ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 5 จาก 5 รายการ, 1 หน้า
พระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง
โฮจิมินห์
ประติมากรรมพระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง

พระพุทธรูปมีลักษณะตามอย่างศิลปะอมราวดีหรือลังกา กล่าวคือมีอุษณีษะต่ำ พระเกศาขมวดก้นหอย ห่มจีวรเฉียง จีวรเป็นริ้วทั้งองค์ มีขอบจีวรหนายกขึ้นมาพาดพระกรซ้ายเป็นรูปสามเหลี่ยม พระพุทธรูปยกพระหัตถ์ขวาแสดงวิตรรกมุทราและยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นมาจับชายจีวรขนานกันกับพระหัตถ์ขวา รูปแบบทั้งหมดนี้แสดงว่าพระพุทธรูปองค์นี้อาจะเป็นของนำเข้ามาจากอินเดียใต้หรือลังกา

มหาเจดีย์
สถาปัตยกรรมมหาเจดีย์

เจดีย์ประกอบด้วยฐานในผังแปดเหลี่ยมเพิ่มมุม เป็นฐานลาดตามแบบมอญ แต่กลับมีบันไดขึ้นและมีทางประทักษิณด้านบนตามแบบพม่า ถัดขึ้นไปได้แก่ฐานเขียงในผังกลมจำนวนมากตามแบบมอญ รองรับองค์ระฆัง ส่วนยอดเป็นของซ่อมใหม่สมัยปัจจุบัน การที่เจดีย์องค์นี้มีการผสมผสานกันระหว่างศิลปะมอญและศิลปะพม่านั้น สอดรับกับประวัติศาสตร์ของพม่าในระยะนั้นที่ราชวงศ์ตองอูของพม่าได้ยกทัพลงมายึดครองเมืองหงสาวดีของชาวมอญ จึงทำให้เกิดการผสมผสานกันระหว่างเจดีย์สองแบบ

เจดีย์กองมูดอ
สะกาย
สถาปัตยกรรมเจดีย์กองมูดอ

เจดีย์ประกอบด้วยอัณฑะทรงโอคว่ำขนาดใหญ่ตามแบบศิลปะลังกาสมัยอนุราธปุระ ฐานเตี้ยๆ ในผังกลม ทั้งหมดนี้แสดงการจำลองแบบมาจากศิลปะลังกา อย่างไรก็ตาม ด้านบนเจดีย์กลับไม่ปรากฏหรรมิกาและฉัตรวลี ซึ่งเป็นลักษณะที่แปลกประหลาด

พระพุทธรูปประทับยืนที่ชเวซิกอง
พุกาม
ประติมากรรมพระพุทธรูปประทับยืนที่ชเวซิกอง

พระพุทธรูปลักษณะตามอย่างพระพุทธรูปประทับยืนในศิลปะพุกามโดยทั่วไป กล่าวคือ ครองจีวรห่มคลุม เรียบไม่มีริ้ว มีชายจีวรตงลงมาจากพระหัตถ์ทั้งสองข้างแตกเป็นเขี้ยวตะขาบตามแบบปาละตอนปลาย พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางประทานอภัยในพระหัตถ์ขวาและจับชายจีวรในแนวลงในพระหัตถ์ซ้าย อันเป็นระบบอินเดียเหนือที่พระหัตถ์ทั้งสองมักมีแนวพระหัตถ์ตรงกันข้ามกัน

ซุ้มหน้านางแบบลังกา
พุกาม
ประติมากรรมซุ้มหน้านางแบบลังกา

ซุ้มหน้านาง คือซุ้มที่เป็นวงโค้ง ไม่มีเคล็กอยู่ด้านบน ซุ้มแบบนี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของซุ้มมกรโตรณะตามแบบลังกาที่ข้ามามีบทบาทอย่างมากในศิลปะพุกามตอนปลาย ตอบรับกับประวัติศาสตร์ที่พระภิกษุชาวพุกามที่ไปเรียนลังกาได้กลับมายังพุกามจำนวนมากและนำเอาพุทธศาสนาลังกาวงศ์กลับมาด้วย