ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 9 ถึง 13 จาก 13 รายการ, 2 หน้า
ภาพสลักนิทานปัญจตันตระเรื่อง “นกกระสากับปู”
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมภาพสลักนิทานปัญจตันตระเรื่อง “นกกระสากับปู”

จันทิเมนดุตสร้างขึ้นในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ในพุทธศตวรรษที่ 14 สร้างขึ้นในพุทธศาสนามหายาน โดยสร้างขึ้นในระยะเดียวกันกับบุโรพุทโธที่ตั้งของจันทิเมนดุตก็ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับจันทิปะวนและบุโรพุทโธ

ภาพสลักเล่าเรื่องมหาภารตะ ฉาก ภีษมะถูกศรอรชุน
อังกอร์
ประติมากรรมภาพสลักเล่าเรื่องมหาภารตะ ฉาก ภีษมะถูกศรอรชุน

ภาพสลักที่ผนังระเบียงคดชั้นที่ 2 ที่ปราสาทนครวัด จะมีการสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องต่างๆ ไล่เรียงกันไป ที่ผนังทุกด้าน โดยทางทิศตะวันตกสลักเป็นภาพเล่าเรื่องมหาภารตะลักษณะของเครื่องแต่งกายบุคคลที่ปรากฏในภาพสลัก ดูจากบุคคลขนาดใหญ่ที่อยู่กลางภาพ นอนอยู่บนเตียงลูกศร ทรงกระบังหน้ายอดทรงกรวย ทรงกรองศอประดับพู่ห้อย พาหุรัด สังวาลไขว้กันเป็นรูปกากบาท ทรงผ้านุ่งสั้น มีชายผ้าสามเหลี่ยมชักออกมาด้านข้าง ซึ่งจากลักษณะดังกล่าวเป็นรูปแบบที่นิยมในศิลปะนครวัด

ภาพสลักพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2
กัมปง ธม
ประติมากรรมภาพสลักพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2

ภาพสลักที่ผนังระเบียงคดชั้นที่ 2 ที่ปราสาทนครวัด จะมีการสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องต่างๆ ไล่เรียงกันไป ที่ผนังทุกด้าน โดยทางทิศใต้สลักเป็นภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2ลักษณะของเครื่องแต่งกายบุคคลที่ปรากฏในภาพสลัก ดูจากบุคคลขนาดใหญ่ที่อยู่กลางภาพ นั่งอยู่บนบัลลังก์ยกสูงในท่านั่งมหาราชลี ด้านหลังมีฉัตร และเครื่องสูงเต็มฉากหลัง ทรงกระบังหน้ายอดทรงกรวย ทรงกรองศอประดับพู่ห้อย พาหุรัด สังวาลไขว้กันเป็นรูปกากบาท ทรงผ้านุ่งสั้น มีชายผ้าสามเหลี่ยมชักออกมาด้านข้าง ซึ่งจากลักษณะดังกล่าวเป็นรูปแบบที่นิยมในศิลปะนครวัด

ภาพสลักเมืองบาดาลที่ฐานพระราชวังหลวง
เสียมเรียบ
ประติมากรรมภาพสลักเมืองบาดาลที่ฐานพระราชวังหลวง

ด้านล่างของฐานปรากฏการทำประติมากรรมสลักหินทราย เทวดา นางอัปสร อสูร นาค และพระยม โดยแบ่งเป็นชั้น ตรงกลางด้านล่างของแนวฐานจะปรากฏนาคหลายเศียรอยู่เสมอ รูปแบบประติมากรรมสตรี จะสวมกระบัง ด้านบนมีศิราภรณ์ประดับด้วยช่อดอกไม้ 3 แถว กุณฑลเป็นพู่ห้อยขนาดใหญ่ พระพักตร์แบบบายน กล่าวคือหลับพระเนตรและยิ้มที่มุมพระโอษฐ์เล็กน้อย

ภาพสลัก เล่าเรื่องกองทัพพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
อังกอร์
ประติมากรรมภาพสลัก เล่าเรื่องกองทัพพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ภาพสลักเป็นภาพสลักนูนต่ำ มีสลักภาพเต็มพื้นที่ของผนัง ประติมากรรมบุคคลมีพระพักตร์ตามแบบศิลปะบายน คือ หลับพระเนตรและยิ้มที่มุมพระโอษฐ์เล็กน้อย ไม่สวมเสื้อ มีแต่ผ้านุ่งซึ่งเป็นลักษณะของขบวนของคนทั่วไปไม่ใช่ทหาร สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกองเสบียง