ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 16 รายการ, 2 หน้า
ฐานเป็นชั้นที่ปราสาทเกาะแกร์
เกาะแกร์
สถาปัตยกรรมฐานเป็นชั้นที่ปราสาทเกาะแกร์

ปราสาทแห่งนี้ถือเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นที่สูงและสง่างามที่สุดในศิลปะขอม เนื่องจากมีฐานซ้อนกันขึ้นไปถึง 7 ชั้น ด้านบนคงเคยประดิษฐานปราสาทประธาน 1 หลัง อนึ่ง ปราสาทบนฐานเป็นชั้นในศิลปะเกาะแกร์สามารถศึกษาเปรียบเทียบได้กับปราสาทปักษีจำกรงที่เมืองพระนครอีกหลังหนึ่ง

อาคารยาวมีหน้าจั่วสามเหลี่ยม ปราสาทเกาะแกร์
เกาะแกร์
สถาปัตยกรรมอาคารยาวมีหน้าจั่วสามเหลี่ยม ปราสาทเกาะแกร์

อาคารยาวๆของปราสาทเกาะแกร์ สร้างด้วยหินทั้งหลังแต่คงเคยมีหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้าประกอบด้วยหน้าจั่วสามเหลี่ยมซึ่งเลียนแบบมาจากอาคารเครื่องไม้ ที่น่าสนใจก็คือ ที่ปลายหน้าจั่วมีลายตกแต่งเป็นรูปขมวดม้วน ซึ่งอาจกลายมาจากงวงของมกรก็ได้ หน้าจั่วเช่นนี้จะปรากฏอีกกับปราสาทในศิลปะบันทายสรีและบาปวนบางหลัง เช่นปราสาทบันทายสรี ปราสาทพระวิหาร เป็นต้น อนึ่ง น่าสังเกต “รู” ที่หน้าบันซึ่งเคยเป็นเต้ารับแปของเครื่องไม้ซึ่งได้หายไปหมดสิ้นแล้ว

ปราสาทประธาน : ปราสาทบันทายสรี
อังกอร์
ประติมากรรมปราสาทประธาน : ปราสาทบันทายสรี

ปราสาทบันทายสรีเป็นปราสาทบนพื้นราบที่เรียงกันสามหลัง หลังกลางอุทิศให้กับพระศิวะ ส่วนหลังข้างนั้น แม้ว่าจะไม่ปรากฏจารึกว่าสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้ใคร แต่อาจเป็นไปได้ว่าอุทิศหับพระเทวีสององค์ของพระศิวะ คือพระอุมากับพระคงคา เนื่องจากทวารบาลของปราสาททั้งสองหลังล้วนแต่เป็นนางอัปสรทั้งสิ้นปราสาททั้งสามหลังมีลักษณะตามแบบศิลปะพระนครตอนปลายโดยทั่วไปท่สร้างด้วยหิน อย่างไรก็ตามปราสาทยังคงเว้นประตูสามด้านไว้เป็นประตูหลอก ด้านบนของชั้นวิมานยังคงประดับด้วยปราสาทจำลองซึ่งแตกต่างไปจากปราสาทในศิลปะนครวัดที่ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นกลีบขนุน

ปราสาทตาแก้ว
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทตาแก้ว

เป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นจำนวน 3 ชั้น ด้านบนบนมีปราสาทจำนวน 5 หลัง สืบพัฒนาการมาจากปราสาทแปรรูป อย่างไรก็ตาม เป็นครั้งแรกที่ปราสาททั้งหมดสร้างด้วยหินและสามารถเจาะประตูเข้าได้ทั้งสี่ทิศ มีระเบียงคดอยู่โดยรอบที่ด้านล่างฐานเป็นชั้น ซึ่งเป็นพัฒนาการใหม่มาจากอาคารยาวๆ ที่ไม่ต่อเนื่องกันที่ปราสาทแปรรูป ปราสาทยังสร้างไม่สำเร็จ ด้วยเหตุนี้จึงยังไม่ปรากฏลวดลายใดๆ

ปราสาทประธานของปราสาทตาแก้ว
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทประธานของปราสาทตาแก้ว

ภาพนี้เป็นภาพหนึ่งในห้าปราสาทประธานของปราสาทตาแก้ว ปราสาททั้งหมดสร้างด้วยหินและสามารถเจาะประตูเข้าได้ทั้งสี่ทิศ ซึ่งมีพัฒนาการแตกต่างไปจากปราสาทก่อนหน้านี้ที่สร้างด้วยอิฐและยังไม่สามารถเจาะประตูได้สี่ทิศ อย่างไรก็ตาม ปราสาทแห่งนี้ยังสร้างไม่สำเร็จ ด้วยเหตุนี้จึงยังไม่ปรากฏลวดลายใดๆ

ระเบียงคดของปราสาทตาแก้ว
อังกอร์
สถาปัตยกรรมระเบียงคดของปราสาทตาแก้ว

ภาพนี้เป็นภาพของระเบียงคดของปราสาทตาแก้ว ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของสถาปนิกที่นี่ อันพัฒนาต่อเนื่องมาจากอาคารยาวๆของปราสาทแปรรูป ระเบียงคดซึ่งปรากฏขึ้นใหม่นี้คั่นด้วยโคปุระทั้งสี่ด้าน มุงด้วยอิฐซึ่งถือเป็นความพยายามในการนำเอาวัสดุถาวรแต่มีน้ำหนักมากขึ้นมุงหลังคา ระเบียงคดนี้ยังคงวางอยู่ทีฐานชั้นล่างสุดของปราสาท แตกต่างจากปราสาทในระยะต่อมาที่ระเบียงคดอาจขึ้นไปวางไว้บนยอดฐานเป็นชั้นได้

กุหนุงกาวี
เกียญาร์
สถาปัตยกรรมกุหนุงกาวี

จันทิกุหนุงกาวี มีลักษณะเป็นหน้าผาริมแม่น้ำ โดยมีการสลักจันทิติดผนังจำนวน 9 หลัง ถือเป็นตัวอย่างจันทิสลักหินติดกับเพิงผาธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในเกาะบาหลี นอกจากนี้ยังถือเป็นตัวอย่างจันทิในศิลปะชวาภาคตะวันออกที่ปรากฏในเกาะบาหลีอีกด้วย เนื่องจากชั้นหลังคาประดับไปด้วยสถูปิกะ/อาคารจำลองซึ่งไม่ปรากฏแล้วในศิลปะบาหลี อนึ่ง ที่ตั้งของกลุ่มจันทิดังกล่าว ย่อมทำให้แม่น้ำที่ไหลผ่านศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย

พระลักษมีที่สระน้ำเบลาหัน
มาลัง
ประติมากรรมพระลักษมีที่สระน้ำเบลาหัน

รูปแบบของเครื่องแต่งกายพระเทวี ประกอบด้วยลวดลายขมวดม้วนและเครื่องเพชรพลอยจำนวนมาก รวมถึงลายกนกที่ประดับแผ่นหลัง ทั้งหมดนี้ล้วนแต่แสดงความเป็น “ชวาตะวันออก”