ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมปราสาทบายน
ปราสาทบายน สร้างขึ้นเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นหลังสุดท้ายเพื่ออุทิศให้กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เองในฐานะอวตารของพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายาน พระองค์ทรงสร้างปราสาทที่ประกอบด้วยพระพักตร์จำนวนมากซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะเป็นพระพักตร์ของทิพยบุคคลองค์ใด บางท่านเห็นว่าอาจเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง ปราสาทมียอดจำนวนมากซึ่งทำให้ปราสาทดูซับซ้อนและลึกลับกว่าปราสาทนครวัดมาก นักวิชาการบางท่านเห็นว่าปราสาทบายนเสื่อมลงจากปราสาทนครวัดมาก เนื่องจากแผนผังไม่สมมาตร ปราสาทหลังกลางอยูในผังวงกลม มีห้องต่างๆจำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นการวางผังปราสาทในรูปของ “มณฑล” ทางพุทธศาสนามหายาน
สถาปัตยกรรมปราสาทประธาน : ปราสาทบายน
ปราสาทบายน สร้างขึ้นเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นหลังสุดท้ายเพื่ออุทิศให้กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เองในฐานะอวตารของพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายาน พระองค์ทรงสร้างปราสาทที่ประกอบด้วยพระพักตร์จำนวนมากซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะเป็นพระพักตร์ของทิพยบุคคลองค์ใด บางท่านเห็นว่าอาจเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง ปราสาทมียอดจำนวนมากซึ่งทำให้ปราสาทดูซับซ้อนและลึกลับกว่าปราสาทนครวัดมาก นักวิชาการบางท่านเห็นว่าปราสาทบายนเสื่อมลงจากปราสาทนครวัดมาก เนื่องจากแผนผังไม่สมมาตรปราสาทหลังกลางอยูในผังวงกลม มีห้องต่างๆจำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นการวางผังปราสาทในรูปของ “มณฑล” ทางพุทธศาสนามหายาน
สถาปัตยกรรมพระพักตร์บนยอดของปราสาทบายน
ปราสาทบายน สร้างขึ้นเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นหลังสุดท้ายเพื่ออุทิศให้กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เองในฐานะอวตารของพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายาน พระองค์ทรงสร้างปราสาทที่ประกอบด้วยพระพักตร์จำนวนมากซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะเป็นพระพักตร์ของทิพยบุคคลองค์ใด บางท่านเห็นว่าอาจเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง อย่างไรก็ตม บางท่านเห็นว่าพระพักตร์ดังกล่าวอาจหมายถึงพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรอันเป็นพระโพธิสัตว์แหงความกรุณาในพุทธศาสนามหายาน บาท่านเห็นว่าอาจเป็นสนัตกุมารพรหมอันเป็นพระพรหมในพุทธศาสนามหายานก็ได้ น่าสังเกตว่าพระพักตร์เหล่านี้ล้วนแต่มีการแสดงอารมณ์แบบเดียวกัน คือ ค่อนข้างลึกลับ ตาปิด ยิ้มมุมปากซึ่งเรียกกันโดยเฉพาะว่า “ยิ้มแบบบายน”
สถาปัตยกรรมปราสาทนาคพัน
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงขุดบารายชยตฑาคะขึ้นที่ด้านหน้าเมืองราชัยศรี (ปราสาทพระขรรค์) กลางสระนั้นโปรดให้สร้างปราสาทนาคพันขึ้นเพื่อตามคติสระอโนดาต อันเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนา
สถาปัตยกรรมประตูเมืองนครธมทางด้านทิศใต้
ประตูเมืองพระนครหลวง ประกอบไปด้วยสองส่วน คือประตูเมืองซึ่งออกแบบเป็นพระพักตร์ของบุคคลจำนวน 4 พักตร์ และราวสะพานด้านหน้าข้ามคูเมืองซึ่งมีราวสะพานเป็นรูปการกวนเกษียรสมุทร ซุ้มประตูซึ่งมีพระพักตร์ทั้งสี่นี้บางท่านสันนิษฐานว่าอาจหมายถึง “จตุโลกบาลทั้งสี่” ผู้ดูแลทั้งสี่ทิศของจักรวาลก็ได้ ราวบันไดรูปการกวนเกษียรสมุทรนั้น ย่อมแสดงให้เห็นคติที่ว่าบุคคลผ้อยู่ในเมืองดังกล่าวได้รับการปะพรมน้ำอมฤตเสมอและเป็นผู้เป็นอมตะประหนึ่งเทดวา
สถาปัตยกรรมประตูเมืองนครธมทางด้านทิศใต้
ประตูเมืองพระนครหลวง ประกอบไปด้วยสองส่วน คือประตูเมืองซึ่งออกแบบเป็นพระพักตร์ของบุคคลจำนวน 4 พักตร์ และราวสะพานด้านหน้าข้ามคูเมืองซึ่งมีราวสะพานเป็นรูปการกวนเกษียรสมุทร ซุ้มประตูซึ่งมีพระพักตร์ทั้งสี่นี้บางท่านสันนิษฐานว่าอาจหมายถึง “จตุโลกบาลทั้งสี่” ผู้ดูแลทั้งสี่ทิศของจักรวาลก็ได้ ราวบันไดรูปการกวนเกษียรสมุทรนั้น ย่อมแสดงให้เห็นคติที่ว่าบุคคลผ้อยู่ในเมืองดังกล่าวได้รับการปะพรมน้ำอมฤตเสมอและเป็นผู้เป็นอมตะประหนึ่งเทวดา
สถาปัตยกรรมปราสาทบันทายกุฎี
ปราสาทบันทายกุฎี เป็นปราสาทในศิลปะบายน สร้างขึ้นโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นอาคารที่ประกอบไปด้วยยอดปราสาทจำนวนมาก เชื่อต่อกันด้วยระเบียงกากบาท ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของปราสาทในสมัยนี้ ปราสาทอยู่ในผังคล้ายตารางซึ่งแสดงให้เห็นว่าปราสาทถูกออแบบตาม “คติมณฑล” ในพุทธศาสนามหายาน
สถาปัตยกรรมบารายด้านหน้าปราสาทบันทายกุฎี
ท่าน้ำขั้นบันไดด้านหน้าปราสาทบันทายกุฎี สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพื่อให้สระสรงกลายเป็นสระน้ำประจำปราสาทบันทายกุฎี ท่าน้ำแห่งนี้มีลักษระเป็นกากบาทตามแบบที่นิยมมาตั้งแต่ศิลปะสมัยนครวัด อย่างไรก็ตามครุฑยุดนาคที่ประดับตามราวบันไดนั้นถือเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะบายนอย่างแท้จริง