ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 5 จาก 5 รายการ, 1 หน้า
ปราสาทมิเซิน C1
ดุยเซ็น
สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน C1

ปราสาทมิเซิน C1 เป็นปราสาทประธานของมิเซินกลุ่ม C และเป็นปราสาทประธานเพียงหลังเดียววที่มีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีหลังคาเป็นทรงประทุน (เรียกว่าทรงศาลาในศิลปะอินเดียใต้) เนื่องจากปราสาทมีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำให้ด้านยาวมีเสาติดผนังจำนวนถึง 7 ต้น โดยสามารถมองเห็นได้เพียงหกต้นเท่านั้น เนื่องจากเสาต้นกลางถูกซุ้มบดบัง ซึ่งถือเป็นลักษณะที่ปรากฏเสมอๆในศิลปะมิเซิน A1 ซุ้มมีลักษณะเป็นซุ้มหน้านาง ซึ่งเป็นซุ้มที่สืบต่อมาจากซุ้มแบบดงเดือง แต่กลับเป็นซุ้มตอนเดียว ไม่ได้ปรากฏปีกนกต่อเนื่องกันลงมาซึ่งแตกต่างไปจากซุ้มดงเดือง ภายในซุ้มมักปรากฏเทวดาถือกระบอง ซึ่งเป็นลักษณะที่โดดเด่นของศิลปะมิเซิน A1

ที่ตั้งของปราสาทโพกลวงการาย
ฟานรัง
สถาปัตยกรรมที่ตั้งของปราสาทโพกลวงการาย

ที่ตั้งของปราสาทแห่งนี้ ได้แก่ยอดเนินเขา โดยมีการยกกลุ่มอาคารทั้งหมดขึ้นไปไว้ด้านบน ทั้งปราสาทประธาน บรรณาลัย มณฑป โคปุระ ที่ตั้งของปราสาทแห่งนี้ทำให้นึกถึงปราสาทบาญอี๊ดในจังหวัดบิญดิ่น การเลือกตั้งปราสาทอยู่บนยอดเขานั้น ปรากฏความนิยมมาก่อนแล้วตั้งแต่สมัยบิญดิ่น และดูเหมือนว่าในสมัยหลัง ก็ยังคงสืบทอดความนิยมดังกล่าวด้วย

ปราสาทจำลองของปราสาทโพกลวงการาย
ฟานรัง
สถาปัตยกรรมปราสาทจำลองของปราสาทโพกลวงการาย

ปราสาทจำลองทรงพุ่ม ถือเป็นลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมสมัยหลังของจาม พัฒนามาจากปราสาทจำลองทรงถะจีนซึ่งนิยมมาก่อนในศิลปะบิญดิ่นตอนปลาย เช่นปราสาทจำลองของปราสาทแก๋งเตียนในจังหวัดบิญดิ่น ปราสาทจำลองแบบนี้ทำให้สามารถกำหนดอายุว่า ปราสาทโพกลวงการายควรสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 19 ลงมา

บรรณาลัย (?) ของปราสาทโพกลวงการาย
ญาจาง
สถาปัตยกรรมบรรณาลัย (?) ของปราสาทโพกลวงการาย

บรรณาลัยของปราสาทโพกลางการาย เป็นอาคารในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลังคาเป็นทรงประทุน หรือทรงศาลา ในศัพท์สถาปัตยกรรมอินเดีย อนึ่ง บรรณาลัยปรากฏมาแล้วตั้งแต่ปราสาทมิเซิน โดยอยู่ในผังและมีหลังคาทรงนี้เสมอ รวมถึงตั้งอยู่ทางด้านข้างของปราสาทประธานเสมอๆ เนื่องจากบรรณาลัยแห่งนี้ตั้งอยู่ในกลุ่มปราสาทซึ่งกำหนดอายุอยู่ในสมัยหลัง ด้วยเหตุนี้ บรรณาลัยดังกล่าวจึงควรมีอายุอยู่ในระยะเดียวกัน ส่วนปราสาทจำลองทรงถะจีนที่มุมนั้นอาจแสดงถึงการสืบทอดรูปแบบมาจากสมัยบิญดิ่นตอนปลาย

ศิวนาฏราชบนหน้าบันของปราสาทโพกลวงการาย
ฟานรัง
ประติมากรรมศิวนาฏราชบนหน้าบันของปราสาทโพกลวงการาย

แม้ว่าปราสาทโพกลวงการายจะมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 19 แต่หน้าบันรูปพระศิวนาฏราชชิ้นนี้กลับมีอายุเก่ากว่าเล็กน้อย คืออยู่ในศิลปะบิ่ญดิ่น แสดงให้เห็นถึงการนำเอาศิลปกรรมเก่ากลับมาใช้ใหม่ รูปแบบของมงกุฎพระศิวะนั้นสามารถเทียบได้กับมงกุฎในศิลปะบิญดิ่นโดยทั่วไป คือประกอบด้วยตาบเล็กๆ ซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆ ในรูปสามเหลี่ยม ส่วนผ้านุ่งมีการชักชายผ้ารูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นลักษณะประจำของศิลปะบิญดิ่นเช่นกัน