ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 6 จาก 6 รายการ, 1 หน้า
ซุ้มกาลมกร
โฮจิมินห์
ประติมากรรมซุ้มกาลมกร

เนื่องด้วยอิทธิพลแบบอินเดียชวาได้เข้ามามีบทบาทอีกครั้งหนึ่งในศิลปะมิเซิน A1 ด้วยเหตุนี้ ลวดลายหน้ากาล-มกรซึ่งนิยมใช้ประดับซุ้มกูฑุในศิลปะชวาจึงได้เข้ามามีบทบาทใหม่หลังจากที่ได้เสื่อมความนิยมไปแล้วก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ซุ้มกาลมกรในศิลปะมิเซิน A1 กลับมีลักษรเฉพาะตัว คือ มกรมักโผล่ออกมาจากด้านข้างหูของหน้ากาล นอกจากนี้ยังคายเลียงผาออกมาทั้งสองข้าง

หน้ากาลแบบชวาภาคตะวันออก
ตุมปัง
ประติมากรรมหน้ากาลแบบชวาภาคตะวันออก

หน้ากาลในศิลปะชวาภาคตะวันออกมีความดุร้ายกว่าหน้ากาลชวาภาคกลางมาก มีตาถลนโปน ปากมีเขี้ยวทั้งปากบนและปากล่าง มีเขาและมีกะโหลก รวมถึงมีมือทั้งสองที่ยกขึ้นแสดงท่าขู่ “ดรรชนีมุทรา” อนึ่ง การที่หน้ากาลมีทั้งริมฝีปากบนและริมฝีปากล่างนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า คติแบบอินเดียที่หน้ากาลไม่มีปากล่างได้สูญหายไปแล้ว

ทับหลัง
ประติมากรรมทับหลัง

ทับหลัง เป็นชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมที่พบในศิลปะเขมร โดยจะติดตั้งอยู่บนกรอบประตูทางเข้าเสมอ ทับหลังในพระโคเริ่มปรากฏหน้ากาลตามอทธิพลชวา อย่างไรก็ตาม ลักษณะเด่นของทับหลังชิ้นนี้ก็คือการประดับบริเวณเสี้ยว (เศษ 1 ส่วน 4) ของท่อนพวงมาลัยด้วยรูป “ใบหน้าสัตว์ขบท่อนพวงมาลัย” ซึ่งต่อไปจะเป็นต้นแบบของเสี้ยวพวงอุบะในศิลปะบันทายสรีและบาปวน

ลายประดับ รูปหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัย
เสียมเรียบ
ประติมากรรมลายประดับ รูปหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัย

ปรากฏหน้ากาลในตำแหน่งด้านบนของเรือนธาตุ หน้ากาลไม่ปรากฏปากล่าง คายท่อนพวงมาลัยที่มีลักษณะเป็นใบไม้ตกลง ภายในปรากฏการแทรกประติมากรรมบุคคลในลักษณะของการยืนหรือเต้นอยู่

ลายหน้ากาลคายพวงมาลัย-พวงอุบะ
พุกาม
ประติมากรรมลายหน้ากาลคายพวงมาลัย-พวงอุบะ

ที่ด้านบนของเรือนธาตุเจตียวิหารในศิลปะพุกาม ย่อมประดับด้วยลายหน้ากาลคายพวงมาลัย-พวงอุบะเสมอ ลวดลายดังกล่าวปรากฏมาก่อนในศิลปะปาละก่อนที่จะได้รับความนิยมอย่างมากในศิลปะพุกาม ลวดลายดังกล่าวยังแสดงให้เห็นความปรารถนาที่จะให้เรือนธาตุได้รับการตกแต่งด้วยดอกไม้สดเสมอ

ลายกาบล่างประดับหน้ากาล
พุกาม
ประติมากรรมลายกาบล่างประดับหน้ากาล

ที่ด้านล่างของเสาติดผนังที่ประดับเรือนธาตุเจตียวิหารในศิลปะพุกามตอนปลาย ย่อมประดับลาย “กาบล่าง” เสมอ อันเป็นส่วนหนึ่งของลายประดับเสาติดผนังจำนวนสามจุด คือ “กาบบน-ประจำยามอก-กาบล่าง” โดยลายทั้งหมดอยู่ในกรอบรูปสามเหลี่ยมและมีลายพันธุ์พฤกษาหรือลายกนกบรรจุอยู่เต็ม บางครั้งก็มีลายหน้ากาลคายพันธุ์พฤกษาด้วย