ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 3 จาก 3 รายการ, 1 หน้า
จิตรกรรมฝาผนัง หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม
กรุงเทพมหานคร
จิตรกรรมจิตรกรรมฝาผนัง หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม

จิตรกรรมฝาผนังมีรูปแบบอย่างจิตรกรรมไทยประเพณีที่สืบเนื่องมาจากสมัยอยุธยา เขียนด้วยสีฝุ่นบนผนังพื้นไม้ มีลักษณะสำคัญ เช่น ใช้เส้นสินเทาคั่นฉาก โดยใช้สีแดงเป็นพื้นหลัง เพื่อขับเน้นให้ภาพบุคคลและวัตถุอื่นซึ่งมีสีอ่อนกว่าโดดเด่นขึ้น การเขียนภาพเป็นแบบระบายสีและตัดเส้น ภาพบุคลสำคัญใช้สีอ่อน ส่วนภาพบุคคลชั้นรองใช้สีเข้มกว่า

หอไตร วัดระฆังโฆสิตาราม
กรุงเทพมหานคร
สถาปัตยกรรมหอไตร วัดระฆังโฆสิตาราม

หอไตรวัดระฆังโฆสิตารามเป็นเรือนแฝด 3 หลัง อย่างเรือนไทยโบราณเครื่องสับฝาปะกน ฝาเรือนภายในเรียบเสมอกันเหมาะแก่การเขียนจิตรกรรมฝาผนัง ตัวเรือนยกพื้น มีใต้ถุนสูง ประตูเรือนเป็นไม้แกะสลักรูปนกวายุภักษ์จับลายกระหนก พื้นปูไม้กระดานขนาดใหญ่ ช่องหน้าต่างเขียนลายรดน้ำ หย่องหน้าต่างเป็นลูกมะหวดกลึง หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ปั้นลมโบกปูนหุ้มไว้ ไม่ประดับเครื่องลำยอง มีชานชาลายื่นออกมาที่ด้านหน้าเรือนต่อกับบันไดทางขึ้น ชานชาลามีซุ้มประตูและบานประตูไม้แกะสลักเป็นลายกระหนกและนาคพัน ปิดทองประดับกระจก คันทวยรับชายคาสลักเป็นรูปนาคปิดทองประดับกระจก เช่นเดียวกับกรอบหน้าต่างและลูกกรงหน้าต่าง

หอไตร วัดสีสะเกด
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมหอไตร วัดสีสะเกด

หอไตรวัดสีสะเกด เป็นหอไตรที่มีหลังคาทรงมณฑป (หลังคาลาดซ้อนชั้นประดับหน้าบันขนาดเล็ก) คล้ายคลึงอย่างมากกับหอไตรที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพ อย่างไรก็ตาม การซ้อนชั้นของหลังคาที่ชั้นเชิงตามแบบล้านช้างและกระเบื้องที่ไม่เคลือบสีล้วนแต่เป็นเอกลักษณ์ตามแบบล้านช้างเอง ภายในเป็นที่ตั้งของตู้พระไตรปิฎกขนาดใหญ่ลงรักปิดทอง