ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 17 ถึง 24 จาก 34 รายการ, 5 หน้า
โบสถ์เมืองปาวาย
ปาวาย
สถาปัตยกรรมโบสถ์เมืองปาวาย

โบสถ์แห่งนี้สร้างขึ้นใน ค.ศ.1699 แต่ต่อมาได้พังทลายลงเนื่องด้วยแผ่นดินไหว จึงมีการสร้างใหม่ใน ค.ศ.1710 ซึ่งยังคงปรากฏมาถึงปัจจุบัน แผงด้านหน้าของโบสถ์เมืองปาวาย สร้างขึ้นด้วยอิฐและปูนปั้น อันแตกต่างไปจากผนังด้านข้างที่สร้างด้วยหินปะการัง แผงด้านหน้า (façade) ที่นี่ประดับด้วยเสาติดผนัง 6 ต้น ซึ่งแบ่งแผงด้านหน้าออกเป็น 5 ส่วน ด้านบนครอบด้วย pediment แบบคลาสิก แต่มีที่แขวนระฆังขนาดเล็กอยู่ด้านบนสุดของหน้าบันด้วย ในส่วน nave ปรากฏประตูอาร์คโค้งเพียงบานเดียว และไม่มีประตูสำหรับ aisle ส่วนที่บริเวณหน้าจั่ว (Tympanum) ปรากฏอาร์ควงโค้งเพื่อทำห้าที่เป็นหน้าต่างและซุ้ม นอกจากนี้ยังมีการประดับตราอาร์มของตระกูลที่อุปถัมภ์โบสถ์ดังกล่าว

ภายในโบสถ์เมืองปาวาย
ปาวาย
สถาปัตยกรรมภายในโบสถ์เมืองปาวาย

ภายในโบสถ์เมืองปาวาย เป็นโบสถ์ที่ปรากฏแท่นบูชา (altar) จำนวนสามซุ้มตามความนิยมของโบสถ์เมืองโลวาก-วีกัน ซุ้มกลางประดิษฐานนักบุญออกุสติน ส่วนซุ้มด้านข้างประดิษฐานพระเยซูและครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ โบสถ์มีความยาวมากแต่มีหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงสังกะสี อนาง น่าสังเกตว่าหลงคาแบบง่ายๆเช่นนี้เป็นความนิยมของโบสถ์สกุลช่างเมืองโลวาก-วีกัน

หอคอยประจำโบสถ์เซนต์วิลเลี่ยม
ลาวัก
สถาปัตยกรรมหอคอยประจำโบสถ์เซนต์วิลเลี่ยม

ลักษณะของหอระฆังในสกุลช่างเมืองโลวากนั้น แตกต่างไปจากสกุลช่างเมือวีกันอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากหอระฆังสกุลช่างวีกันมักเป็นแปดเหลี่ยมแต่หอระฆังสกุลช่างโลวากกลับเป็นสี่เหลี่ยมซ้อนกันหลายชั้นเสมอ ซึ่งเป็นระเบียบที่สืบทอดมาจากหอระฆังของโบสถ์เมืองปาวาย อันสืบทอดมาจากศิลปะสเปนอีกทีหนึ่ง น่าสังเกตว่า ที่มุมด้านข้างของหอคอยปรากฏค้ำยัน (Buttress) ขนาดใหญ่จำนวนมาก และสร้างขึ้นห่างจากโบสถ์เนื่องจากกลัวว่าหอคอยจะล้มทับโบสถ์หากเกิดแผ่นดินไหว หอคอยในแถบนี้จึงตั้งแยกจากโบสถ์เสมอ

ภาพเขียนเพดาน โบสถ์ซานออกุสติน
มะนิลา
จิตรกรรมภาพเขียนเพดาน โบสถ์ซานออกุสติน

จิตรกรรมบนเพดานภายในโบสถ์ซานออกุสติน มะนิลา ซึ่งจากภาพนี้จะเห็นจิตรกรรมภาพลวงตา (Trompe l’oeil)ได้อย่างชัดเจน จิตรกรรมนี้วาดขึ้นโดยจิตรกรชาวอิตาเลี่ยนจำนวนสองคนใน ค.ศ.1875 อนึ่ง จิตรกรมแบบลวงตานี้ปรากฏมาก่อนแล้วในยุโรปตั้งแต่สมัยเรอเนสซองส์หรือบาโรค โดยมีทั้งแบบที่วาดเป็นท้องฟ้าให้เกิดความเวิ้งว้างสุดลูกตา หรือเป็นการลวงตาโดยใช้สถาปัตยกรรมเป็นเส้นนำสายตาให้ดูสูงขึ้นลึกเข้าไปในเพดานที่ไม่ได้สูงจริง

หน้าต่างประดับกระจกสี  โบสถ์ซานเซบาสเตียน
มะนิลา
จิตรกรรมหน้าต่างประดับกระจกสี โบสถ์ซานเซบาสเตียน

ภายในโบสถ์ซานเซบาสเตียน มะนิลาถือเป็นโบสถ์เพียงไม่กี่แห่งในกรุงมะนิลาที่สร้างขึ้นตามแบบโกธิค หน้าต่างของโบสถ์แห่งนี้ประดับด้วยกระจกสี ทำให้ภายในโบสถ์ค่อนข้างมืดอันเป็นเทคนิคการจำกัดแสตามแบบโกธิค

การเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของแม่พระ
วีกัน
ประติมากรรมการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของแม่พระ

นอกจากพระเยซูเจ้าแล้ว พระนางมาเรียก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้รับพรจากพระเป็นเจ้าในการยกขึ้นสู่สวรรค์ทั้งเป็น เนื่องจากพระนางเป็นหญิงพรหมจรรย์ผู้เป็นมารดาแห่งพระเยซูเจ้า ทรงปราศจากบาปกำเนิดและทรงยิ่งใหญ่กว่าหญิงทั้งปวง พระนางยังได้รับเกียรติยกขึ้นเป็นราชินีแห่งสวรรค์อีกด้วย การขึ้นสู่สวรรค์ของแม่พระ หรือที่เรียกกันว่า Assumption นั้นไม่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิ้ลแต่เกิดมาจากความเชื่อของคริสตศาสนิกชนนิกายโรมันคาธอลิก

พระเยซูองค์ดำ
มะนิลา
ประติมากรรมพระเยซูองค์ดำ

ในบาซิลิก้าแห่งไควอาโป ปรากฏรูปพระเยซูซึ่งได้รับการนับถือมากที่สุดในเมืองมะนิลาหรือในประเทศฟิลิปปินส์ นั่นคือพระเยซูองค์ดำหรือ “ชาวเมืองนาซาเรธสีดำ” ประติมากรรมชิ้นนี้มีประวัติว่านำมาจากเม็กซิโกซึ่งเป็นเมืองขึ้นของสเปนเช่นเดียวกัน ประติมากรรมทำจากไม้สีดำซึ่งส่งเสริมความศักดิ์สิทธิ์ของประติมากรรมชิ้นนี้

แม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล
มะนิลา
ประติมากรรมแม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล

ภูเขาคาร์แมลเป็นภเขาทางตอนเหนือของปาเลสไตน์ และเคยเป้นที่อยู่ของประกาศกเอลียาห์มาก่อน ต่อมาสถานที่แห่งนี้ได้ถูกสร้างให้เป็นที่สวดภาวนาต่อพระนางมาเรีย และทำให้เกิดพระสงฆ์นิกายคาร์เมไลท์ขึ้นใน ค.ศ. 1251 พระนางได้เสด็จมาประจักษ์แก่นักบุญไซมอน สต๊อก อธิการของคณะคาร์เมไลท์ ขณะที่ท่านพำนักใน Aylesford ระเทศอังกฤษ พระนางได้ประทานสายจำพวก อันเป้นเครื่องแบบนักบวชให้กับนักบุญและสัญญาว่าผู้ใดสวมชุดนี้จะรอดพ้นจากไฟนรก