจจาธิบดีเป็นผู้หล่อขึ้นให้เหมือนพระลวปุระ หล่อที่วัดป่าตาลมหาวิหาร พงศาวดารโยนกให้ข้อมูลคล้ายกัน โดยระบุชื่อพระพุทธรูปว่าพระป่าจาลน้อย สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2020 ในสมัยพระเจ้ากาวิละได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ไปประดิษฐานที่วัดศรีเกิดจนทุกวันนี้ |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | หล่อสำริด |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรเปิดมองตรง พระโอษฐ์หนา ขอบพระโอษฐ์ซ้อนกันสองเส้น มีไรพระศก ขมวดพระเกศาขนาดเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ยาวลงมาจรดพระนาภีปลายเป็นริ้วซ้อนกัน พระหัตถ์ขวาวางที่กึ่งกลางพระชงฆ์ นิ้วพระหัตถ์ยาวไม่เสมอกัน พระอังคุฐแยกห่างจากนิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 แข้งคม |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ตัวอย่างพระพุทธรูปศิลปะล้านนาที่ได้รับอิทธิพลศิลปะอยุธยา |
ข้อสังเกตอื่นๆ | พระเจ้าแข้งคมนี้มีลักษณะเดียวกันกับพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ 2 ในศิลปะอยุธยา ซึ่งการเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระพุทธรูปแบบลวปุระนั้น แสดงถึงการตั้งชื่อพระพุทธรูปโดยอิงกับรูปแบบของศิลปะของพุทธศิลป์ในบ้านเมืองนั้นๆ แสดงว่ากลุ่มช่างผู้สร้างมีความเข้าใจว่ารูปแบบศิลปะใดเป็นของช่างจากที่ใด |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ล้านนา |
อายุ | ต้นพุทธศตวรรษที่ 21 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. พระเจ้าแข้งคม พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ตัวอย่างพระเจ้าแข้งคมที่มีจารึกระบุปีที่สร้างคือ พ.ศ. 2022 ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นและอาจได้รับบันดาลใจจากพระเจ้าแข้งคมที่วัดศรีเกิด 2. พระพุทธรูปปางมารวิชัยแบบอู่ทองรุ่นที่ 2 ระเบียงคดวัดพระเชตุพนฯ ตัวอย่างพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ 2 ขนาดใหญ่ที่มีสภาพสมบูรณ์ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-05-19 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | ชุ่ม ณ บางช้าง. นำชมโบราณวัตถุสถานเมืองเชียงใหม่. พระนคร: กรมศิลปากร, 2516. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. “พระพุทธรูปแบบลวปุระและกัมโพชปฏิมากับโลกทัศน์ของชาวล้านนา” ดำรงวิชาการ. 2, 3 (2546), 109 – 116. รัตนปัญญาเถระ, พระ. ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2552. |