ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมกู่พระเจ้าติโลกราช
เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดเดียว ฐานเขียงด้านล่าง 2 ฐานรองรับฐานบัวคว่ำบัวหงายคาดลูกแก้วอกไก่ 1 เส้น ต่อด้วยเรือนธาตุที่มีจระนำซุ้มทั้ง 4 ด้าน เสามีการประดับลายกาบบน กาบล่าง ถัดขึ้นเป็นหลังคาลาด 1 ชัด ต่อด้วยฐานเขียง ชุดฐานบัวคว่ำบัวหงายคาดลูกแก้วอกไก่ 1 เส้น 3 ฐานในผังกลมรองรับองค์ระฆัวกลม บัลลังก์ ก้อนฉัตร ปล้องไฉนและปลียอด
ประติมากรรมเทวดาปูนปั้น
การสร้างประติมากรรมรูปเทวดาที่รอบผนังวิหารใช้เทคนิคการก่อแนวอิฐหรือศิลาแลงขนาดไม่ใหญ่นักให้ยื่นล้ำออกมาจากผนังแล้วพอกปูนเพื่อให้ยึดเกาะกับผนัง จึงเกิดเป็นประติมากรรมนูนสูง รูปเทวดาประทับนั่งอยู่บริเวณผนังด้านทิศเหนือและทิศใต้ ส่วนเทวดาประทับยืนอยู่บริเวณผนังเพิ่มมุม ประติมากรรมทั้งหมดแบ่งเป็น 2 แถวตามแนวยาวของอาคาร โดยมีเสาปูนปั้นแบ่งคั่นจังหวะ เทวดาแต่ละองค์มีพระพักตร์รูปไข่ แย้มพระโอษฐ์ พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก สวมเครื่องประดับ ได้แก่ กรัณฑมงกุฎซึ่งมีประภามณฑลล้อมรอบ พาหุรัด กรองศอ ธำมรงค์ อุทรพันธะ นุ่งผ้ายาวกรอมข้อเท้าชักชายผ้าแผ่ออกมาที่ด้านหน้า และมีชายผ้าพลิ้วไหวผูกเป็นโบว์ที่ข้างลำตัวซึ่งแสดงให้เห็นว่าเทวดาเหล่านั้นกำลังเหาะท่ามกลางอากาศ รูปแบบการแต่งกายสัมพันธ์กับประติมากรรมรูปเทวดาในศิลปะลังกา ใกล้กันมีลวดลายปูนปั้นประดับ เช่น ลายมุกไฟ ลายดอกไม้ร่วง เช่น ดอกจำปา และดอกโบตั๋น