ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 5 จาก 5 รายการ, 1 หน้า
พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล
กรุงเทพมหานคร
สถาปัตยกรรมพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล

พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน และพระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร ล้วนเป็นเจดีย์ทรงเครื่องซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยเป็นรูปแบบที่สืบเนื่องมาจากศิลปะอยุธยาตอนปลาย มีองค์ประกอบที่สำคัญจากส่วนฐานได้แก่ ชุดฐานสิงห์ บัวทรงคลุ่ม องค์ระฆังเพิ่มมุม บัวทรงคลุ่มเถา ปลี ลูกแก้ว และปลียอด ประดับกระเบื้องเคลือบและกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายต่างๆ โดยพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณประดับกระเบื้องเคลือบสีเขียว พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทานประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขารประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ส่วนพระมหาเจดีย์ที่รัชกาลที่ 4 ทรงสร้าง มีรูปแบบเป็นเจดีย์เพิ่มมุม ประดับกระเบื้องเคลือบสีขาบหรือสีน้ำเงิน ซึ่งเจดีย์เพิ่มมุมเป็นรูปแบบที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนกลางเป็นต้นมา

พระบรมธาตุมหาเจดีย์
กรุงเทพมหานคร
สถาปัตยกรรมพระบรมธาตุมหาเจดีย์

เจดีย์ทรงระฆังในผังกลมขนาดใหญ่ ส่วนฐานประกอบด้วยช่องประตูวงโค้งสลับคั่นด้วยเสาหลอกอย่างตะวันตก บานประตูประดับเหล็กดัด มีบันไดทางขึ้นสู่ฐานประทักษิณด้านบน ซึ่งมีช่องประตูที่สามารถเข้าสู่บริเวณภายในองค์เจดีย์ได้ 4 ทิศ รูปแบบภายนอกของเจดีย์ประกอบด้วยส่วนรองรับองค์ระฆังที่เป็นชุดมาลัยเถาซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยอยุธยา แต่ได้เพิ่มมาลัยเถาให้เป็น 7 ชั้น ส่งผลให้องค์ระฆังมีขนาดเล็กลงกว่าเจดีย์ทรงระฆังในสมัยอยุธยา ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์สี่เหลี่ยม ก้านฉัตรหรือแกนปล้องไฉนที่มีเสาหารล้อมรอบ ปล้องไฉน ปลียอดและลูกแก้ว รอบพระเจดีย์มีระเบียงคดในผังกลม หลังคาตัดเรียบแบบดาดฟ้า ประดิษฐานเจดีย์รายซึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังจำนวน 18 องค์ ล้อมรอบเจดีย์ประธาน

พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ
ประจวบคีรีขันธ์
สถาปัตยกรรมพระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ

พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศตั้งอยู่บนเนินเขาธงชัย ริมหาดบ้านกรูด มีรูปแบบเป็นอาคารสูง 5 ชั้น ประดับชั้นบนสุดด้วยเจดีย์ทรงระฆังจำนวน 9 องค์ตัวอาคารประกอบด้วยชั้นต่างๆ 5 ชั้นดังนี้ชั้นที่ 1 ใช้เป็นที่เก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ โดยมีร่องระบายน้ำฝนจากด้านบนลงสู่ชั้นที่ 1 ได้หลายช่องทางชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงอเนกประสงค์ เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางธรรมในวันสำคัญต่างๆ ทางศาสนาชั้นที่ 3 เป็นวิหารที่มีความกว้างขวางสำหรับประกอบพิธีกรรมสำคัญอย่างการรับผ้ากฐิน ผ้าป่า และฟังธรรมเทศนา มีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือนประเพณีวัฒนธรรมในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทยชั้นที่ 4 เป็นอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูปประธานซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประธานอภัย อันเป็นรูปแบบเดียวกับพระพุทธรูปประจำพระชนมวารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เบื้องหลังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชั้นนี้มีระเบียงด้านนอกที่มองเห็นทิวทัศน์ทะเลบริเวณหาดบ้านกรูดผนังประดับกระจกสีเรื่องพระมหาชนกชาดก ชั้นที่ 5 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุภายในบุษบกซึ่งจะเปิดให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะเฉพาะเทศกาลวันวิสาขบูชา

มหาเจดีย์
สถาปัตยกรรมมหาเจดีย์

เจดีย์ประกอบด้วยฐานในผังแปดเหลี่ยมเพิ่มมุม เป็นฐานลาดตามแบบมอญ แต่กลับมีบันไดขึ้นและมีทางประทักษิณด้านบนตามแบบพม่า ถัดขึ้นไปได้แก่ฐานเขียงในผังกลมจำนวนมากตามแบบมอญ รองรับองค์ระฆัง ส่วนยอดเป็นของซ่อมใหม่สมัยปัจจุบัน การที่เจดีย์องค์นี้มีการผสมผสานกันระหว่างศิลปะมอญและศิลปะพม่านั้น สอดรับกับประวัติศาสตร์ของพม่าในระยะนั้นที่ราชวงศ์ตองอูของพม่าได้ยกทัพลงมายึดครองเมืองหงสาวดีของชาวมอญ จึงทำให้เกิดการผสมผสานกันระหว่างเจดีย์สองแบบ

เจดีย์กองมูดอ
สะกาย
สถาปัตยกรรมเจดีย์กองมูดอ

เจดีย์ประกอบด้วยอัณฑะทรงโอคว่ำขนาดใหญ่ตามแบบศิลปะลังกาสมัยอนุราธปุระ ฐานเตี้ยๆ ในผังกลม ทั้งหมดนี้แสดงการจำลองแบบมาจากศิลปะลังกา อย่างไรก็ตาม ด้านบนเจดีย์กลับไม่ปรากฏหรรมิกาและฉัตรวลี ซึ่งเป็นลักษณะที่แปลกประหลาด