ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 25 ถึง 32 จาก 54 รายการ, 7 หน้า
ปราสาทดำไรกราบ
พนมกุเลน
สถาปัตยกรรมปราสาทดำไรกราบ

ปราสาทจามสมัยหัวล่าย ประกอบด้วยเสาติดผนังจำนวน 4 ต้นเสมอ กึ่งกลางเสาประดับด้วย “แถบลาย” ขนาดใหญ่เช่นเดียวกับปราสาทหัวล่ายในเวียดนาม นอกจากนี้ที่บัวหัวเสายังปรากฏเค้าโครงของครุฑแบกซึ่งคล้ายคลึงกับส่วนเดียวกันของปราสาทหัวล่ายด้วย อย่างไรก็ตาม ปราสาทแห่งนี้กลับสลักไม่เสร็จ จึงยังไม่ปรากฏลวดลายใดๆบรรจุอยู่ในแถบลายกึ่งกลางเสา

ทับหลัง
ประติมากรรมทับหลัง

ทับหลัง เป็นชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมที่พบในศิลปะเขมร โดยจะติดตั้งอยู่บนกรอบประตูทางเข้าเสมอ ทับหลังแบบศิลปะสมโบร์ไพรกุก จะมีปรากฏการทำมกรหันหน้าเข้าคายตัววยาล และคายวงโค้งสี่วงที่ปลายทับหลังทั้งสองข้าง ตัวมกรยืนอยู่บนแท่นและมีบุคคลขี่อยู่ ตรงกลางทับหลังปรากฏการทำเหรียญสามวงคั่นระหว่างวงโค้ง ภายในเหรียญปรากฏการทำประติมากรรมบุคคลกลางเหรียญ ด้านบนวงโค้งปรากฏลายใบไม้ตั้งขึ้น ด้านล่างวงโค้งทำลายพวงมาลัย พวงอุบะ

ภาพสลักรูปปราสาท บนผนังที่ปราสาทสมโบร์ไพรกุก
กัมปง ธม
ประติมากรรมภาพสลักรูปปราสาท บนผนังที่ปราสาทสมโบร์ไพรกุก

เป็นปราสาทที่สร้างจากอิฐ อยู่ในผังสี่เหลี่ยม มีเสาติดผนังที่มุมของเรือนธาตุ มีทางเข้าทางเดียว อีกทั้งสามทางเป็นประตูหลอก หลังคาทำเป็นเรือนธาตุจำลองซ้อนชั้นตามแบบวิมานของอินเดียใต้ ปราสาทตั้งอยู่บนพื้นราบ ไม่มีการทำฐานซ้อนชั้น

ทับหลัง
กัมปง ธม
ประติมากรรมทับหลัง

ทับหลังในภาพ เป็นรูปแบบของทับหลังในศิลปะไพรกเมงที่จะคลี่คลายไปสู่แบบศิลปะกำพงพระ โดยมีการทำเส้นวงโค้งเป็นเส้นตรงเพียงเส้นเดียว กลางทับหลัง และปรากฏเหรียญอยู่กลางเส้นวงโค้ง ตามรูปแบบของศิลปะไพรกเมง แต่อย่างไรก็ตามตัวเหรียญได้ปรับเปลี่ยนเป็นลักษณะของลายใบไม้ซึ่งเหมือนกับปลายของทับหลังทั้งสองด้านปรากฏเป็นลายใบไม้ขนาดใหญ่ซึ่งต่อมาลายใบไม้ดังกล่าวจะเป็นที่นิยมในศิลปะกำพงพระ

เจดีย์กุพโยคจีที่มยิงกบา
พุกาม
สถาปัตยกรรมเจดีย์กุพโยคจีที่มยิงกบา

เจดียวิหารสมัยพุกามตอนต้น ซึ่งนิยมเรือนธาตุทรงเตี้ยและมืดทึบ ด้วยเหตุนี้ หน้าต่างโดยรอบของเจดีย์จึงปิดทึบไปด้วยแผง รูปแบบหน้าต่างเองก็ประดับไปด้วยเคล็กสั้นๆตามแบบพุกามตอนต้น ด้านบนปรากฏหลังคาลาดซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของเจดีย์ในสมัยพุกามตอนต้น ด้านบนสุดปรากฏศิขระในลักษณะเดียวกับเจดีย์นาคยนและอานันทเจดีย์ คือศิขระที่มีซุ้มประดับที่เก็จประธาน อันเป็นรูปแบศิขระที่นิยมในรัชกาลนี้

เจดีย์กองมูดอ
สะกาย
สถาปัตยกรรมเจดีย์กองมูดอ

เจดีย์ประกอบด้วยอัณฑะทรงโอคว่ำขนาดใหญ่ตามแบบศิลปะลังกาสมัยอนุราธปุระ ฐานเตี้ยๆ ในผังกลม ทั้งหมดนี้แสดงการจำลองแบบมาจากศิลปะลังกา อย่างไรก็ตาม ด้านบนเจดีย์กลับไม่ปรากฏหรรมิกาและฉัตรวลี ซึ่งเป็นลักษณะที่แปลกประหลาด

วัดกุโสดอ
มัณฑเลย์
สถาปัตยกรรมวัดกุโสดอ

วัดกุโสดอ ประกอบด้วยเจดีย์ประธานซึ่งจำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวซิกองเมืองพุกาม แวดล้อมไปด้วยเจดีย์ทรงปราสาทขนาดเล็กซึ่งประดิษฐานแผ่นจารึกพระไตรปิฎก เจดีย์เหล่านี้มีการแบ่งกลุ่มตามหมวดของพระไตรปิฎกตั้งแต่พระวินัย พระสูตรและพระอภิธรรม

ปราสาทแปรรูป
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทแปรรูป

ปราสาทแปรรูป เป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นที่มีปราสาทยอดสร้างด้วยอิฐเช่นเดียวกับปราสาทอื่นๆในศิลปะสมัยพระนครตอนต้น อย่างไรก็ตาม พัฒนาการใหม่ที่สามารถสังเกตได้ก็คือ ปราสาทประธานได้เพิ่มจำนวนเป็นห้าหลังเป็นครั้งแรกและปราสาทเริ่มปรากฏ “อาคารยาวๆ” โดยรอบซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับระเบียงคดในระยะต่อมา อาคารยาวๆเหล่านี้คงใช้เป็นที่เก็บของหรือเป็นที่พัก ด้านหน้าปราสาทปรากฏแท่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งคงเป็นที่ประดิษฐานโคนนทิมาก่อน ปัจจุบันสูญหายไปแล้ว