ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมสัตตมหาสถาน
1.รัตนบัลลังก์ พระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งใต้ต้นโพธิ์ ใต้ที่ประทับมีประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำรูปพญามารและบริวารพร้อมประติมากรรมศิลาจีนที่เป็นรูปสัตว์แต่งกายแบบชุดนักรบ หน้าตาท่าทางขึงขัง ซึ่งน่าจะหมายถึงบริวารของพญามาร แสดงถึงตอนตรัสรู้2.อนิมิสเจดีย์ พระพุทธรูปประทับยืนปางถวายเนตร โดยประดิษฐานอยู่ภายในเก๋งจีนที่แกะสลักจากศิลาเป็นรูปปราสาท แสดงถึงเมื่อภายหลังตรัสรู้ ได้ประทับทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์โดยไม่กระพริบพระเนตรเป็นเวลา 7 วัน3.รัตนจงกรม พระพุทธรูปประทับยืนบนฐานบัว โดยมีพระบาทเหลื่อมกัน พระหัตถ์ขวาวางหน้าพระเพลา พระหัตถ์ซ้ายทอดยาวตามพระวรกาย แสดงถึงตอนที่เสด็จพระดำเนินในจงกรมแก้วเป็นเวลา 7 วัน4.รัตนฆรเจดีย์ พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิบนฐานบัว ประสานพระหัตถ์ไว้ในพระอุระ ประดิษฐานภายในเก๋งศิลาจีนแทนเรือนแก้ว แสดงถึงเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่ 4 ที่มีเทพยดาได้เนรมิตเรือนแก้วถวายเพื่อให้ทรงพิจารณาธรรม5.อัชปาลนิโครธ พระพุทธรูปประทับนั่งใต้ต้นไทร พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาแสดงปางประทานอภัย มีประติมากรรมรูปธิดาพญามาร 3 นางอยู่เบื้องหน้า และด้านซ้ายขวาของพระพุทธรูป (น่าจะสร้างขึ้นใหม่ในภายหลัง ) แสดงถึงตอนที่ทรงเสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ 6 ขณะทรงพิจารณาพระอภิธรรม พญามารได้ให้ธิดาทั้ง 3 มายั่วยวนพระพุทธองค์แต่ทรงห้ามไว้6.มุจลินท์ พระพุทธรูปนาคปรกซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากที่อื่น โดยมีขนดนาคล้อมองค์พระจนสูงถึงพระอุระ ประดิษฐานใต้ต้นจิกหรือต้นมุจลินทร์ มีอ่างศิลาปลูกบัว มีปลาและเต่า แสดงถึงเหตุการณ์ตอนที่ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขใต้ต้นจิก เกิดพายุฝนลมแรง พญานาคมุจลินท์จึงแผ่พังพานป้องกันพระพุทธองค์7.ราชายตนะ พระพุทธรูปปางรับผลสมอ โดยประทับนั่งขัดสมาธิ ใต้ต้นเกด หรือต้นราชายตนะ พระหัตถ์ซ้ายหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาหงายบนพระชานุถือผลสมอ ใกล้กันมีศิลาจีนสลักเป็นรูปม้าและโคเทียมเกวียน หมายถึงคาราวานพ่อค้าของตปุสสะและภัลลิกะที่ได้นำข้าวสัตตุมาถวาย แสดงถึงเหตุการณ์ตอนเสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ 7 ซึ่งพระพุทธองค์ไม่ได้เสวยสิ่งใดเลยตลอด 49 วัน พระอินทร์จึงนำผลสมอซึ่งเป็นทิพยโอสถมาถวาย และพ่อค้าทั้งสองได้นำข้าสัตตุมาถวายเป็นภัตตาหารมื้อแรก
จิตรกรรมพุทธประวัติตอนสัตตมหาสถาน
จิตรกรรมที่นี่ดูเหมือนว่าจะเป็นลายเส้นบนพื้นสีครีม พระพุทธองค์ทรงมีชาวจีวรสองชั้นพาดพระอังสาซ้าย คือ ชายจีวรสั้นกับชายจีวรยาว ซึ่งถือเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะสมัยหลังพุกาม
จิตรกรรมพุทธประวัติตอนสัตตมหาสถาน
จิตรกรรมที่นี่ดูเหมือนว่าจะเป็นลายเส้นบนพื้นสีครีม พระพุทธองค์ทรงมีชาวจีวรสองชั้นพาดพระอังสาซ้าย คือ ชายจีวรสั้นกับชายจีวรยาว ซึ่งถือเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะสมัยหลังพุกาม