ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 12 รายการ, 2 หน้า
ปราสาทหัวล่าย
ฟานรัง
สถาปัตยกรรมปราสาทหัวล่าย

ปราสาทมีเสาติดผนังสี่ต้นตามระบบศิลปะจามระยะต้น กึ่งกลางเสามีแถบลายซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะสมัยหัวล่าย ที่ฐานปราสาทประดับด้วยปราสาทจำลองซึ่งคล้ายคลึงกับศิลปะอินเดียและศิลปะขอมก่อนเมืองพระนคร ส่วนด้านบนของปราสาทนั้นเป็นเรือนธาตุจำลองซ้อนกันตามระบบวิมานอินเดียใต้

ซุ้มของปราสาทหัวล่าย
ญาจาง
สถาปัตยกรรมซุ้มของปราสาทหัวล่าย

ซุ้มของปราสาทหัวล่าย เป็นซุ้มรูปพิณฝรั่งคว่ำ ครอบคลุมด้วยลายขนมจีนจนเต็ม มีลายขมวดเข้าพร้อมขมวดออก ไม่มีรูปสัตว์ใดๆ แทรกอยู่ในซุ้ม ทั้งหมดนี้แสดง “ความเป็นพื้นเมือง” ของซุ้มในสมัยหัวล่ายที่แตกต่างไปจากกูฑุแบบอินเดียในศิลปะมิเซิน E1 แล้ว

เสาติดผนังของปราสาทหัวล่าย
ฟานรัง
สถาปัตยกรรมเสาติดผนังของปราสาทหัวล่าย

ปราสาทมีเสาติดผนังสี่ต้นตามระบบศิลปะจามระยะต้น กึ่งกลางเสามีแถบลายซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะสมัยหัวล่าย ซึ่งคล้ายคลึงกับศิลปะอินเดียที่มีมาก่อน ที่บัวหัวเสาปรากฏครุฑยุดนาคซึ่งเป็นลักษณะที่โดดเดนสำหรับปราสาทแห่งนี้ ครุฑมีจะงอยปากนกแล้วอันแตกต่างไปจากครุฑหน้าคนแบบอินเดีย

ปราสาทหลังเหนือของปราสาทหัวล่าย
ฟานรัง
สถาปัตยกรรมปราสาทหลังเหนือของปราสาทหัวล่าย

ปราสาทหลังเหนือของปราสาทหัวล่าย แม้ว่ายังสลักลวดลายประดับเสาไม่เสร็จ แต่ลักษณะที่โดเด่นก็คือปราสาทจำลองซึ่งประดับที่โคนเสาติดผนังแต่ละต้น เนื่องจากปราสาทจำลองเหล่านี้ปรากฏทั้งเรือนธาตุและชั้นหลังคาแบบวิมานอย่างซับซ้อน และถือเป็นปราสาทจำลองที่ซับซ้อนที่สุดในศิลปะจาม จากรูปแบบของปราสาทจำลองซึ่งยังคล้ายคลึงกับศิลปะอินเดียและศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร ทำให้กำหนดอายุได้ว่าปราสาทหลังนี้อยู่ในระยะแรกของศิลปะจาม

ที่ตั้งของปราสาทโพกลวงการาย
ฟานรัง
สถาปัตยกรรมที่ตั้งของปราสาทโพกลวงการาย

ที่ตั้งของปราสาทแห่งนี้ ได้แก่ยอดเนินเขา โดยมีการยกกลุ่มอาคารทั้งหมดขึ้นไปไว้ด้านบน ทั้งปราสาทประธาน บรรณาลัย มณฑป โคปุระ ที่ตั้งของปราสาทแห่งนี้ทำให้นึกถึงปราสาทบาญอี๊ดในจังหวัดบิญดิ่น การเลือกตั้งปราสาทอยู่บนยอดเขานั้น ปรากฏความนิยมมาก่อนแล้วตั้งแต่สมัยบิญดิ่น และดูเหมือนว่าในสมัยหลัง ก็ยังคงสืบทอดความนิยมดังกล่าวด้วย

ปราสาทประธานของปราสาทโพกลวงการาย
ฟานรัง
สถาปัตยกรรมปราสาทประธานของปราสาทโพกลวงการาย

ปราสาทหลังนี้ มีลักษณะหลายประการคล้ายคลึงกับปราสาทสมัยบิญดิ่นอตนปลายอยู่ ทั้งรูปแบบเสาติดผนังที่มี 5 ต้น ไม่มีร่องไม่มีลาย รวมถึงซุ้มที่ยังคงเป็นใบหอกแบบบิ่ญดิ่น อย่างไรก็ตาม การที่ปราสาทจำลองที่ชั้นหลังคากลายเป็น “ทรงพุ่ม” นั้นแสดงให้เห็นว่าปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นในสมัยหลังแล้ว

ปราสาทจำลองของปราสาทโพกลวงการาย
ฟานรัง
สถาปัตยกรรมปราสาทจำลองของปราสาทโพกลวงการาย

ปราสาทจำลองทรงพุ่ม ถือเป็นลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมสมัยหลังของจาม พัฒนามาจากปราสาทจำลองทรงถะจีนซึ่งนิยมมาก่อนในศิลปะบิญดิ่นตอนปลาย เช่นปราสาทจำลองของปราสาทแก๋งเตียนในจังหวัดบิญดิ่น ปราสาทจำลองแบบนี้ทำให้สามารถกำหนดอายุว่า ปราสาทโพกลวงการายควรสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 19 ลงมา

บรรณาลัย (?) ของปราสาทโพกลวงการาย
ญาจาง
สถาปัตยกรรมบรรณาลัย (?) ของปราสาทโพกลวงการาย

บรรณาลัยของปราสาทโพกลางการาย เป็นอาคารในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลังคาเป็นทรงประทุน หรือทรงศาลา ในศัพท์สถาปัตยกรรมอินเดีย อนึ่ง บรรณาลัยปรากฏมาแล้วตั้งแต่ปราสาทมิเซิน โดยอยู่ในผังและมีหลังคาทรงนี้เสมอ รวมถึงตั้งอยู่ทางด้านข้างของปราสาทประธานเสมอๆ เนื่องจากบรรณาลัยแห่งนี้ตั้งอยู่ในกลุ่มปราสาทซึ่งกำหนดอายุอยู่ในสมัยหลัง ด้วยเหตุนี้ บรรณาลัยดังกล่าวจึงควรมีอายุอยู่ในระยะเดียวกัน ส่วนปราสาทจำลองทรงถะจีนที่มุมนั้นอาจแสดงถึงการสืบทอดรูปแบบมาจากสมัยบิญดิ่นตอนปลาย