ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมโบสถ์ซานโตนีโญ่
โบสถ์ซานโตนีโญ ถือเป็นโบสถ์ที่แสดงความเป็นโบสถ์แบบคลาสิกได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งในมะนิลา เนื่องจากโบสถ์ประกอบด้วยหน้าบันสามเหลี่ยม รองรับด้วยเสาติดผนังแบบไอโอนิก และแผงด้านหน้าโบสถ์ท่แบ่งออกเป็นสองชั้น แต่ละชั้นเป็นซุ้มจั่วสามเหลี่ยมสลกับกับอาร์รคโค้ง
สถาปัตยกรรมโบสถ์ซานตามาเรีย
โบสถ์แห่งเมือง Santa Maria มีผนังด้านหน้าตามแบบบารอค โดย façade ขนาบด้วยหอคอยสองด้านและเสาอีกสองต้น แบ่งพื้นที่ออกเป็นสามส่วน ด้านบนปรากฏหน้าบันแบบบารอคที่ใช้หน้าบันวงโค้งตรงกลางขนาบด้วยหน้าบันโค้งเว้า ทางด้านข้างซึ่งทำให้หน้าบันด้านบนมีความลื่นไหลแตกต่างไปจากแบบคลาสิก ที่ปลายสุดซึ่งตรงกับหอคอยขนาบข้างนั้นปรากฏการประดับถ้วยรางวัล ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นองค์ประกอบแบบบารอค ด้านข้างของโบสถ์นั้นถูกค้ำยันด้วย buttress ที่หนาหนัก อันเป็นการทำให้ผนังด้านข้างของโบสถ์ทนต่อแผ่นดินไหวอันรุนแรงของฟิลิปปินส์
สถาปัตยกรรมโบสถ์ประจำสุสานเมืองวีกัน
โบสถ์ประจำสุสาน (Cemetery Chapel )ซึ่งเรียกกันในภาษาพื้นเมืองว่า Simbaan a Bassit ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองวีกัน สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1852 เป็นโบสถ์ขนาดเล็กที่มีแผงด้านหน้าแบบบารอคอย่างชัดเจน โดยแบ่งแผงด้านหน้าออกเป็นห้าส่วนด้วยเสาติดผนัง ด้านบนปรากฏหน้าบันโค้งเว้าตามแบบบารอค ด้านข้างประดับด้วย volute ขนาดใหย่ตามแบบบารอค และปรากฏประตูที่ใช้เป็นประตูเข้าไปสู่สุสาน การที่หน้าบันของ façade ใช้เป็นที่แขวนระฆังด้วยนั้น ถือเป็นรูปแบบที่พบไม่บ่อยนักในศิลปะฟิลิปปินส์ (ส่วนนี้เรียกในภาษาสเปนว่า Espadraña)
สถาปัตยกรรมโบสถ์เมืองปาวาย
โบสถ์แห่งนี้สร้างขึ้นใน ค.ศ.1699 แต่ต่อมาได้พังทลายลงเนื่องด้วยแผ่นดินไหว จึงมีการสร้างใหม่ใน ค.ศ.1710 ซึ่งยังคงปรากฏมาถึงปัจจุบัน แผงด้านหน้าของโบสถ์เมืองปาวาย สร้างขึ้นด้วยอิฐและปูนปั้น อันแตกต่างไปจากผนังด้านข้างที่สร้างด้วยหินปะการัง แผงด้านหน้า (façade) ที่นี่ประดับด้วยเสาติดผนัง 6 ต้น ซึ่งแบ่งแผงด้านหน้าออกเป็น 5 ส่วน ด้านบนครอบด้วย pediment แบบคลาสิก แต่มีที่แขวนระฆังขนาดเล็กอยู่ด้านบนสุดของหน้าบันด้วย ในส่วน nave ปรากฏประตูอาร์คโค้งเพียงบานเดียว และไม่มีประตูสำหรับ aisle ส่วนที่บริเวณหน้าจั่ว (Tympanum) ปรากฏอาร์ควงโค้งเพื่อทำห้าที่เป็นหน้าต่างและซุ้ม นอกจากนี้ยังมีการประดับตราอาร์มของตระกูลที่อุปถัมภ์โบสถ์ดังกล่าว
สถาปัตยกรรมค้ำยันของโบสถ์เมืองปาวาย
ค้ำยันด้านข้างของโบสถ์เมืองปาวาย ซึ่งถือเป็นตัวอย่างค้ำยันกำแพงที่สร้างขึ้นอย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันการพังทลายจากแผ่นดินไหว ค้ำยันนี้มีลักษณะเป็นขมวด volute ซึ่งเป็นลักษณะของศิลปะบารอก ถือเป็นค้ำยันที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะฟิลิปปินส์ โบสถ์ในสกุลช่างโลวาก-วีกัน มักปรากฏค้ำยันขนาดใหญ่เช่นนี้เสมอ และมีบันได 1 อันแทรกอยู่ระหว่างค้ำยันเพื่อสำหรับขึ้นไปยังหลังคาโบสถ์ ลักษณะเช่นนี้ปรากฏเช่นกันที่โบสถ์ Santa Maria ใกล้เมืองวีกัน แต่แตกต่างไปจากสกุลช่างมะนิลาอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากโบสถ์ในสกุลช่างมะนิลาไม่เน้นการเสริมค้ำยัน
สถาปัตยกรรมภายในโบสถ์เมืองปาวาย
ภายในโบสถ์เมืองปาวาย เป็นโบสถ์ที่ปรากฏแท่นบูชา (altar) จำนวนสามซุ้มตามความนิยมของโบสถ์เมืองโลวาก-วีกัน ซุ้มกลางประดิษฐานนักบุญออกุสติน ส่วนซุ้มด้านข้างประดิษฐานพระเยซูและครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ โบสถ์มีความยาวมากแต่มีหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงสังกะสี อนาง น่าสังเกตว่าหลงคาแบบง่ายๆเช่นนี้เป็นความนิยมของโบสถ์สกุลช่างเมืองโลวาก-วีกัน
สถาปัตยกรรมหอคอยประจำโบสถ์เซนต์วิลเลี่ยม
ลักษณะของหอระฆังในสกุลช่างเมืองโลวากนั้น แตกต่างไปจากสกุลช่างเมือวีกันอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากหอระฆังสกุลช่างวีกันมักเป็นแปดเหลี่ยมแต่หอระฆังสกุลช่างโลวากกลับเป็นสี่เหลี่ยมซ้อนกันหลายชั้นเสมอ ซึ่งเป็นระเบียบที่สืบทอดมาจากหอระฆังของโบสถ์เมืองปาวาย อันสืบทอดมาจากศิลปะสเปนอีกทีหนึ่ง น่าสังเกตว่า ที่มุมด้านข้างของหอคอยปรากฏค้ำยัน (Buttress) ขนาดใหญ่จำนวนมาก และสร้างขึ้นห่างจากโบสถ์เนื่องจากกลัวว่าหอคอยจะล้มทับโบสถ์หากเกิดแผ่นดินไหว หอคอยในแถบนี้จึงตั้งแยกจากโบสถ์เสมอ
จิตรกรรมภาพเขียนเพดาน โบสถ์ซานออกุสติน
จิตรกรรมบนเพดานภายในโบสถ์ซานออกุสติน มะนิลา ซึ่งจากภาพนี้จะเห็นจิตรกรรมภาพลวงตา (Trompe l’oeil)ได้อย่างชัดเจน จิตรกรรมนี้วาดขึ้นโดยจิตรกรชาวอิตาเลี่ยนจำนวนสองคนใน ค.ศ.1875 อนึ่ง จิตรกรมแบบลวงตานี้ปรากฏมาก่อนแล้วในยุโรปตั้งแต่สมัยเรอเนสซองส์หรือบาโรค โดยมีทั้งแบบที่วาดเป็นท้องฟ้าให้เกิดความเวิ้งว้างสุดลูกตา หรือเป็นการลวงตาโดยใช้สถาปัตยกรรมเป็นเส้นนำสายตาให้ดูสูงขึ้นลึกเข้าไปในเพดานที่ไม่ได้สูงจริง