ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 6 จาก 6 รายการ, 1 หน้า
หอคอยของมัสยิดกปิตันกลิง
จอร์จทาวน์
ประติมากรรมหอคอยของมัสยิดกปิตันกลิง

มัสยิดกปิตันกลิง เป็นมัสยิดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะโมกุลของอินเดียเป็นหลัก เป็นไปได้ที่สถาปนิกผู้ออกแบบมัสยิดพยายามที่จะแสดงความเป็นอินเดียให้มากที่สุดเพื่อให้ตอบรับกับประวัติที่ว่าผู้สร้างมัสยิดคนแรกเป็นชาวอินเดียด้วยเหตุนี้ หอคอยซึ่งแสดงอิทธิพลศิลปะโมกุลอย่างชัดเจน เช่น หอคอยทรงแปดเหลี่ยมที่ประกอบด้วยระเบียงหลายชั้น ด้านบนสุดเป็นฉัตรี (Chhatri) ซึ่งหมายถึงอาคารแปดเหลี่ยมที่มีเสาแปดต้นรอบรับโดมขนาดเล็ก

หอคอยของมัสยิดมลายู
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมหอคอยของมัสยิดมลายู

มัสยิดแห่งนี้มีหอคอยที่โดดเด่น ซึ่งมีทรงสอบเข้าแลมีระเบียงด้านบนเพียงระเบียงเดียว ลักษณะเช่นนี้ดูคล้ายประภาคารหรือหอคอยสำหรับการเดินเรือ ประภาคารเป็นวัฒนธรรมแบบอังกฤษที่เข้ามาในมาเลเซียและเป็นแหล่งบันดาลใจให้เกิด “หอคอยมัสยิดแบบประภาคาร” ขึ้นในศิลปะมาเลเซีย นอกจากที่นี่แล้ว มัสยิดกำปงฮูลูที่เมืองมะละกาก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน

หอคอยมัสยิดกำปงกลิง
มะละกา
สถาปัตยกรรมหอคอยมัสยิดกำปงกลิง

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย

หอคอยมัสยิดกำปงฮูลู
มะละกา
ประติมากรรมหอคอยมัสยิดกำปงฮูลู

หอคอยมัสยิดกำปงฮูลู มีลักษณะพิเศษและน่าสนใจ เนื่องจากเป็นหอคอยที่จำลองแบบมาจากประภาคาร เป็นหอคอยในผังแปดเหลี่ยมทรงสอบซึ่งมีอาคารอยู่ด้านบน แตกต่างไปหอคอยของมัสยิดกำปงกลิงที่เป็นหอคอยแบบถะจีน อนึ่งการใช้ประภาคารมาเป็นหอคอยมัสยิดนั้นแสดงอิทธิพลแบบตะวันตกที่ถูกประยุกต์ใช้ในเอเชียอาคเนย์ พบอีกที่หนึ่งคือหอคอยของมัสยิดมลายูที่เมืองปีนัง

หอคอยประจำโบสถ์เซนต์วิลเลี่ยม
ลาวัก
สถาปัตยกรรมหอคอยประจำโบสถ์เซนต์วิลเลี่ยม

ลักษณะของหอระฆังในสกุลช่างเมืองโลวากนั้น แตกต่างไปจากสกุลช่างเมือวีกันอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากหอระฆังสกุลช่างวีกันมักเป็นแปดเหลี่ยมแต่หอระฆังสกุลช่างโลวากกลับเป็นสี่เหลี่ยมซ้อนกันหลายชั้นเสมอ ซึ่งเป็นระเบียบที่สืบทอดมาจากหอระฆังของโบสถ์เมืองปาวาย อันสืบทอดมาจากศิลปะสเปนอีกทีหนึ่ง น่าสังเกตว่า ที่มุมด้านข้างของหอคอยปรากฏค้ำยัน (Buttress) ขนาดใหญ่จำนวนมาก และสร้างขึ้นห่างจากโบสถ์เนื่องจากกลัวว่าหอคอยจะล้มทับโบสถ์หากเกิดแผ่นดินไหว หอคอยในแถบนี้จึงตั้งแยกจากโบสถ์เสมอ

นากอร์ดารกาห์
สิงคโปร์
สถาปัตยกรรมนากอร์ดารกาห์

นากอร์ดารดาห์เป็นสุสานจำลอง ไม่ได้เป็นมัสยิด ด้วยเหตุนี้ องค์ประกอบของแผ่นผังจึงมีลักษณะเป็นห้องสุสานมากกว่าที่จะเป็นโถงสำหรับการทำละหมาด ที่มุมทั้งสี่ปรากฏหอคอยซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆ โดยเป็นหอคอยปลอม หอคอยดังกล่าวนี้เป็นการจำลองหอคอยที่นกาอร์ดารกาห์ในรัฐทมิฬนาฑุของอินเดียใต้ โดยต่อมาได้กลายเป็นนิยมสำหรับหอคอยหลายแห่งในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์