ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมโบสถ์เมืองปาวาย
โบสถ์แห่งนี้สร้างขึ้นใน ค.ศ.1699 แต่ต่อมาได้พังทลายลงเนื่องด้วยแผ่นดินไหว จึงมีการสร้างใหม่ใน ค.ศ.1710 ซึ่งยังคงปรากฏมาถึงปัจจุบัน แผงด้านหน้าของโบสถ์เมืองปาวาย สร้างขึ้นด้วยอิฐและปูนปั้น อันแตกต่างไปจากผนังด้านข้างที่สร้างด้วยหินปะการัง แผงด้านหน้า (façade) ที่นี่ประดับด้วยเสาติดผนัง 6 ต้น ซึ่งแบ่งแผงด้านหน้าออกเป็น 5 ส่วน ด้านบนครอบด้วย pediment แบบคลาสิก แต่มีที่แขวนระฆังขนาดเล็กอยู่ด้านบนสุดของหน้าบันด้วย ในส่วน nave ปรากฏประตูอาร์คโค้งเพียงบานเดียว และไม่มีประตูสำหรับ aisle ส่วนที่บริเวณหน้าจั่ว (Tympanum) ปรากฏอาร์ควงโค้งเพื่อทำห้าที่เป็นหน้าต่างและซุ้ม นอกจากนี้ยังมีการประดับตราอาร์มของตระกูลที่อุปถัมภ์โบสถ์ดังกล่าว
สถาปัตยกรรมค้ำยันของโบสถ์เมืองปาวาย
ค้ำยันด้านข้างของโบสถ์เมืองปาวาย ซึ่งถือเป็นตัวอย่างค้ำยันกำแพงที่สร้างขึ้นอย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันการพังทลายจากแผ่นดินไหว ค้ำยันนี้มีลักษณะเป็นขมวด volute ซึ่งเป็นลักษณะของศิลปะบารอก ถือเป็นค้ำยันที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะฟิลิปปินส์ โบสถ์ในสกุลช่างโลวาก-วีกัน มักปรากฏค้ำยันขนาดใหญ่เช่นนี้เสมอ และมีบันได 1 อันแทรกอยู่ระหว่างค้ำยันเพื่อสำหรับขึ้นไปยังหลังคาโบสถ์ ลักษณะเช่นนี้ปรากฏเช่นกันที่โบสถ์ Santa Maria ใกล้เมืองวีกัน แต่แตกต่างไปจากสกุลช่างมะนิลาอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากโบสถ์ในสกุลช่างมะนิลาไม่เน้นการเสริมค้ำยัน
สถาปัตยกรรมภายในโบสถ์เมืองปาวาย
ภายในโบสถ์เมืองปาวาย เป็นโบสถ์ที่ปรากฏแท่นบูชา (altar) จำนวนสามซุ้มตามความนิยมของโบสถ์เมืองโลวาก-วีกัน ซุ้มกลางประดิษฐานนักบุญออกุสติน ส่วนซุ้มด้านข้างประดิษฐานพระเยซูและครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ โบสถ์มีความยาวมากแต่มีหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงสังกะสี อนาง น่าสังเกตว่าหลงคาแบบง่ายๆเช่นนี้เป็นความนิยมของโบสถ์สกุลช่างเมืองโลวาก-วีกัน