ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 33 ถึง 40 จาก 108 รายการ, 14 หน้า
พระพุทธรูป
ประติมากรรมพระพุทธรูป

พระพุทธรูปประทับยืน ทำอภัยมุทรา อุษณีษะเป็นมวยผม ขมวดพระเกษาวนเป็นก้นหอยไม่มีอุณาโลม พระเนตรเหลือบต่ำ ครองจีวรห่มคลุม ผ้าบางแบบเปียกน้ำ แนบพระวรกาย ไม่มีริ้วจีวร ตามรูปแบบศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ สกุลช่างสารนาถ พระกรขวายกขึ้นทำวิตรรกะมุทรา กรซ้ายหักหายไป สันนิษฐานว่าจับชายจีวรลงตามแบบศิลปะคุปตะ ประทับยืนแบบสมภังค์(ยืนตรง)

ปราสาทบายน
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทบายน

ปราสาทบายน สร้างขึ้นเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นหลังสุดท้ายเพื่ออุทิศให้กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เองในฐานะอวตารของพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายาน พระองค์ทรงสร้างปราสาทที่ประกอบด้วยพระพักตร์จำนวนมากซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะเป็นพระพักตร์ของทิพยบุคคลองค์ใด บางท่านเห็นว่าอาจเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง ปราสาทมียอดจำนวนมากซึ่งทำให้ปราสาทดูซับซ้อนและลึกลับกว่าปราสาทนครวัดมาก นักวิชาการบางท่านเห็นว่าปราสาทบายนเสื่อมลงจากปราสาทนครวัดมาก เนื่องจากแผนผังไม่สมมาตร ปราสาทหลังกลางอยูในผังวงกลม มีห้องต่างๆจำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นการวางผังปราสาทในรูปของ “มณฑล” ทางพุทธศาสนามหายาน

ปราสาทประธาน : ปราสาทบายน
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทประธาน : ปราสาทบายน

ปราสาทบายน สร้างขึ้นเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นหลังสุดท้ายเพื่ออุทิศให้กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เองในฐานะอวตารของพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายาน พระองค์ทรงสร้างปราสาทที่ประกอบด้วยพระพักตร์จำนวนมากซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะเป็นพระพักตร์ของทิพยบุคคลองค์ใด บางท่านเห็นว่าอาจเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง ปราสาทมียอดจำนวนมากซึ่งทำให้ปราสาทดูซับซ้อนและลึกลับกว่าปราสาทนครวัดมาก นักวิชาการบางท่านเห็นว่าปราสาทบายนเสื่อมลงจากปราสาทนครวัดมาก เนื่องจากแผนผังไม่สมมาตรปราสาทหลังกลางอยูในผังวงกลม มีห้องต่างๆจำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นการวางผังปราสาทในรูปของ “มณฑล” ทางพุทธศาสนามหายาน

พระพักตร์บนยอดของปราสาทบายน
อังกอร์
สถาปัตยกรรมพระพักตร์บนยอดของปราสาทบายน

ปราสาทบายน สร้างขึ้นเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นหลังสุดท้ายเพื่ออุทิศให้กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เองในฐานะอวตารของพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายาน พระองค์ทรงสร้างปราสาทที่ประกอบด้วยพระพักตร์จำนวนมากซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะเป็นพระพักตร์ของทิพยบุคคลองค์ใด บางท่านเห็นว่าอาจเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง อย่างไรก็ตม บางท่านเห็นว่าพระพักตร์ดังกล่าวอาจหมายถึงพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรอันเป็นพระโพธิสัตว์แหงความกรุณาในพุทธศาสนามหายาน บาท่านเห็นว่าอาจเป็นสนัตกุมารพรหมอันเป็นพระพรหมในพุทธศาสนามหายานก็ได้ น่าสังเกตว่าพระพักตร์เหล่านี้ล้วนแต่มีการแสดงอารมณ์แบบเดียวกัน คือ ค่อนข้างลึกลับ ตาปิด ยิ้มมุมปากซึ่งเรียกกันโดยเฉพาะว่า “ยิ้มแบบบายน”

ปราสาทนาคพัน
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทนาคพัน

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงขุดบารายชยตฑาคะขึ้นที่ด้านหน้าเมืองราชัยศรี (ปราสาทพระขรรค์) กลางสระนั้นโปรดให้สร้างปราสาทนาคพันขึ้นเพื่อตามคติสระอโนดาต อันเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนา

ประตูเมืองนครธมทางด้านทิศใต้
อังกอร์
สถาปัตยกรรมประตูเมืองนครธมทางด้านทิศใต้

ประตูเมืองพระนครหลวง ประกอบไปด้วยสองส่วน คือประตูเมืองซึ่งออกแบบเป็นพระพักตร์ของบุคคลจำนวน 4 พักตร์ และราวสะพานด้านหน้าข้ามคูเมืองซึ่งมีราวสะพานเป็นรูปการกวนเกษียรสมุทร ซุ้มประตูซึ่งมีพระพักตร์ทั้งสี่นี้บางท่านสันนิษฐานว่าอาจหมายถึง “จตุโลกบาลทั้งสี่” ผู้ดูแลทั้งสี่ทิศของจักรวาลก็ได้ ราวบันไดรูปการกวนเกษียรสมุทรนั้น ย่อมแสดงให้เห็นคติที่ว่าบุคคลผ้อยู่ในเมืองดังกล่าวได้รับการปะพรมน้ำอมฤตเสมอและเป็นผู้เป็นอมตะประหนึ่งเทดวา

ประตูเมืองนครธมทางด้านทิศใต้
อังกอร์
สถาปัตยกรรมประตูเมืองนครธมทางด้านทิศใต้

ประตูเมืองพระนครหลวง ประกอบไปด้วยสองส่วน คือประตูเมืองซึ่งออกแบบเป็นพระพักตร์ของบุคคลจำนวน 4 พักตร์ และราวสะพานด้านหน้าข้ามคูเมืองซึ่งมีราวสะพานเป็นรูปการกวนเกษียรสมุทร ซุ้มประตูซึ่งมีพระพักตร์ทั้งสี่นี้บางท่านสันนิษฐานว่าอาจหมายถึง “จตุโลกบาลทั้งสี่” ผู้ดูแลทั้งสี่ทิศของจักรวาลก็ได้ ราวบันไดรูปการกวนเกษียรสมุทรนั้น ย่อมแสดงให้เห็นคติที่ว่าบุคคลผ้อยู่ในเมืองดังกล่าวได้รับการปะพรมน้ำอมฤตเสมอและเป็นผู้เป็นอมตะประหนึ่งเทวดา

ปราสาทบันทายกุฎี
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทบันทายกุฎี

ปราสาทบันทายกุฎี เป็นปราสาทในศิลปะบายน สร้างขึ้นโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นอาคารที่ประกอบไปด้วยยอดปราสาทจำนวนมาก เชื่อต่อกันด้วยระเบียงกากบาท ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของปราสาทในสมัยนี้ ปราสาทอยู่ในผังคล้ายตารางซึ่งแสดงให้เห็นว่าปราสาทถูกออแบบตาม “คติมณฑล” ในพุทธศาสนามหายาน