ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมหอพระไตรปิฎก วัดอินแปง
หอระไตรปิฎก วัดอินแปง ถือเป็นหอพระไตรปิฎกแบบล้านช้างอย่างแท้จริงเพียงแห่งเดียวที่เหลือรอดจากการทำลายเมืองเวียงจันทน์ในรัชกาลพระเจ้าอนุวงศ์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานเป็นบัวเข่าพรหมที่มีลวดบัวแบบลาวอย่างซับซ้อน เรือนธาตุด้านหน้าปรากฏประตู ส่วนที่เหลืออีกสามด้านเป็นหน้าต่างที่มีรายละเอียดอย่างมาก สำหรับภาพนี้เป็นหน้าต่างของหอพระไตรปิฎก ซึ่งมีลักษณะเป็นซุ้มหน้าต่างยอดปราสาท ชั้นหลังคาประกอบด้วยหลังคาลาดขนาดใหญ่ 1 ชั้นและเชิงบาตรซ้อนกันขึ้นไป เค้าโครงของปราสาทมีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะล้านนา โดยรอบผนังปรากฏร่องรอยของลายปูนปั้นที่แบ่งเป็นช่องๆ ซึ่งอาจเคยมีภาพเล่าเรื่องมาก่อน ปัจจุบันหลุดร่วงลงเกือบหมด
ประติมากรรมหน้าต่างของเจดีย์นันปยะ
หน้าต่างของแจดีย์นันปยะถือเป็นหน้าต่างของเจตียวิหารในระยะแรกสุดของศิลปะพุกาม เป็นหนาต่างที่มีแผ่นหินมาปิดทำให้ภายในอาคารมืดทึบ ซึ่ถือเป็นสุนทรียภาพในสมัยพุกามตอนต้น ซุ้มเคล็กที่นี่เป็นเคล็กสั้นและเอียงเข้าหาจุดศูนย์กลางตามแบบพุกามตอนต้น ที่เสาติดผนังเองก็ปรากฏกาบบนแต่ไม่มีกาบล่างและประจำยามอก ซึ่งถือเป็นกาบในระยะแรกสุดของศิลปะพุกาม
ประติมากรรมพระพุทธรูปในมนูหะ
แม้ว่าจะมีประวัติเก่าแก่ไปถึงรัชสมัยพราะเจ้าอโนรธา แต่พระพุทธรูปองค์นี้ก็”ด้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่อง จนรูปแบบดั้งเดิมไม่หลงเหลืออยู่
ประติมากรรมภาพชาดกดินเผา เรื่องสุวรรณสาม
เจดีย์เป็นเล็กเป็นเจดีย์ทรงระฆังสมัยพุกามตอนต้น ได้รับอิทธิพลปาละ ที่ส่วนฐานปรากฏระเบียงซึ่งบรรจุภาพดินเผาเล่าเรื่องชาดกจำนวน 550 พระชาติ ภาพชาดกดังกล่าวทำจากดินเผาที่ยังไม่ได้เคลือบเขียวซึ่งแตกต่างไปจากเจดีย์ชเวซิกอง แสดงให้เห็นวาภาพชาดกนี้อาจอยู่ในสมัยก่อนพุกามหรือพุกามตอนต้นระยะแรก
สถาปัตยกรรมเจดีย์บูพยา
เจดีย์มีลักษณะเป็นทรงลอมฟาง ไม่มีฐาน อัณฑธยืดสูง ยอดมีลกัษณะเป็นทรงกรวยอย่างง่ายๆ ต่อขึ้นไปด้านบน ทั้งหมดนี้มีเค้าโครงคล้ายเจดีย์ในศิลปะศรีเกษตร เช่น เจดีย์ปยามาและเจดีย์โบโบจีเป็นอย่างมาก จึงแสดงให้เห็นว่าอาจสร้างขึ้นก่อนรัชสมัยพระเจ้าอโนรธา
สถาปัตยกรรมหอพระไตรปิฎก
เป็นตัวอย่างอาคารทรงปราสาท (ปยาทาด) ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งศิลปะพม่า เป็นอาคารในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสทึบ โดยมีหลังคาลาดซ้อนชั้นกันหลายชั้น ทรงค่อนข้างเตี้ย อาคารแบบนี้ต่อมาจะเป็นต้นเค้าให้กับปยาทาดที่ยืดสูงในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล แม้ว่าไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าอาคารหลังนี้สร้างขึ้นโดยพระเจ้าอโนรธาเพื่อเก็บพระไตรปิฎกจริงหรือไม่ แต่จากรูปแบบอาคารแสดงให้เห็นว่าสร่างขึ้นในสมัยพุกามตอนต้นอย่างแน่นอน
สถาปัตยกรรมมนูหะ
เป็นตัวอย่างอาคารประดิษฐานพระพุทธรูปหรือที่เรียกว่า “ปฏิมาฆระ” ในศิลปะพุกามตอนต้น มีการวางผังแบบพิเศษโดยให้ปฏิมาฆระจำนวน 4 หลังตั้งอยู่ติดกัน อันได้แก่ปฏิมาฆระของพระพุทธรูปนั่งจำนวนสามหลัง และพระพุทธรูปไสยาสน์จำนวนหนึ่งหลัง
สถาปัตยกรรมเจดีย์นันปยะ
เจตียวิหารในระยะแรกสุดของศิลปะพุกาม เป็นอาคารทรงศิขระที่ยังคงมีการประดับกูฑุคล้ายคลึงกับศิลปะอินเดียเหนือ มีหน้าต่างบิดทึบจำนวนสามบานต่อด้านซึ่งตรงกับแนวความคิดของศิลปะพุกามตอนต้นที่ต้องการให้ภายในมืดทึบ ภายในอาคารปรากฏเสาสี่ต้นรองรับยอดศิขระ โดยรอบปรากฏภาพสลักพระพรหมซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่ปรากฏเฉพาะที่นี่เท่านั้นจากรูปแบบของศิขระและลวดลายประดับที่ยังคล้ายคลึงศิลปะอินเดียอยู่มาก จากกำหนดอายุโบราณสถานแห่งนี้อยู่ในสมัยพุกามตอนต้น