ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมโบสถ์ประจำเมืองมะละกา
โบสถ์ประจำเมืองมะละกา สร้างด้วยหน้าบันตามแบบบารอคซึ่งเป็นที่นิยมในศิลปะดัชต์ อย่างไรก็ตาม ภายในกลับมุงหลังคาด้วยเครื่องไม้มุงกระเบื้องตามแบบพื้นเมือง มุขด้านหน้าที่มีองค์ประกอบเป็นแบบคลาสิกนั้นถูกเพิ่มเข้ามาภายหลังจากที่อังกฤษเข้ายึดครองแล้ว
สถาปัตยกรรมโบสถ์ซานเซบาสเตียน
โบสถ์ซานเซบาสเตียน มะนิลา ถือเป็นโบสถ์เพียงไม่กี่แห่งในกรุงมะนิลาที่สร้างขึ้นตามแบบโกธิค ภายในเป็นโบสถ์ทีมีความสูงโปร่งและมีเสาที่ผอมบางอันเป็นการเลียนแบบศิลปะโกธิคตอนปลาย หลังคาเองก็ปรากฏ “สัน” (rib) ตัดกันจำนวนมากซึ่งเป็นการเลียนแบบศิลปะโกธิคตอนปลาย หน้าต่างของโบสถ์แห่งนี้ประดับด้วยกระจกสี ทำให้ภายในโบสถ์ค่อนข้างมืดอันเป็นเทคนิคการจำกัดแสตามแบบโกธิค
สถาปัตยกรรมแท่นบูชาภายในโบสถ์ซานเซบาสเตียน
โบสถ์ซานเซบาสเตียน มะนิลา ถือเป็นโบสถ์เพียงไม่กี่แห่งในกรุงมะนิลาที่สร้างขึ้นตามแบบโกธิค แท่นบูชาภายในเป็นประกอบด้วยยอดหอคอยแหลมและกรอบซุ้มโค้งแหลมแบบโกธิค ผนังด้านหลังปรากฏหน้าต่างรูปดอกกุหลาบซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมแบบโกธิคเช่นกัน
สถาปัตยกรรมโบสถ์ซานโตนีโญ่
โบสถ์ซานโตนีโญ ถือเป็นโบสถ์ที่แสดงความเป็นโบสถ์แบบคลาสิกได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งในมะนิลา เนื่องจากโบสถ์ประกอบด้วยหน้าบันสามเหลี่ยม รองรับด้วยเสาติดผนังแบบไอโอนิก และแผงด้านหน้าโบสถ์ท่แบ่งออกเป็นสองชั้น แต่ละชั้นเป็นซุ้มจั่วสามเหลี่ยมสลกับกับอาร์รคโค้ง
สถาปัตยกรรมโบสถ์ซานตามาเรีย
โบสถ์แห่งเมือง Santa Maria มีผนังด้านหน้าตามแบบบารอค โดย façade ขนาบด้วยหอคอยสองด้านและเสาอีกสองต้น แบ่งพื้นที่ออกเป็นสามส่วน ด้านบนปรากฏหน้าบันแบบบารอคที่ใช้หน้าบันวงโค้งตรงกลางขนาบด้วยหน้าบันโค้งเว้า ทางด้านข้างซึ่งทำให้หน้าบันด้านบนมีความลื่นไหลแตกต่างไปจากแบบคลาสิก ที่ปลายสุดซึ่งตรงกับหอคอยขนาบข้างนั้นปรากฏการประดับถ้วยรางวัล ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นองค์ประกอบแบบบารอค ด้านข้างของโบสถ์นั้นถูกค้ำยันด้วย buttress ที่หนาหนัก อันเป็นการทำให้ผนังด้านข้างของโบสถ์ทนต่อแผ่นดินไหวอันรุนแรงของฟิลิปปินส์
สถาปัตยกรรมโบสถ์ประจำสุสานเมืองวีกัน
โบสถ์ประจำสุสาน (Cemetery Chapel )ซึ่งเรียกกันในภาษาพื้นเมืองว่า Simbaan a Bassit ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองวีกัน สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1852 เป็นโบสถ์ขนาดเล็กที่มีแผงด้านหน้าแบบบารอคอย่างชัดเจน โดยแบ่งแผงด้านหน้าออกเป็นห้าส่วนด้วยเสาติดผนัง ด้านบนปรากฏหน้าบันโค้งเว้าตามแบบบารอค ด้านข้างประดับด้วย volute ขนาดใหย่ตามแบบบารอค และปรากฏประตูที่ใช้เป็นประตูเข้าไปสู่สุสาน การที่หน้าบันของ façade ใช้เป็นที่แขวนระฆังด้วยนั้น ถือเป็นรูปแบบที่พบไม่บ่อยนักในศิลปะฟิลิปปินส์ (ส่วนนี้เรียกในภาษาสเปนว่า Espadraña)
สถาปัตยกรรมโบสถ์เมืองปาวาย
โบสถ์แห่งนี้สร้างขึ้นใน ค.ศ.1699 แต่ต่อมาได้พังทลายลงเนื่องด้วยแผ่นดินไหว จึงมีการสร้างใหม่ใน ค.ศ.1710 ซึ่งยังคงปรากฏมาถึงปัจจุบัน แผงด้านหน้าของโบสถ์เมืองปาวาย สร้างขึ้นด้วยอิฐและปูนปั้น อันแตกต่างไปจากผนังด้านข้างที่สร้างด้วยหินปะการัง แผงด้านหน้า (façade) ที่นี่ประดับด้วยเสาติดผนัง 6 ต้น ซึ่งแบ่งแผงด้านหน้าออกเป็น 5 ส่วน ด้านบนครอบด้วย pediment แบบคลาสิก แต่มีที่แขวนระฆังขนาดเล็กอยู่ด้านบนสุดของหน้าบันด้วย ในส่วน nave ปรากฏประตูอาร์คโค้งเพียงบานเดียว และไม่มีประตูสำหรับ aisle ส่วนที่บริเวณหน้าจั่ว (Tympanum) ปรากฏอาร์ควงโค้งเพื่อทำห้าที่เป็นหน้าต่างและซุ้ม นอกจากนี้ยังมีการประดับตราอาร์มของตระกูลที่อุปถัมภ์โบสถ์ดังกล่าว
สถาปัตยกรรมค้ำยันของโบสถ์เมืองปาวาย
ค้ำยันด้านข้างของโบสถ์เมืองปาวาย ซึ่งถือเป็นตัวอย่างค้ำยันกำแพงที่สร้างขึ้นอย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันการพังทลายจากแผ่นดินไหว ค้ำยันนี้มีลักษณะเป็นขมวด volute ซึ่งเป็นลักษณะของศิลปะบารอก ถือเป็นค้ำยันที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะฟิลิปปินส์ โบสถ์ในสกุลช่างโลวาก-วีกัน มักปรากฏค้ำยันขนาดใหญ่เช่นนี้เสมอ และมีบันได 1 อันแทรกอยู่ระหว่างค้ำยันเพื่อสำหรับขึ้นไปยังหลังคาโบสถ์ ลักษณะเช่นนี้ปรากฏเช่นกันที่โบสถ์ Santa Maria ใกล้เมืองวีกัน แต่แตกต่างไปจากสกุลช่างมะนิลาอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากโบสถ์ในสกุลช่างมะนิลาไม่เน้นการเสริมค้ำยัน