ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 8 รายการ, 1 หน้า
ใบเสมา
ขอนแก่น
ประติมากรรมใบเสมา

ใบเสมาแผ่นแบนมียอดแหลม สลักภาพเล่าเรื่องอยู่ทางด้านหน้า เป็นภาพพระอินทร์พร้อมด้วยชายาและช้างเอราวัณ พระอินทร์นั่งในท่าลลิตาสนะอยู่ตรงกลาง ถือวัชระไว้ในพระหัตถ์ซ้าย ต้นไมทางเบื้องหลังสันนิษฐานว่าเป็นต้นปาริชาติ อันเป็นต้นไม้ประจำสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งเป็นสวรรค์ของพระอินทร์ เบื้องซ้ายของพระองค์มีภาพบุคคล 3 คน และนก 1 ตัว เป็นภาพชายาทั้ง 4 ของพระอินทร์ ได้แก่ สุธรรมา สุจิตรา สุนันทา และสุชาดาซึ่งกลับมาเกิดเป็นนกยาง เพราะไม่ได้สั่งสมบุญไว้เพียงพอ ด้านหลังของกลุ่มชายาเป็นลวดลายกนกแบบทวารวดีซึ่งคงสื่อถึงก้อนเมฆ ด้านขวาของพระอินทร์มีช้างเอราวัณ

ภาพชาดกดินเผา เรื่องพระมหาชนก
พุกาม
ประติมากรรมภาพชาดกดินเผา เรื่องพระมหาชนก

เจดีย์เป็นเล็กเป็นเจดีย์ทรงระฆังสมัยพุกามตอนต้น ได้รับอิทธิพลปาละ ที่ส่วนฐานปรากฏระเบียงซึ่งบรรจุภาพดินเผาเล่าเรื่องชาดกจำนวน 550 พระชาติ ภาพชาดกดังกล่าวทำจากดินเผาที่ยังไม่ได้เคลือบเขียวซึ่งแตกต่างไปจากเจดีย์ชเวซิกอง แสดงให้เห็นวาภาพชาดกนี้อาจอยู่ในสมัยก่อนพุกามหรือพุกามตอนต้นระยะแรก

ภาพชาดกดินเผา เรื่องสุวรรณสาม
พุกาม
ประติมากรรมภาพชาดกดินเผา เรื่องสุวรรณสาม

เจดีย์เป็นเล็กเป็นเจดีย์ทรงระฆังสมัยพุกามตอนต้น ได้รับอิทธิพลปาละ ที่ส่วนฐานปรากฏระเบียงซึ่งบรรจุภาพดินเผาเล่าเรื่องชาดกจำนวน 550 พระชาติ ภาพชาดกดังกล่าวทำจากดินเผาที่ยังไม่ได้เคลือบเขียวซึ่งแตกต่างไปจากเจดีย์ชเวซิกอง แสดงให้เห็นวาภาพชาดกนี้อาจอยู่ในสมัยก่อนพุกามหรือพุกามตอนต้นระยะแรก

มหากปิชาดก
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมมหากปิชาดก

รูปแบบศิลปะของภาพสลักที่บุโรพุทโธมีความคล้ายคลึงศิลปะอินเดียเป็นอย่างมาก ทั้งรูปแบบเครื่องแต่งกายของประติมากรรม ข้าวของเครื่องใช้ ตัวละครที่กลมกลึงและมีการเว้นพื้นที่ว่างเปล่า ทั้งหมดนี้แสดงว่าศิลปะชวาภาคกลางมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะอินเดีย

กัจฉปาวทาน
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมกัจฉปาวทาน

รูปแบบศิลปะของภาพสลักที่บุโรพุทโธมีความคล้ายคลึงศิลปะอินเดียเป็นอย่างมาก ทั้งรูปแบบเครื่องแต่งกายของประติมากรรม ข้าวของเครื่องใช้ ตัวละครที่กลมกลึงและมีการเว้นพื้นที่ว่างเปล่า ทั้งหมดนี้แสดงว่าศิลปะชวาภาคกลางมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะอินเดีย

ภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง
มัณฑเลย์
ประติมากรรมภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง

เนื่องจากรัชสมัยพระเจามินดงเป็นช่วงที่อิทธิพลตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทมากในศิลปะพม่า ทำให้เกิดการนำเอาลายอะแคนธัส หรือใบผักกาดฝรั่งมาประยุกต์ใช้ประดับสถาปัตยกรรมพม่าอย่างมาก ภาพนี้เป็นภาพสลักเล่าเรื่องชาดกซึ่งล้อมรอบไปด้วยลายอะแคนธัส ซึ่งประดับอยู่ที่มุมของชานชาลายกพื้นภายในอาคารของชเวนันดอจอง เป็นไปได้ที่การประดับดังกล่าวถูกสลักเพิ่มเติมขึ้นเมื่ออาคารหลังนี้ได้รับการถวายให้กลายเป็นวัดแล้ว

ภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง
มัณฑเลย์
ประติมากรรมภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง

เนื่องจากรัชสมัยพระเจามินดงเป็นช่วงที่อิทธิพลตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทมากในศิลปะพม่า ทำให้เกิดการนำเอาลายอะแคนธัส หรือใบผักกาดฝรั่งมาประยุกต์ใช้ประดับสถาปัตยกรรมพม่าอย่างมาก ภาพนี้เป็นภาพสลักเล่าเรื่องชาดกซึ่งล้อมรอบไปด้วยลายอะแคนธัส ซึ่งประดับอยู่ที่มุมของชานชาลายกพื้นภายในอาคารของชเวนันดอจอง เป็นไปได้ที่การประดับดังกล่าวถูกสลักเพิ่มเติมขึ้นเมื่ออาคารหลังนี้ได้รับการถวายให้กลายเป็นวัดแล้ว

ภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง
มัณฑเลย์
ประติมากรรมภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง

เนื่องจากรัชสมัยพระเจามินดงเป็นช่วงที่อิทธิพลตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทมากในศิลปะพม่า ทำให้เกิดการนำเอาลายอะแคนธัส หรือใบผักกาดฝรั่งมาประยุกต์ใช้ประดับสถาปัตยกรรมพม่าอย่างมาก ภาพนี้เป็นภาพสลักเล่าเรื่องชาดกซึ่งล้อมรอบไปด้วยลายอะแคนธัส ซึ่งประดับอยู่ที่มุมของชานชาลายกพื้นภายในอาคารของชเวนันดอจอง เป็นไปได้ที่การประดับดังกล่าวถูกสลักเพิ่มเติมขึ้นเมื่ออาคารหลังนี้ได้รับการถวายให้กลายเป็นวัดแล้ว