ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมอาคารพิพิธภัณฑ์ปีนัง
อาคารพิพิธภัณฑ์ปีนัง เป็นอาคารในสมัยอาณานิคมที่น่าสนใจในแง่ของการผสมผสานระหว่างแบบคลาสิกและแบบบารอค แผนผังอาคารเป็นแบบ Palladian ซึ่งเป็นแผนผังทีนิยมสำหรับสถานที่ราชการในสมัยนี้ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาคารล้วนแต่เป็นแบบคลาสิก ซึ่งเสาดอริคและโครินเธียนมารองรับอาร์คโค้งที่วางต่อเนื่องกันแบบ loggia อย่างไรก็ตาม หน้าบันกลางกลับอยู่ในรูปของหน้าบันบารอคซึ่งน่าสนใจว่าพบอาคารในลักษณะผสมผสานเช่นนี้ หลายหลังในมาเลเซีย เช่น เมืองไตปิง
สถาปัตยกรรมศาลาว่าการเมืองอิโปห์
เค้าโครงของอาคารแห่งนี้มีผังแบบ Palladian คือมีมุขยื่นออกมาและมีการชัดปีกอาคารให้อื่นออกไปทั้งสองด้านอย่างสมมาตร เนื่องจากแผนผังแบบนี้ดูมีเหตุผล เหมาะสมกับสถานที่ราชการ องค์ประกอบรวมของอาคารก็เป็นแบบ Classic เช่นการประดับ pediment รูปสามเหลี่ยม อาร์คโค้งและเสาดอริค เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อาคารแห่งนี้มีการออกแบบให้ดูแปลกตาออกไปด้วยการ ทำเป็นมุขยื่นออกมาด้านข้างในแนวเฉียง ซึ่งถือเป็นลูกเล่นที่ทำให้อาคารแห่งนี้น่าสนใจ
สถาปัตยกรรมโรงเรียนเซนต์ไมเคิล
เค้าโครงของอาคารเรียนแห่งนี้มีผังแบบ Palladian คือมีมุขยื่นออกมาและมีการชัดปีกอาคารให้อื่นออกไปทั้งสองด้านอย่างสมมาตร เนื่องจากแผนผังแบบนี้ดูมีเหตุผล เหมาะสมกับโรงเรียน มหาวิทยาลัยและสถานที่ราชการ องค์ประกอบรวมของอาคารก็เป็นแบบ Classic เช่นการประดับ pediment รูปสามเหลี่ยม เป็นต้น แม้ว่าจะมีรายละเอียดเล็กน้อยที่เป็นโกธิคก็ตาม
สถาปัตยกรรมสถานีรถไฟเมืองอิโปห์
เค้าโครงของอาคารแห่งนี้มีผังแบบ Palladian คือมีมุขยื่นออกมาและมีการชัดปีกอาคารให้อื่นออกไปทั้งสองด้านอย่างสมมาตร เนื่องจากแผนผังแบบนี้ดูมีเหตุผล เหมาะสมกับสถานที่ราชการ องค์ประกอบรวมของอาคารก็เป็นแบบ Classic เช่นการประดับ pediment รูปสามเหลี่ยม อาร์คโค้งและเสาดอริค เป็นต้น โดยมีโดมกลมครอบอยู่ที่ด้านบนของมุขกลาง อย่างไรก็ตาม อาคารแห่งนี้มีการออกแบบให้ดูแปลกตาออกไปด้วยการกำหนดให้หน้าบันกลางและหน้าบันด้านข้างมีลักษณะต่างกัน เล็กน้อย รวมถึงรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมของชั้นบนและชั้นล่างที่แตกต่างกัน
สถาปัตยกรรมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์ ถือเป็นอาคารแบบพัลลาเดียนที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในสิงคโปร์ เป็นอาคารที่มีองค์ประกอบแบบคลาสิกทั้งหมด อาร์คโค้ง เสาดอริก-ไอโอนิก หน้าจั่วสามเหลี่ยมและโดมกลม แผนผังอยู่แบบพัลลาเดียน คือแผนผังรูปตัว E ที่มีมุขกลางยื่นออกมาด้านหน้าและชักปีกออกไปสองด้าน ที่ปลายสุดมีมุขขนาบ แผนผังแบบนี้ถือเป็นแผนผังที่มีเหตุผลและใช้กับสถานที่ราชการทั้งในยุโรปและในประเทศอาณานิคมต่างๆ
สถาปัตยกรรมอาคารศาลฎีกาเก่า
อาคารศาลฎีกาเก่า สร้างข้นในแผนผังแบบพัลลาเดียนเช่นเดียวกับอาคารสถานที่ราชการแห่งอื่นๆในสิงคโปร์ คือ เป็นอาคารในผังรูปตัว E มีมุขด้านหน้าและมีการชักปีกออกมาสองข้าง ตรงกลางเป็นมุขซึ่งมี Pediment สามเหล่ยมแบบกรีก-โรมัน รองรับด้วยเสาโครินเธียนจำนวนหนึ่ง ด้านบนสุดมีโดม ซึ่งมีคอโดมประดับด้วยเสาสลับกับซุ้มหน้าต่าง ด้านบนสุดของโดมมีหอ Lantern องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมทั้งหมดนี้วนแต่เป็นแบบคลาสิก ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่นิยมใช้กับสถานที่ราชการในสมัยอาณานิคมอังกฤษ ทั้งในอินเดีย มาเลเซียและสิงคโปร์
สถาปัตยกรรมมุขด้านหน้าของอาคารศาลฎีกาเก่า
อาคารศาลฎีกาเก่า สร้างข้นในแผนผังแบบพัลลาเดียนเช่นเดียวกับอาคารสถานที่ราชการแห่งอื่นๆในสิงคโปร์ คือ เป็นอาคารในผังรูปตัว E มีมุขด้านหน้าและมีการชักปีกออกมาสองข้าง ตรงกลางเป็นมุขซึ่งมี Pediment สามเหล่ยมแบบกรีก-โรมัน รองรับด้วยเสาโครินเธียนจำนวนหนึ่ง ด้านบนสุดมีโดม ซึ่งมีคอโดมประดับด้วยเสาสลับกับซุ้มหน้าต่าง ด้านบนสุดของโดมมีหอ Lantern องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมทั้งหมดนี้วนแต่เป็นแบบคลาสิก ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่นิยมใช้กับสถานที่ราชการในสมัยอาณานิคมอังกฤษ ทั้งในอินเดีย มาเลเซียและสิงคโปร์
สถาปัตยกรรมสถาบันเซนต์โจเซฟ
เป็นอาคารในแผนผังแบบพัลลาเดียนที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในสิงคโปร์ เนื่องจากประกอบไปด้วยมุขกลางซึ่งมีหน้าบันวงโค้ง และมีโดมกลาง ปีกอาคารทั้งสองข้างเป็นวงโค้งอาร์คสลับกับเสาต่อเนื่องกัน โดยวงโค้งอาร์คด้านบนมีการแบ่งเป็นสองช่วงซึ่งทำให้นึกถึงศิลปะโกธิคพอสมควร อย่างไรก็ตาม ลักษณะโดยรวมของอาคารทั้งหมดยังมีองค์ประกอบหลักเป็นแบบคลาสิก