ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมพระพุทธรูปประธานของจันทิเมนดุต
พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท มีรูปแบบที่แสดงอิทธิพลจากศิลปะจาลุกยะที่ถ้ำเอลโลร่ากับศิลปะปาละจากอินเดียภาคตะวันออก พระพุทธรูปมีอุณาโลมตามแบบศิลปะปาละแต่กลับห่มเฉียงดังที่ปรากฏกับพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทที่ถ้ำอชันตาและเอลโลร่า พระพุทธองค์แสดงการจับชายจีวรขณะนั่งห้อยพระบาทรวมถึงปรากฏชายจีวรที่ตกลงมาระหว่างพระเพลาทั้งสองข้างซึ่งคล้ายคลึงกับศิลปะที่ถ้ำเอลโลร่า ส่วนบัลลังก์ที่ประดับด้วยมกร วยาลและช้างก็ปรากฏมาก่อนแล้วทั้งที่ถ้ำเอลโลร่าและในศิลปะปาละ
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรภายในจันทิเมนดุต
ด้านข้างของพระพุทธรูปภายในจันทิเมนดุตปรากฏพระโพธิสัตว์ขนาบสองข้าง คือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์หนึ่ง และพระโพธิสัตว์วัชรปาณิอีกองค์หนึ่ง พระโพธิสัตว์ที่จันมิเมนดุตมีเครื่องแต่งกายที่คล้ายคลึงกับศิลปะปาละมาก ทั้งการทรงกระบังหน้าที่มีตาบสามเหลี่ยม 3 จุด รูปแบบชฎามกุฏทรงกระบอกและการสวมวาสตรยัชโญปวีต รวมถึงการนั่งลลิตาสนะบนฐานกลีบบัวและรูปแบบพนักบัลลังก์
ประติมากรรมพระพุทธเจ้าเสด็จข้ามแม่น้ำเนรัญชรา
รูปแบบศิลปะของภาพสลักที่บุโรพุทโธมีความคล้ายคลึงศิลปะอินเดียเป็นอย่างมาก ทั้งรูปแบบเครื่องแต่งกายของประติมากรรม ข้าวของเครื่องใช้ ตัวละครที่กลมกลึงและมีการเว้นพื้นที่ว่างเปล่า ทั้งหมดนี้แสดงว่าศิลปะชวาภาคกลางมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะอินเดีย
ประติมากรรมพระพุทธเจ้าทรงชนะมาร
รูปแบบศิลปะของภาพสลักที่บุโรพุทโธมีความคล้ายคลึงศิลปะอินเดียเป็นอย่างมาก ทั้งรูปแบบเครื่องแต่งกายของประติมากรรม ข้าวของเครื่องใช้ ตัวละครที่กลมกลึงและมีการเว้นพื้นที่ว่างเปล่า ทั้งหมดนี้แสดงว่าศิลปะชวาภาคกลางมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะอินเดีย
ประติมากรรมการอภิเษกพระพุทธเจ้าภายหลังการปฐมเทศนา
รูปแบบศิลปะของภาพสลักที่บุโรพุทโธมีความคล้ายคลึงศิลปะอินเดียเป็นอย่างมาก ทั้งรูปแบบเครื่องแต่งกายของประติมากรรม ข้าวของเครื่องใช้ ตัวละครที่กลมกลึงและมีการเว้นพื้นที่ว่างเปล่า ทั้งหมดนี้แสดงว่าศิลปะชวาภาคกลางมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะอินเดีย
ประติมากรรมพระธยานิพุทธรัตนสัมภวะ
พระพุทธรูปในศิลปะชวาภาคกลางได้รับอิทธิพลที่ปะปนระหว่างศิลปะหลังคุปตะและศิลปะปาละของอินเดีย พระพุทธรูปมีพระวรกายอวบอ้วน มีอุณาโลมกลางพระนลาฏตามแบปาละ ห่มเฉียงแต่ไม่มีชายจีวรที่พระอังสาซ้ายซึ่งคล้ายกับศิลปะหลังคุปตะมากกว่า ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรตามแบบอินเดียเหนือและอยู่บนฐานกลีบบัวแบบปาละ
ประติมากรรมพระธยานิพุทธ อมิตาภะ
พระพุทธรูปในศิลปะชวาภาคกลางได้รับอิทธิพลที่ปะปนระหว่างศิลปะหลังคุปตะและศิลปะปาละของอินเดีย พระพุทธรูปมีพระวรกายอวบอ้วน มีอุณาโลมกลางพระนลาฏตามแบปาละ ห่มเฉียงแต่ไม่มีชายจีวรที่พระอังสาซ้ายซึ่งคล้ายกับศิลปะหลังคุปตะมากกว่า ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรตามแบบอินเดียเหนือและอยู่บนฐานกลีบบัวแบบปาละ
พระพุทธรูป
ในศิลปะชวาภาคกลางพระพุทธรูปมีรูปแบบที่ค่อนข้างหลากหลาย โยพระพุทธรูปองค์นี้แสดงให้เห็นการครองจีวรห่มคลุมและจีวรเรียบไม่มีริ้วตามแบบศิลปะคุปตะสกุลช่างสารนาถ อย่างไรก็ตาม พระพุทธรูปกลับยกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นขนานกัน แม้ว่าพระหัตถ์ทั้งสองจะหักไปหมดแล้วแต่กลับทำให้นึกถึงการแสดงวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์ซึ่งปรากฏเช่นกันในศิลปะทวารวดีและศิลปะขอมก่อนเมืองพระนคร