ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 7 จาก 7 รายการ, 1 หน้า
พระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง
โฮจิมินห์
ประติมากรรมพระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง

พระพุทธรูปมีลักษณะตามอย่างศิลปะอมราวดีหรือลังกา กล่าวคือมีอุษณีษะต่ำ พระเกศาขมวดก้นหอย ห่มจีวรเฉียง จีวรเป็นริ้วทั้งองค์ มีขอบจีวรหนายกขึ้นมาพาดพระกรซ้ายเป็นรูปสามเหลี่ยม พระพุทธรูปยกพระหัตถ์ขวาแสดงวิตรรกมุทราและยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นมาจับชายจีวรขนานกันกับพระหัตถ์ขวา รูปแบบทั้งหมดนี้แสดงว่าพระพุทธรูปองค์นี้อาจะเป็นของนำเข้ามาจากอินเดียใต้หรือลังกา

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสี่กร
โฮจิมินห์
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสี่กร

พระโพธิสัตว์องค์นี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะชวาที่เข้ามาอย่างมากในระยะนี้ กล่าวคือทรงกระบังหน้าประดับตาบสามเหลี่ยมสามจุดตามแบบศิลปะปาละ-ชวา นุ่งผ้าโธตียาวที่มีผ้าคาดวงโค้งกว้างตามแบบศิลปะอินเดียใต้-ชวาภาคกลาง อยย่างไรก็ตาม พระพักตร์ของประติมากรรมองค์นี้เริ่มมีพระโอษฐ์หนาและพระเนตรโปนตามแบบพื้นเมืองแล้วยัชโญปวีตในระยะนี้ก็หายไปซึ่งแตกต่างไปจากศิลปะชวา

ซุ้มกาลมกร
โฮจิมินห์
ประติมากรรมซุ้มกาลมกร

เนื่องด้วยอิทธิพลแบบอินเดียชวาได้เข้ามามีบทบาทอีกครั้งหนึ่งในศิลปะมิเซิน A1 ด้วยเหตุนี้ ลวดลายหน้ากาล-มกรซึ่งนิยมใช้ประดับซุ้มกูฑุในศิลปะชวาจึงได้เข้ามามีบทบาทใหม่หลังจากที่ได้เสื่อมความนิยมไปแล้วก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ซุ้มกาลมกรในศิลปะมิเซิน A1 กลับมีลักษรเฉพาะตัว คือ มกรมักโผล่ออกมาจากด้านข้างหูของหน้ากาล นอกจากนี้ยังคายเลียงผาออกมาทั้งสองข้าง

หน้าบันรูปครุฑและนาค
โฮจิมินห์
ประติมากรรมหน้าบันรูปครุฑและนาค

พระวิษณุทรงเป็นเทพเจ้าผู้รักษาจักรวาล ทรงมีพาหนะที่สำคัญคือครุฑและนาค ซึ่งปรากฏอยู่บนหน้าบันทั้งสองตัว ครุฑเป็นพาหนะของพระวิษณุในคราวเสด็จไปในที่ต่างๆ ส่วนนาคเป็นบัลลังก์บรรทมของพระองค์บนเกษียรสมุทร

เศียรบุคคลสวมมงกุฎแหลม
โฮจิมินห์
ประติมากรรมเศียรบุคคลสวมมงกุฎแหลม

เศียรบุคคลนี้ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยมิเซิน A1 ได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง โดยมงกุฎมีลักษณะสำคัญคือประดับด้วยตาบจำนวนมาก ตาบดังกล่าวเป็นตาบที่ “คั่นกลาง” กระบังหน้า ตามมีลักษณะเป็นตาบสามเหลี่ยมขนาดเล็กซ้อนขึ้นไปหลายชั้น อนึ่งตาบแบบนี้แสดงความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะชวาซึ่งเข้ามามีบทบาทมากในระยะนี้

ส่วนประดับมุมปราสาทรูปบุคคล
โฮจิมินห์
ประติมากรรมส่วนประดับมุมปราสาทรูปบุคคล

ส่วนประดับมุมรูบบุคคลนี้ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยมิเซิน A1 ได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง โดยมงกุฎมีลักษณะสำคัญคือประดับด้วยตาบจำนวนมาก ตาบดังกล่าวเป็นตาบที่ “คั่นกลาง” กระบังหน้า ตามมีลักษณะเป็นตาบสามเหลี่ยมขนาดเล็กซ้อนขึ้นไปหลายชั้น อนึ่งตาบแบบนี้แสดงความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะชวาซึ่งเข้ามามีบทบาทมากในระยะนี้ อนึ่ง ปราสาทในศิลปะมิเซิน A1-บิญดิ่นมักประดับมุมปราสาทด้วย “ส่วนประดับมุม” เสมอ โดยหลายครั้งที่อยู่ในรูปของบุคคลประนมมือไหว้

ประติมากรรมสมัยหลัง
โฮจิมินห์
ประติมากรรมประติมากรรมสมัยหลัง

ประติมากรรมชิ้นนี้ถือเป็นตัวอย่างของประติมากรรมในสมัยหลังได้ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง มีลักษณะสำคัญคือประทับนั่งเห็นเพียงครึ่งพระองค์ ด้านล่างนั่งขัดสมาธิแบบจมหายไปกับแผ่นหลัง พระหัตถ์จำนวนมากก็เข้าไปติดยึดกับแผนหลังเช่นกัน พระพักตร์มีเคราตามอิทธิพลจีน/เวียดนามและสวมมงกุฎหมวกทรงกระบอก