ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 6 จาก 6 รายการ, 1 หน้า
ปราสาทโลเลย
เรอลั้วะ
สถาปัตยกรรมปราสาทโลเลย

ปราสาทโลเลยประกอบด้วยปราสาทก่อด้วยอิฐประดับด้วยปูนปั้นจำนวน 4 หลัง ตั้งเรียนกันบนพื้นราบซึ่งคงมีพื้นฐานมาจากปราสาทพระโคที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับบรรพบุรุษเช่นเดียวกัน รายละเอียดทางสถาปัตยกรรมคล้ายคลึงกับปราสาทตระพังพงและปราสาทบากอง กล่าวคือ ประกอบด้วยทับหลังและประตูหลอกที่สลักด้วยหิน ส่วนด้านข้างของเรือนธาตุปรากฏรูปเทพและเทพธิดาทวารบาล ด้านบนเป็นชั้นวิมานตามแบบอินเดียใต้แต่มีการยกเก็จจำนวนมากที่เก็จประธาน

ทวารบาลจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมทวารบาลจากปราสาทดงเดือง

ที่โคปุระของปราสาทมีทวารบาลประดิษฐานอยู่ ทวารบาลดังกล่าวแสดงท่าทางข่มขู่ ยกมือเงื้ออาวุธจะทำร้ายและมีหน้าตาดุร้าย ขาทั้งสองข้างยืนเหยียบอสูรดุร้ายอยู่ ท่าทางที่แสดงความดุร้ายข่มขู่เช่นนี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของทวารบาลแบบจีน ในขณะเดียวกันการแต่งตัวของประติมากรรมกลับแสดงความเป็นพื้นเมืองดงเดือง อย่างมาก ทั้งในด้านมงกุฎซึ่งประดับด้วยตาบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดใหญ่ และการเปลือยท่อนบนและทรงผ้านุ่งก็ล้วนแต่แสดงความเป็นพื้นเมืองจาม

ทวารบาลจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมทวารบาลจากปราสาทดงเดือง

ที่โคปุระของปราสาทมีทวารบาลประดิษฐานอยู่ ทวารบาลดังกล่าวแสดงท่าทางข่มขู่ ยกมือเงื้ออาวุธจะทำร้ายและมีหน้าตาดุร้าย ขาทั้งสองข้างยืนเหยียบอสูรดุร้ายอยู่ ท่าทางที่แสดงความดุร้ายข่มขู่เช่นนี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของทวารบาลแบบจีน ในขณะเดียวกันการแต่งตัวของประติมากรรมกลับแสดงความเป็นพื้นเมืองดงเดือง อย่างมาก ทั้งในด้านมงกุฎซึ่งประดับด้วยตาบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดใหญ่ และการเปลือยท่อนบนและทรงผ้านุ่งก็ล้วนแต่แสดงความเป็นพื้นเมืองจาม

ทวารบาล
เสียมเรียบ
ประติมากรรมทวารบาล

ประติมากรรมทวารบาล สลักเครื่องทรงอย่างเต็มที่ สวมกระบังหน้าและทำมวยผมเป็นทรงกระบอกตามรูปแบบของประติมากรรมในสมัยเมืองพระนคร มีการสวมเข็มขัดรูปวงโค้ง และ อุทรพันธะ (เข็มขัดคาดท้อง) นุ่งผ้าแบบสมพตสั้นมีการอัดพลีต มีการชักชายผ้านุ่งแบบชายผ้ารูปหางปลาชายเดียวด้านหน้าและชายพกด้านข้างแบบไม่เป็นธรรมชาติ ตามรูปแบบศิลปะสมัยเมืองพระนคร

ทับหลัง
เรอลั้วะ
ประติมากรรมทับหลัง

ทับหลัง เป็นชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมที่พบในศิลปะเขมร โดยจะติดตั้งอยู่บนกรอบประตูทางเข้าเสมอทับหลังในสมัยพระโคจะมีลักษณะรับอิทธิพลมาจากศิลปะกุเลน ผ่านศิลปะชวา กล่าวคือการทำหน้ากาลอยู่กึ่งกลางด้านบนของท่อนพวงมาลัย ปลายทั้งสองข้างทำเป็นมกรหันหน้าออก ตามแบบซุ้มกาล-มกรตามศิลปะชวาภาคกลางแต่อย่างไรก็ตามในศิลปะพระโคสามารถทำเป็นประติมากรรมอื่นๆหันออกแทน ดังเช่นในภาพเป็นคชสิงห์ยืนอยู่บนแท่นท่อนพวงมาลัยมีการทำลายใบไม้ตั้งขึ้น ห้อยลงตามแบบศิลปะกุเลนลายดอกไม้กลมได้ปรับเปลี่ยนเป็นการแทรกภาพบุคคลอยู่ระหว่างท่อนพวงมาลัยรวมถึงภาพบุคคลที่แทรกอยู่ในส่วนของใบไม้ตกลงใต้ท่อนพวงมาลัยระหว่างช่องใบไม้ตกลงปรากฏการทำใบไม้สามเหลี่ยมแทรกอยู่ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาต่อไปในศิลปะเกาะแกร์ด้านล่างของแผ่นทับหลังปรากฏการทำแถวดอกบัวซึ่งต่อมาจะเป็นรูปแบบที่ส่งให้กับทับหลังในสมัยศิลปะแปรรูป

พญานาค
เสียมเรียบ
ประติมากรรมพญานาค

ประติมากรรมพญานาค มักปรากฏอยู่ในส่วนของราวทางเดิน หรือบันได มีลักษณะเป็นนาคหลายเศียร โดยเฉพาะนิยมการทำนาค 7 เศียร ตัวนาคในศิลปะเขมรในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 16 นิยมทำนาคหัวโล้นไม่มีการสวมกระบังหน้า