ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จิตรกรรมฝาผนัง หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม
คำสำคัญ : จิตรกรรมฝาผนัง, วัดระฆัง, วัดระฆังโฆสิตาราม, หอไตรวัดระฆัง, รามเกียรติ์, หอไตร
ชื่อหลัก | วัดระฆังโฆสิตาราม |
---|---|
ชื่ออื่น | วัดบางหว้าใหญ่ |
ประเภทงานศิลปะ | จิตรกรรม |
ตำบล | ศิริราช |
อำเภอ | เขตบางกอกน้อย |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.752396 Long : 100.485216 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 660575.93 N : 1520837.51 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ภายในหอพระไตรปิฎก |
ประวัติการสร้าง | หอไตรวัดระฆังโฆสิตารามเป็นที่ประทับเดิมของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชตั้งแต่ยังทรงรับราชการในตำแหน่งพระราชวรินทร์ในสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งได้ทรงตั้งพระราชปณิธานที่จะอุทิศตำหนักถวายเป็นศาสนสมบัติ จึงโปรดให้รื้อตำหนักเดิมมาปลูกไว้ที่หลังพระอุโบสถ วัดบางหว้าใหญ่ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2331 หลังจากเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจในการสังคายนาพระไตรปิฎก จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้รื้อตำหนักจากหลังพระอุโบสถมาสร้างเป็นหอพระไตรปิฎกในสระที่ขุดขึ้นใหม่ โดยปลูกเป็นเรือนไม้แฝด 3 หลัง ประกอบด้วย หอกลาง หอนั่งซึ่งอยู่ทางซ้าย และหอนอนซึ่งอยู่ทางขวา งานจิตรกรรมฝาผนังคงเขียนขึ้นภายหลังจากที่ปลูกเรือนเสร็จ |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ภาพเขียนสีฝุ่น |
ประวัติการอนุรักษ์ | พ.ศ.2524 อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เป็นผู้ควบคุมงานบูรณปฏิสังขรณ์และอนุรักษ์ภาพจิตรกรรม |
ลักษณะทางศิลปกรรม | จิตรกรรมฝาผนังมีรูปแบบอย่างจิตรกรรมไทยประเพณีที่สืบเนื่องมาจากสมัยอยุธยา เขียนด้วยสีฝุ่นบนผนังพื้นไม้ มีลักษณะสำคัญ เช่น ใช้เส้นสินเทาคั่นฉาก โดยใช้สีแดงเป็นพื้นหลัง เพื่อขับเน้นให้ภาพบุคคลและวัตถุอื่นซึ่งมีสีอ่อนกว่าโดดเด่นขึ้น การเขียนภาพเป็นแบบระบายสีและตัดเส้น ภาพบุคลสำคัญใช้สีอ่อน ส่วนภาพบุคคลชั้นรองใช้สีเข้มกว่า |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ภายในหอไตรวัดระฆังโฆสิตารามมีภาพจิตรกรรมฝาผนังโดยตลอดเกือบทุกแห่ง ที่สำคัญได้แก่ หอกลางเขียนภาพเรื่องรามเกียรติ์ตอนศึกกุมภกรรณไว้ที่ผนังด้านประตูทางเข้า ผนังฝั่งตรงข้ามเขียนตอนศึกอินทรชิต สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงกล่าวว่าเป็นฝีมือของพระอาจารย์นาค ซึ่งเป็นช่างพระที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ 1 หอนั่งเขียนภาพเทพชุมนุม หอนอนที่ผนังด้านซ้ายเขียนภาพไตรภูมิโลกสัณฐาน ส่วนผนังด้านขวาเขียนภาพมฆมานพหรือตำนานพระอินทร์ หลังบานประตูเขียนภาพภิกษุปลงอสุภกรรมฐาน จิตรกรรมฝาผนังทั้งหมด แม้จะเป็นเรื่องราวที่เป็นนิทานปรัมปราคติและมีเรื่องรามเกียรติ์ซึ่งเป็นวรรณคดีที่เกี่ยวข้องกับคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ แต่ก็เป็นเนื้อหาที่ให้ข้อคิดในทางธรรมะ จึงอาจเป็นเหตุผลที่เลือกเขียนภาพเหล่านี้ไว้ภายในหอไตร อนึ่ง เรื่องรามเกียรติ์ยังเป็นวรรณคดีที่มีบทบาททางศิลปกรรมในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อาจเป็นผลมาจากวรรณคดีเรื่องนี้มีแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ จิตรกรรมฝาผนังภายในหอไตรจึงนับเป็นตัวอย่างที่สำคัญของงานช่างจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 1 ที่หาชมได้ยาก |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 24 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
ตำนานที่เกี่ยวข้อง | ไตรภูมิโลกสัณฐาน, ตำนานพระอินทร์, รามเกียรติ์ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-06-01 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |